Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยกับป้าพา
•
ติดตาม
27 ก.ค. 2022 เวลา 13:05 • สุขภาพ
ปานเพชร ผดุงชัยมวยไทยยิม ถึงแก่ชีวิตเพราะสมองบาดเจ็บทันที แล้วถ้าสมองบาดเจ็บแบบเรื้อรังล่ะ?
สมองฝ่อเทียบปกติ ฝาอจากการถูกแรงกระทบกระเทือน เกิดเนื้อสมองตาย จนฝ่อ และรู้มั้ยว่าเราจะสร้างเนื้อสมองขึ้นมาทดแทนใหม่ไม่ได้แล้วสมองจะฝ่อจนเสื่อมในที่สุด
“ปานเพชร ผดุงชัยมวยไทยยิม” โดน “แอนโทนี่ ทีเอฟซีมวยไทย” คู่ชกจากฝรั่งเศส ฟันศอกน็อกคาเวที ศีรษะกระแทกพื้นบาดเจ็บหนักจนเสียชีวิต..R I P ค่ะ
จากกรณีที่ “ปานเพชร ผดุงชัยมวยไทยยิม” โดน “แอนโทนี่ ทีเอฟซีมวยไทย” คู่ชกจากฝรั่งเศส ฟันศอกน็อค
คาเวที ศีรษะกระแทกพื้นบาดเจ็บหนักจนเสียชีวิตในเวลาต่อมาเมื่อ 23 ก.ค.2565 นั้น
..
ทำให้ป้าคิดถึงโรคอีกกลุ่มหนึ่ง สมองเกิดบาดเจ็บแบบเรื้อรัง ที่เรียกว่า CTE หรือ chronic traumatic encrphalopathy หรือคือโรคสมองบาดเจ็บเรื้อรังจากแรงกระทบกระเทือน ทีละนิดๆ แต่นานและเรื้อรัง
CTE เกิดจากการบาดเจ็บของสมองจากแรงกระทบกระเทือนเช่นจากการชกมวย
แรงกระทบทำให้เกิดผลดังนี้
- ทำให้การส่งสัญญาณของระบบประสาทติดขัด สมองจึงไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ
- ทำให้มีเลือดออกในสมองจากการฉีกขาดของเส้นเลือด
- ทำให้เซลล์สมองตาย
และฝ่อ
*เมื่อสมองฝ่อลง
นั่นคือเนื้อสมองตายไป และรู้มั้ยว่าร่างกายเราสร้างเนื้อสมองขึ้นมาทดแทนใหม่ไม่ได้
นั่นคือเนื้อสมองหายไป และมีน้ำเข้ามาแทนที่เนื้อสมอง ทำให้สมองไม่เติบโต ไม่พัฒนา
ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต
👉รวมเรียกว่า”อาการบาดเจ็บกลุ่ม CTE นั่นเอง”
คนไข้จะเจอผลกระทบระยะยาวด้วย ทั้งอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้น
ทีละเล็กทีละน้อยสะสมไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงหรือรอยโรคนั้น มักมองไม่เก็น หรือจริงๆเป็นเพราะไม่ได้ตรวจ และคนไข้โดยเฉพาะนักมวยเด็กจะยังพูดจาเดินเหินและทำอะไรได้ตามปกติ
จึงไม่รู้ว่าเป็นโรคตั้งแต่เมื่อไหร่
❕จนโต หรือแก่ จึงออกอาการ..ไม่เหมือน
”น้องเล็ก เพชรมงคล ป.พีณภัทร” นักชกมวยวัย 13 ปี ที่น็อคบนสังเวียนจากเลือดคั่งในสมอง ข่าวดังเมื่อ4-5 ปีก่อน(อ้างอิง)
นอกจาก🥊ชกมวย
กีฬาอะไรบ้างที่ก่อให้เกิด
โรคนี้
CTE หรือโรคสมองบาดเจ็บเรื้อรังจากแรงกระทบ ซ้ำๆ ไม่ได้เกิดกับ”การชกมวย”เท่านั้น
ผู้ป่วยเป็นนักกีฬาอื่นๆ ก็ได้..
