25 ก.ค. 2022 เวลา 05:00 • ยานยนต์
เคล็ดไม่ลับ ใช้งานเกียร์ออโต้ให้ปลอดภัย
ทุกวันนี้ ถ้าจะให้มีรถยนต์ที่ออกมาบนท้องถนนส่วนใหญ่ ในประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดอันดับโลก การขับรถยนต์แบบเกียร์อัตโนมัตินั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปเกือบหมดแล้ว ไม่เว้นแม้แต่รถกระบะ หรือรถตู้ ก็มีระบบเกียร์อัตโนมัติใช้กันมากพอสมควร
การขับรถที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ผู้ขับขี่สะดวกสบายกว่าการขับรถด้วยเกียร์ธรรมดา ยิ่งในรถติดๆ ด้วยล่ะก็สบายขาซ้ายขึ้นเป็นกอง นับตั้งการพัฒนาเทคโนโลยีในอดีตหลายสิบปีที่แล้ว ที่เกียร์อัตโนมัติยังใช้ระบบแบบกลไก มีสปีดเริ่มต้นแค่ 2-3 สปีด และยังไม่ค่อยทนทานมากเท่าในปัจจุบัน
ภาพจาก V.Group Honda
มาถึงยุคปัจจุบัน ที่วิวัฒนาการก้าวหน้าในยุคที่เกียร์อัตโนมัติเป็นแบบระบบสายพาน CVT หรือระบบไฟฟ้า ที่มีความสลับซับซ้อนและทันสมัยมากๆ มีสปีดให้เลือกใช้มากถึง 9-10 สปีด แต่วิธีในการใช้งานนั้น ก็ยังคงไม่ต่างจากในอดีตนัก
Mr.Carro จะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีการขับรถด้วยเกียร์อัตโนมัติ ที่เน้นถึงความปลอดภัยในการใช้งาน ขับแล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุจากความตกใจและประมาท (เช่น ใส่เกียร์ผิดตำแหน่ง) เพราะความปลอดภัยหลักของคนขับ ก็อยู่ที่ ... ตัวคนขับนั่นเองครับ
ใช้เท้าขวาเหยียบเบรกเท่านั้น
การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบเบรกและคันเร่ง ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรก และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตาร์ทรถ เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีเกียร์ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง N หรือเกียร์จอด P
การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบเบรกและคันเร่ง ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรก และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตาร์ทรถ เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีเกียร์ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง N หรือเกียร์จอด P
เกียร์คร่อมตำแหน่ง ระหว่าง N-R หรือ P-R
การเลื่อนคันเกียร์ไปมาระหว่างแต่ละตำแหน่ง มีระยะห่างที่น้อยมาก การคาคันเกียร์คร่อมอยู่ระหว่าง 2 ตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ กรณีรถรุ่นเก่าๆ ในขณะที่เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวรถ และเกียร์ดีดไปเข้าในตำแหน่งต่างๆ ได้
ดังนั้น ไม่ว่าในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือก่อนจะออกรถ ควรแน่ใจเสมอว่าคันเกียร์อยู่ในล็อกของตำแหน่ง N หรือ P เท่านั้น ไม่ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
เกียร์คร่อมตำแหน่ง ระหว่าง N-R หรือ P-R
การเลื่อนคันเกียร์ไปมาระหว่างแต่ละตำแหน่ง มีระยะห่างที่น้อยมาก การคาคันเกียร์คร่อมอยู่ระหว่าง 2 ตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ กรณีรถรุ่นเก่าๆ ในขณะที่เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวรถ และเกียร์ดีดไปเข้าในตำแหน่งต่างๆ ได้
ดังนั้น ไม่ว่าในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือก่อนจะออกรถ ควรแน่ใจเสมอว่าคันเกียร์อยู่ในล็อกของตำแหน่ง N หรือ P เท่านั้น ไม่ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
เกียร์คร่อมตำแหน่ง ระหว่าง N-R หรือ P-R
การเลื่อนคันเกียร์ไปมาระหว่างแต่ละตำแหน่ง มีระยะห่างที่น้อยมาก การคาคันเกียร์คร่อมอยู่ระหว่าง 2 ตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ กรณีรถรุ่นเก่าๆ ในขณะที่เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวรถ และเกียร์ดีดไปเข้าในตำแหน่งต่างๆ ได้
ดังนั้น ไม่ว่าในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือก่อนจะออกรถ ควรแน่ใจเสมอว่าคันเกียร์อยู่ในล็อกของตำแหน่ง N หรือ P เท่านั้น ไม่ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
จอดรถขณะติดไฟแดง รถติด โดยมีผู้ขับอยู่ในรถ
การขับรถจอดติดไฟแดง หรือรถติดจากการจราจรติดขัด หากจอดไม่นาน แค่เหยียบเบรกค้างไว้ โดยตำแหน่งอยู่ที่เกียร์ D เพื่อไม่ให้เกียร์มีการสึกหรอจากการสลับไป-มา ระหว่าง N-D หรือถ้าจอดนานสักหน่อย จะค้างไว้ที่เกียร์ D พร้อมดึงเบรกมือไว้ก็ได้ ... แต่อย่าเผลอเมื่อยขาละกัน!
