29 ก.ค. 2022 เวลา 03:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก “ตระกูลราชปักษา” ผู้นำพาประเทศศรีลังกา เข้าสู่ภาวะล้มละลาย
3
หากพูดถึงการล้มละลายของประเทศ อาจจะมีให้เห็นไม่บ่อยครั้ง
แต่เมื่อไม่นานมานี้ “ศรีลังกา” เพิ่งจะกลายเป็นประเทศล้มละลายให้เราได้เห็นกันอีกครั้งหนึ่ง
1
ที่น่าสนใจคือ สาเหตุสำคัญของการล้มละลายของศรีลังกานั้น
หลายฝ่ายเชื่อกันว่า มาจากการบริหารประเทศที่ผิดพลาดของ “ตระกูลราชปักษา”
แล้วตระกูลนี้คือใคร ? เกี่ยวข้องกับการล้มละลายของศรีลังกาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
เรื่องราวทั้งหมดนี้ เริ่มต้นขึ้นในปี 1970
เมื่อ มหินทรา ราชปักษา ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศรีลังกา
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของตระกูลราชปักษา ในการเข้าสู่แวดวงทางการเมือง
ก่อนหน้านี้ ตระกูลราชปักษาไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองมาก่อน
โดยตระกูลราชปักษา เป็นตระกูลเจ้าของที่ดินในเมืองฮัมบันโตตา ซึ่งได้รับมรดกตกทอดต่อ ๆ กันมา
2
หลังจากที่ มหินทรา ราชปักษา ได้เริ่มเข้าสู่แวดวงทางการเมือง
เขาก็ค่อย ๆ ไต่เต้า ขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองต่าง ๆ
จนในที่สุด เขาก็สามารถขึ้นเป็นประธานาธิบดีของศรีลังกาได้ในปี 2005
1
เมื่อเขาเข้ามามีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างเต็มตัวนั้น
มหินทรา ราชปักษา ก็ได้เริ่มปูทางให้คนในตระกูลราชปักษาคนอื่น ๆ เข้ามารับตำแหน่งที่มีความสำคัญทางการเมือง
โดยเฉพาะน้องชายของเขาที่ชื่อว่า โกตาบายา ราชปักษา ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งสำคัญอย่าง ผู้บัญชาการเหล่าทัพของประเทศ
 
หลังจากนั้นเพียงไม่นาน สองพี่น้องตระกูลราชปักษาก็ได้ทำผลงาน ที่สร้างความประทับใจให้กับชาวศรีลังกาเป็นอย่างมาก
2
ด้วยการใช้กำลังทหารเข้ายุติสงครามกลางเมือง ระหว่างชาวทมิฬกับชาวสิงหล ที่กินระยะเวลามาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948
3
ถึงแม้ว่าการปิดฉากสงครามในครั้งนั้น จะทำให้ตระกูลราชปักษาได้รับความนิยมจากชาวศรีลังกาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ก็มีคนบางส่วนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า รัฐบาลที่นำโดยตระกูลราชปักษา อาจมีการคอร์รัปชันเกิดขึ้น
3
ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังไม่ได้กระจายไปในวงกว้างมากนัก
เนื่องจากตระกูลราชปักษา ได้สูญเสียอำนาจทางการเมืองไปเสียก่อน
จากการที่ มหินทรา ราชปักษา แพ้การเลือกตั้งในปี 2015
5
แต่หลังจากนั้นเพียง 4 ปี อำนาจทางการเมือง ก็กลับมาอยู่ในมือของตระกูลราชปักษาอีกครั้ง
เมื่อโกตาบายา ราชปักษา สามารถชนะการเลือกตั้ง ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของศรีลังกาได้ในปี 2019
3
แต่ใครจะรู้ว่าจุดนี้เอง ที่กลายมาเป็นจุดเริ่มต้น ของวิกฤติเศรษฐกิจในศรีลังกา ที่ลากยาวมาจนถึงวันนี้
1
ทันทีที่ โกตาบายา ราชปักษา ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาก็เริ่มใช้นโยบายประชานิยมต่าง ๆ
ตามที่เขาเคยหาเสียงไว้ ก่อนขึ้นรับตำแหน่ง เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ
3
อย่างการออกนโยบายลดอัตราภาษีต่าง ๆ ลงเป็นจำนวนมาก
ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ซึ่งการที่ลดอัตราภาษีลง นั่นหมายถึง รายได้ของรัฐบาลก็จะลดลงตามไปด้วย
เมื่อรายได้ลดลง จนน้อยกว่ารายจ่าย จึงก่อให้เกิดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอย่างมหาศาล
1
โดยการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ของศรีลังกา จาก -5.3% ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น -12.2% ในปี 2021 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด เป็นประวัติการณ์ของศรีลังกาเลยทีเดียว
1
และเมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอ ช่องทางที่จะหาเงินเพิ่ม ก็หนีไม่พ้นการก่อหนี้ของรัฐบาลนั่นเอง
โดยในปี 2021 รัฐบาลมีการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท
1
ยิ่งไปกว่านั้น หนี้ที่เพิ่มขึ้นยังมีส่วนที่กู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศอีกด้วย
โดยในปี 2018 หนี้ต่างประเทศต่อ GDP ของศรีลังกาที่เคยอยู่ในระดับ 42% มาในปี 2021 เพิ่มสูงถึงระดับ 119%
4
ซึ่งการขาดดุลงบประมาณ บวกกับหนี้มหาศาลที่เพิ่มขึ้น
ทำให้สถาบันการจัดอันดับเครดิตหลายแห่ง เริ่มปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศศรีลังกาลง
ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของศรีลังกานั้น เพิ่มสูงขึ้นไปอีก
1
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา ยังคงยืนยันว่า
ยังไม่มีแผนปรับขึ้นภาษี ในช่วงระยะเวลา 5 ปีนับจากปี 2021
2
นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลา 2 ปี หลังจากที่ โกตาบายา ราชปักษา ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี 2019
ประเทศศรีลังกา ยังพบเจอกับเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ซึ่งนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของศรีลังกา
3
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่โบสถ์และโรงแรมหรูในปี 2019
และเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก อย่างวิกฤติโควิด 19 ที่เริ่มขึ้นในปี 2020
เรื่องนี้ยิ่งซ้ำเติม ให้เศรษฐกิจของศรีลังกา บอบช้ำมากขึ้นไปอีก
โดยรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ลดลงเหลือเพียง 24,000 ล้านบาท
จากในปี 2018 ที่เคยมีรายได้ถึง 158,000 ล้านบาท
1
แน่นอนว่า ก็ได้ส่งผลให้รายได้ในรูปของเงินตราต่างประเทศลดลง
จนทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกา ลดลงอย่างรวดเร็ว
จากช่วงกลางปี 2019 อยู่ที่ 319,000 ล้านบาท มาในช่วงต้นปี 2022 เหลือเพียง 84,000 ล้านบาท
 
ขณะที่ธนาคารกลางของศรีลังกาเอง ก็พิมพ์เงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบ เพื่อมาชดเชยกับการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล
6
สวนทางกับคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ต้องการให้มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายลง พร้อมทั้งปรับเพิ่มอัตราภาษีขึ้น
2
ซึ่งการพิมพ์เงินออกมา ก็ได้ทำให้ศรีลังกาเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของศรีลังกาล่าสุด พุ่งไปถึง 54.6% สูงสุดในรอบ 21 ปี
2
ขณะที่เงินรูปีศรีลังกา เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2019 ถึงปัจจุบัน มีการอ่อนค่าลงไปแล้วเกือบ 93% ซึ่งก็ทำให้ศรีลังกาต้องนำเข้าสินค้าในราคาแพงยิ่งขึ้นไปอีก
2
ประกอบกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมา ทำให้ราคาพลังงานและอาหารทั่วโลกปรับสูงขึ้น
5
ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ศรีลังกาไม่มีเงินเพียงพอ ที่จะนำเข้าสินค้าจำเป็นดังกล่าวเข้ามาใช้ในประเทศได้
เป็นเหตุให้เกิดวิกฤติการขาดแคลนอาหารและพลังงาน ก็ยิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น
ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจของศรีลังกาแย่ลงไปอีก
1
และยังนำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้ตามมาในปี 2022 ซึ่งนับเป็นการผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ ส่งผลให้ศรีลังกาต้องกลายเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ล้มละลาย
1
เรื่องนี้ได้สร้างความเดือดร้อน และความไม่พอใจให้กับชาวศรีลังกาหลายล้านคน
และสุดท้ายผู้ประท้วงชาวศรีลังกาจำนวนมาก ได้บุกเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดี
จนประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และลาออกจากตำแหน่งในที่สุด
1
ถึงตรงนี้ เรื่องราวของศรีลังกาก็น่าจะเป็นกรณีศึกษาได้อย่างดีว่า
การบริหารประเทศด้วยนโยบายที่ผิดทาง
มักมีบทเรียนที่ต้องจ่ายราคาแพงตามมาเสมอ..
1
ซึ่งในอนาคตก็คงมีหลายประเทศ ที่ต้องบริหารประเทศแบบเอาใจประชาชน
และการเข้าสู่ภาวะล้มละลายของศรีลังกา ก็คงไม่ใช่ประเทศสุดท้ายบนโลกนี้..
3
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา