EU ย่อมาจาก Paris Point หรือ (Continental) European Sizing คือ หน่วยเทียบไซส์รองเท้าที่ได้รับความนิยมไม่แพ้หน่วยอื่น พบได้บ่อยในรองเท้าแบรนด์สัญชาติยุโรป ยกเว้นประเทศอังกฤษ ผู้ที่คิดค้นหน่วยเทียบไซส์รองเท้าประเภทนี้คือชาวฝรั่งเศส และนำมาใช้กันแพร่หลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
ที่มาของหน่วยวัด The Paris Point มาจากความยาวของรอยเย็บรองเท้า 1 ฝีเย็บ ที่มีความยาวประมาณ 6.6667 มิลลิเมตร โดยเบอร์รองเท้า EUR จะเริ่มต้นที่ 15 ฝีเย็บ และมีวิธีคำนวณด้วยการเอา
สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า EUR
(ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 6.6667
EUR SIZE
เทียบเบอร์รองเท้า UK
UK ย่อมาจาก English Linear Measure คือ ระบบเทียบไซส์รองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ภายใต้การคิดค้นของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่สอง ที่ทรงนำมาประยุกต์ใช้ในปี ค.ศ. 1324 เพื่อความสะดวกในการสั่งทำสั่งตัดรองเท้า
เบอร์รองเท้า UK ขยับความยาวขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือประมาณ 8.46 มิลลิเมตร
แล้วครึ่งเบอร์ ( 0.5 ) มาจากไหน ?
เบอร์รองเท้า UK แต่ละเบอร์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือ 1/3 นิ้ว เทียบได้ประมาณ 8.46 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าแต่ละเบอร์มีความยาวห่างกันค่อนข้างเยอะ ในช่วงปี ค.ศ. 1880 จึงมีการเพิ่มขนาด “ครึ่งเบอร์” เพื่อให้ความยาวของเบอร์รองเท้า UK ขยับขึ้นทีละ 4.23 มิลลิเมตรแทน ช่วยทำให้ไซส์ UK ละเอียดขึ้น
สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า UK ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 25
เทียบเบอร์รองเท้า US
US ย่อมาจาก American Linear Measure คือ ระบบขนาดรองเท้าที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งกำหนดขึ้นมาใช้ในช่วงกลางยุคศตวรรษที่ 19 หน่วยตารางเทียบไซส์รองเท้ามาตรฐาน US อิงกับระบบวัดของ UK เพียงแต่ไซส์รองเท้าของหน่วย US จะเริ่มต้นที่ขนาดเล็กที่สุดที่ 3 11/12 นิ้ว ในขณะที่ UK จะเริ่มที่ 4 นิ้ว
ที่มาของหน่วยวัด US
เบอร์รองเท้า US ใช้พื้นฐานการวัดมาจากเบอร์รองเท้า UK เป็นหลัก อีกทั้งมีการแบ่งเป็นเบอร์เด็กและเบอร์ผู้ใหญ่เช่นกัน แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เบอร์รองเท้า US จะเริ่มต้นที่เบอร์ 1 US Adult Size มีความยาวพื้นในที่ 7 13/16 นิ้ว หรือราว 194.7 มิลลิเมตร จากนั้นเพิ่มทีละครึ่งไซส์ด้วยการเพิ่มความยาว 4.23 มิลลิเมตร ต่อครึ่งไซส์ ใกล้เคียงกับระบบ UK
สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า US ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 24
ด้วยความที่ระบบ UK กับ US มีวิธีวัดที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีหลักการง่าย ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือการเอาเบอร์รองเท้า UK ของตัวเอง “บวก 1” ก็จะได้เป็นเบอร์รองเท้า US ไปเลย แต่จริงๆแล้วในการผลิตรองเท้าในแต่ละแบรนด์สินค้ามีความต่างกัน จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธี +1 จาก Size US ครับ
เทียบเบอร์รองเท้า JP
JP หรือ Japanese Linear Measure คือ ระบบเทียบเบอร์รองเท้าของญี่ปุ่นที่อิงกับหน่วยเซนติเมตร ทำให้เป็นหน่วยเทียบเบอร์รองเท้าที่ไม่ต้องแปลงค่าใด ๆ