ถ้ารู้สึกรถติดนานหลายนาที เลื่อนเกียร์มาที่ N และเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือเสริมไว้ดีกว่า หากรถติดอยู่บริเวณคอสะพาน หรือทางลงในลานจอดรถ เป็นต้น
หากต้องจอดรถแล้วติดเครื่องยนต์ไว้ และต้องลงจากรถยนต์ โดยมีผู้อื่นอยู่ในรถยนต์ นอกจากควรดึงเบรกมือและเข้าเกียร์ P ไว้ โดยไม่ควรเข้าเกียร์ N ไว้ เพราะอาจมีใครดันมาเป็นเกียร์ D ได้
อย่าวางใจเบรกมือ
เมื่อดึงเบรกมือจนสุด (หรือใช้มือดึงเบาๆ กรณีที่เป็นเบรกมือไฟฟ้า หรือใช้เท้าเหยียบให้สุด กรณีที่เป็นเบรกมือแบบเหยียบ) หากรถยนต์ปกติ การเข้าเกียร์ค้างไว้ที่ D หรือ R โดยไม่แตะคันเร่ง รถยนต์ต้องไม่ไหล แต่ก็อาจจะไหลได้ เช่น สายสลิงเบรกมือยืดตัว รอบกระตุกเพราะคอมเพรสเซอร์แอร์ตัด-ต่อการทำงาน แม้เมื่อดึงเบรกมือสุด จะมีแรงกดผ้าเบรกมาก แต่ก็แค่ 2 ล้อ และแรงกดนั้นน้อยกว่าการเหยียบเบรกอยู่มาก ดังนั้นจึงไม่ควรไว้วางใจเบรกมือ
ควรคิดเสมอว่า แม้ดึงเบรกมือจนสุด แล้วรถยนต์ก็ยังอาจจะไหลได้ ขนาดที่ดึงเบรกมือค้างไว้ ก็ยังขับรถยนต์ออกไปได้ นั่นคือ เบรกมือมีแรงเบรกพอสมควรเท่านั้น ไม่ได้มีทั้งหมด มิฉะนั้นคงไม่สามารถขับออกไปได้โดยหลายคนหลงลืม
สัญญานเตือนเมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง R
ในรถรุ่นใหม่ๆ เวลาถอยรถ หลายรุ่นมักมีติดสัญญาณเตือนถอยหลัง พร้อมภาพจากกล้องมองหลังขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เวลาถอดจอดง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะเวลาเข้าใกล้วัตถุ เสียงเตือนจะดังขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัย และได้ทราบเวลาใส่เกียร์ถอยหลังได้
สายพ่วงแบตเตอรี่ติดรถ
ควรมีสายพ่วงแบตเตอรี่ติดรถไว้ตลอดเวลา เผื่อแบตเตอรี่ไม่พอ เนื่องจากรถเกียร์อัตโนมัติ ไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำ แล้วกระตุกสตาร์ทให้ติดเครื่องยนต์ได้แบบรถเกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตาร์ท ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20 กม./ชม. ซึ่งเข็นด้วยแรงคนคงเป็นไปได้ยาก และเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย
ตรวจสอบน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ช่วยให้ยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถท่านได้ยาวนาน จึงควรตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่ในคู่มือแนะนำ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ความปลอดภัยในการขับขี่รถเกียร์อัตโนมัติ เริ่มต้นจากตัวผู้ขับขี่ และสภาพรถที่พร้อมใช้งานครับ ...
✨ใครที่อยากซื้อ-ขาย รถยนต์มือสองคุณภาพดี ราคาคุ้มค่า ติดต่อคาร์โรได้เลยตอนนี้ คลิก! https://bit.ly/3cGBjYA เพราะคาร์โร มีแต่ให้ 🧡 ทั้งการรับประกันคุณภาพโดยคาร์โร ที่ทำให้คุณมั่นใจ 100% ทุกการซื้อรถยนต์มือสองที่คาร์โร
สอบถามเพิ่มเติมได้ทุกวัน 9.30-18.30 น.
💬 ไลน์ : @carrothai
🔍 เฟซบุ๊ก : Carro Thailand
📞 โทร : 02-460-9380
#carro #carrothailand #รถยนต์มือสอง
โฆษณา