29 ก.ค. 2022 เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รองรับการสำรองข้อมูลได้ไม่จำกัดกับ Cloud Data Center
Cloud หรือ Cloud Datacenter ในวงการไอทีนั้นเป็นคำเปรียบเปรยสำหรับศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ โดย Cloud คือเทคโนโลยีที่เริ่มต้นมาจากการทำ Virtualization เป็นพื้นฐาน และถูกพัฒนาขึ้นจนให้ผู้ใช้งานสามารถให้บริการตัวเองได้(Self-service)
1
ตรงนี้คือจุดสำคัญ เพราะปกติเวลาที่ผู้ใช้งานอยากจะได้ Server, Desktop, OS หรือ Application ต่างๆ ก็จะต้องไปติดต่อที่ส่วนงานของแผนก IT ก่อน ยกตัวอย่างเช่น Programmer อยากจะได้ Server ที่ Run OS เป็น Red Hat เผื่อมาทดสอบ Application ที่เค้าเขียนขึ้น ก็จะต้องไปติดต่อที่ส่วน IT ก่อน เป็นต้น
ตรงนี้นี่แหละที่เป็นปัญหาของผู้ใช้งาน เพราะว่ามันจะเกิด Flow งานที่ซับซ้อน และปัญหาสารพัดระหว่างผู้ใช้งานและแผนกไอทีซึ่งทำให้เสียเวลามาก (สำหรับธุรกิจ เวลาที่สูญเปล่าไปคือเม็ดเงินทั้งนั้น) และเจ้า Cloud นี่แหละที่จะเข้ามาอุดปัญหานี้เพราะจะช่วยผู้ใช้สามารถ Service ตัวเองได้ อีกทั้งยังช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบลื่นไม่หยุดชะงักอีกด้วย
Cloud มีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1
1. Private Cloud คือ องค์กรแต่ละองค์กรจะตั้ง Hardware และ Software ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการทำ Cloud Datacenter ขึ้นมาเป็นของตัวเอง เพื่อให้แต่ละแผนกในองค์กรสามารถเข้ามาขอใช้งานได้
ข้อดี: ข้อมูลมีความปลอดภัย เนื่องจากเก็บอยู่ภายใน Datacenter ของตัวเอง
ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการลงทุนด้าน Hardware และ Software
2. Public Cloud คือ ผู้ให้บริการ หรือ Third-Party จะเป็นคนตั้ง Hardware และ Software ขึ้นมา และให้แต่ละองค์กรเข้าไปเช่าใช้บริการ อาจจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี เช่น Microsoft Azure, vCloud Air
ข้อดี: ไม่ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายในการตั้ง Cloud Datacenter เป็นของตัวเอง
ข้อเสีย: อาจไม่ผ่าน IT Policy Audit ในบางบริษัท เช่นบางบริษัท ห้ามเก็บข้อมูลไว้ภายนอกองค์กร
3. Hybrid Cloud คือ การรวมกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud ซึ่งเพิ่มความหยืดหยุ่นในการจัดการได้มากขึ้นและอุดข้อเสียของทั้ง 2 รูปแบบนั้นได้
การให้บริการในรูปแบบของ Cloud มีอะไรบ้าง?
ณ ปัจจุบันจะมีการให้บริการอยู่ 3 ประเภท ที่ลูกค้ามักจะใช้บ่อยๆ คือ
1. Infrastructure-as-a-Service (IaaS)
คือ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ( Infrastructure) และระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Storage) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application เช่น Microsoft Azure, Dropbox, Google Drive for business, Amazon Web Services
2. Platform-as-a-Service (PaaS)
คือ การให้บริการด้าน Platform สำหรับผู้ใช้งานเช่น Developer ที่ทำงานด้าน Software และ Application โดยผู้ให้บริการ Cloud จะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา Software และ Application เอาไว้ให้ เช่น Database Server, Web Application เป็นต้น
3. Software-as-a-Service (SaaS)
คือ การให้บริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้ คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน เช่น Microsoft Office 365
ทั้งนี้ ยังมี Cloud Service รูปแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ อีกมากมายเช่น Desktop-as-a-Service (DaaS), Disaster-Recovery-as-a-Service (DRaaS) ฯลฯ
สนใจบริการติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมดูแลคุณได้ที่ info@interlinktelecom.co.th
โฆษณา