กีฬาที่เกี่ยวกับการต่อสู้ทั้งหลาย มีการกระทบกระแทกรุนแรง ต่อสมองของผู้เล่น เช่น
- มวยสากล,
- มวยเตะ (คิกบ็อกซิ่ง)
- ศิลปะการต่อสู้แบบผสม
และที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้
คือ “มวยไทย”
โรค CTE นี้เดิมเคยเรียกกันว่า “โรคสมองเสื่อมในนักมวย”(dementia pugillistica)
แต่ความจริงแล้วพบได้ในกีฬาอื่นๆอีกหลายชนิด
ที่เป็นกีฬาที่มีการปะทะกัน
ใครชอบดูบ้าง👇
- อเมริกันฟุตบอล,
- ออสเตรเลี่ยน รูลส์ ฟุตบอล, - มวยปล้ำ,
- ฮอกกี้น้ำแข็ง,
- รักบี้,
- ฟุตบอลสมาคม
- กีฬากึ่งปะทะแบบเบสบอลก็ด้วย
- ปัจจัยเสี่ยงอื่นมีอีก เช่นคนไข้เคยเป็นทหาร เคยไปรบ ต่อยตี กระทบของแข็งไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่
- หรือมีประวัติ ใช้ความรุนแรงกันในครอบครัว
- เคยโดนตีหัว
อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดแรงกระแทกซ้ำๆ ต่อสมอง
คนไข้มีอาการยังไงบ้าง
อาการขึ้นกับความรุนแรง นอยโรคของสมอง การมีเลือดออกใ้ต้สมองหรือในสมอง ออกทีละน้อยแต่สะสมมานาน
อาการมีดังนี้
- ขี้ลืม ลืมง่าย
- ลืมสิ่งที่เคยจำได้ เช่นเบอร์โทรศัพท์ ชื่อคนในครอบครัว
- บ้างมีลมชักบ้าหมู
- ปวดหัวเรื้อรัง
- ตาพร่ามัว
- มีอารมณ์แปรปรวน
- เกิดภาวะซึมเศร้า
- มีจิตวิตกกังวล
- บางคนรู้สึกไม่สบายในการมีชีวิตอยู่
- ลุกลี้ลุกลน อยู่ไม่เป็นสุข
- พิพักพิพ่วน กระสับกระส่าย..อันนี้ป้าแปลเองจากคำว่า agitation
- พูดจาสับสน
- กลืนลำบาก
- คิดอะไรที่ต้องใช้การสังเคราะห์ไม่ได้
..จึงมีความยากลำบากในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
3
มีอาการอีกหลายอย่างรวมทั้งมีความจำเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ ก็ได้
👉ที่รุนแรงและน่าเป็นห่วงเช่น
- มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนไป
- กลายเป็นคนหุนหันพลันแล่น ทำอะไรลงไปอย่างไม่มีเหตุผล ก้าวร้าว
- บางคนมีอาการของอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน..และอาการทางระบบประสาทสมองเสื่อม
..
..
ความรุนแรงของอาการของโรคจะขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งของการกระทบกระแทกหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
และความสำคัญของโรคนี้คือ
“กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้”
หมายถึงว่า กว่าจะให้คำวินิจฉัยที่แน่นอน ต้องรอจนกว่า เจ้าตัวเสียชีวิตลงแล้วมีการตรวจศพจึงจะทราบ
1
❕น่าสงสารมั้ยล่ะคะ
การจัดกลุ่มของโรคตามสมาคมของโรคทางระบบประสาท จัดโรคนี้ไว้ในกลุ่มเดียวกับโรคความผิดปกติของโปรตีนเทา[อ้างอิง]
Q: มีทางรักษามั้ย
ตอบได้เลยว่า”ยังไม่มี”
ไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคนี้ค่ะ มีแต่ป้องกันอย่าให้เกิด..คืออย่าให้ สมองของเรากระทบกระเทือนได้รับแรงกระแทก…
จึงมีความพยายามที่จะศึกษาวิจัยถึงสถิติการเกิดโรคนี้ในกีฬาเช่นกีฬาชกมวย
👉สำหรับประเทศไทย
มีรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทรรศน์ได้ทำการวิจัยและพบว่ามีผลอย่างมีนัยสำคัญก่อให้เกิดโรคนี้ในนักมวยเด็กเล็ก
🥊จึงได้พยายามผลักดันจนมีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับนักมวยอายุน้อยขึ้นในไทย
(อ้างอิง)
ปัจจุบันมีการเสนอให้กีฬาบางชนิด(เช่นชกมวย)
ปรับปรุงกติกาการแข่งขันเพื่อป้องกันภาวะนี้[อ้างอิง]
https://th.m.wikipedia.org/wiki/โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง
https://www.nhs.uk/conditions/chronic-traumatic-encephalopathy/
งานวิจัยชี้ชัด สมองกระทบกระเทือน นักมวยเด็ก
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/306501
ข่าวน้องเล็ก เพชรมงคล ป.พีณภัทร
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1818556
2 บันทึก
18
20
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพต้องมาก่อน
2
18
20
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย