27 ก.ค. 2022 เวลา 00:00 • การศึกษา
Focus
มีคำถามหนึ่งที่ผมอยากให้คุณผู้อ่านทายกันเล่น ๆ นะครับ
คำถามก็มีอยู่ว่า “มีรถสองคันขับจากกรุงเทพ ฯ เพื่อมุ้งหน้าไปบางแสน คันแรกแวะทุกปั้มที่เจอ ส่วนคันที่สองไม่แวะเลย” คำถามคือ คันแรกกับคนที่สอง คันไหนจะถึงบางแสนก่อนกัน ....
ตอบแบบไม่ต้องคิดเลยใช่ไหมครับว่า คันที่สองยังไงก็ต้องถึงบางแสนก่อนแน่นอน
เพราะคันแรกแวะปั้ม และกว่าจะสตาร์ทรถเพื่อใช้พลังงานเร่งเครื่องใหม่ทุกครั้งหลังออกจากที่จอด กว่าจะถึงบางแสนก็ค่ำพอดี
บทความนี้จะเป็นบทความสุดท้ายของซีรี่ย์ “พัฒนาตัวเองขั้นพื้นฐาน” ถ้าหากได้อ่านตั้งแต่บทความแรกของซีรี่ย์นี้แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเอง มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับชีวิตบ้าง ฝากคุณผู้อ่าน Comment แชร์ประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันบ้างนะครับ ^^
ในโลกยุค Social Network ถือได้ว่าเป็นโลกที่ไร้ซึ่งการหลับใหล ฟีดโซเชียลเน็ตเวิร์คจะมีการโพสตลอด 24 ชม. และแต่ละแอพพลิเคชั่นจะแจ้งเตือน Notification ของแต่ละโพส
ฉะนั้น การแจ้งเตือนของแต่ละแอฟฯ ก็จะดึงดูดความสนใจไปจากเราอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยเสียง และด้วยสี สีแดงที่ขึ้นจำนวนตัวเลขที่ระบุว่าในแอพพลิเคชั่นนั้นมีกิจกรรมแล้วกี่กิจกรรม
การโพกัสกับงานหรือกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า จึงเป็นไปได้ด้วยยาก ส่งผลทำให้กิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่นั้นมีประสิทธิภาพลดลง
Social Network เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมยกตัวอย่างมานะครับ ซึ่งยังมีสิ่งเร้าอื่นอีกหลายอย่าง ที่จะดึงดูดความสนใจจากเราไปได้มาก เช่น ป้ายลดราคา, เสียง, แสง, จำนวน Tab Browser, จำนวนแอพพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็น หรือแม้กระทั่ง จำนวนสิ่งของที่ไม่จำเป็นในบ้านคุณ
ถ้าเรามีการโฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เราจะทำกิจกรรมนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาน้อยกว่า
ผมอยากแชร์ประสบการณ์ที่ผมได้นำมาจากการอ่านหนังสือและฟัง Podcast และนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นวิธีที่เรียบง่ายมาก ถ้าสังเกตจะเห็นวิธีเหล่าได้ไม่ยากเลยนะครับ ^^
ข้อแรก “ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน” จะเริ่มทำอะไร เราจะต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราจะทำสิ่งไหน? เพื่ออะไร? ที่ไหน? และเมื่อไหน? ถ้าไม่สามารถตอบตัวเองได้ก็ยากครับที่จะโฟกัสกับกิจกรรมได้ เพราะจะมีสิ่งเร้าเข้ามาดึงความสนใจเราตลอดเวลา
ข้อสอง “อยู่กับปัจจุบันขณะ” ให้ความสำคัญกับสิ่งตรงหน้า มากกว่าอดีตและอนาคต คือถ้าเรามัวแต่นึกถึงเรื่องในอดีตหรืออนาคต สมาธิเราก็จะหายไป
ข้อถัดมา “จัดเตรียมสภาพแวดล้อม” ให้เหมาะกับการทำกิจกรรม เพื่อไม่ให้มีอะไรมาขัดจังหวะขั้นตอนต่าง ๆ ในระหว่างที่เราทำกิจกรรม เราจะได้มีสมาธิจดจ่อได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ปิด Notification ของทุก Application บนมือถือ เพื่อไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวนระหว่างที่เรากำลังจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำอยู่ (ข้อนี้ ผมชอบมากครับ) หรือถ้าจะให้ดี อยู่ห่างจาก Smart Phone จะดีที่สุด
เกือบข้อสุดท้าย “กำหนดเวลา” เพื่อทำกิจกรรมให้สำเร็จ ถ้าเราไม่กำหนดเวลาเลย เราก็จะทำไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด และจะเสียเวลาอย่างมากแทนที่จะได้ทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ดันหย่อนยานเพราะไม่ได้กำหนดเวลา
และข้อสุดท้าย “ลดเครื่องมือ” ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้น เช่น คุณผู้อ่านจะตอกตะปูก็ไม่จำเป็นต้องมีกุญแจขันน๊อตอยู่บริเวณนั้น สิ่งที่ควรมีคือฆ้อนและตะปูเท่านั้น เพื่อลดกระบวนการคิดลง และใช้สมองให้จดจ่อกับกิจกรรมให้มากขึ้น อีกตัวอย่างที่ผมมักจะใช้ตอนทำงานในคอมพิวเตอร์คือ ปิด Application หรือ Tab Browser ที่ไม่ได้ใช้ ณ เวลานั้น เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการเลือกใช้ด้วย
เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่สามารถทำได้เลยทันที ฝึกให้เป็นนิสัย แล้วคุณผู้อ่านจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในชีวิตไม่มากก็น้อย
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ถ้าคุณเป็นคนสมาธิสั้น การฝึกการจ่อจอกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ก็ถือเป็นการฝึกสมาธิอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย เช่น ตั้งใจฟัง Podcast, พับกระดาษเล่น, หรือแม้แต่การขีดเขียนวาดรูปลงกระดาษ สิ่งที่เล่ามาผมมักจะใช้ฝึกสมาธิแทนการนั่งสมาธิเฉย ๆ เพราะนั้นอาจดูเป็นความน่าเบื่อสำหรับผม
สุดท้ายแล้วจริงๆ
หลังจากที่คุณผู้อ่านได้อ่านบทความผมมาตั้งแต่ EP.แรก ถึง EP.นี้ อยากให้ลองนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตดูครับ มีเพียงสัก 1 คนที่นำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตในทางที่ดีขึ้น แค่นี้ผมก็ดีใจมากแล้วครับ ^^
ขอให้คุณผู้อ่านมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่ทรงพลังนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา