Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
29 ก.ค. 2022 เวลา 00:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#6ปัจจัยที่ทำให้คุณกลับมาเป็นมะเร็งเต้านม “ซ้ำ”
สวัสดีครับ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์วันนี้ หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับ
การกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำ มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันครับ
สำหรับผู้ป่วยหลายๆคนที่ได้รับการผ่าตัดรัดษาโรคมะเร็งเต้านมมาแล้วนั้น อาจจะมีการกลับมาเป็นซ้ำ (recurrent breast cancer) ได้ในภายหลัง ซึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็น “ซ้ำ” ของโรคมะเร็งเต้านมนี้ มีหลายอย่างได้แก่
1.ตัดเอาก้อนมะเร็งออกไม่หมดหรือขอบเนื้อดีที่ตัดออกใกล้กับมะเร็งมากเกินไป
สำหรับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม (invasive breast cancer) (รายละเอียดไปดูได้ในตอนเก่าๆที่หมออธิบายไว้นะครับ) หลังจากที่ศัลยแพทย์ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมาแล้ว จะส่งตรวจให้กับพยาธิแพทย์ เพื่อตรวจในกล้องจุลทรรศน์ ว่าไม่มีมะเร็งคงค้างอยู่ในตัวคนไข้ โดยก่อนที่จะส่งกล้อง พยาธิแพทย์จะทำการย้อมสีขอบของก้อนมะเร็งเพื่อให้เห็นขอบในตอนที่ส่องกล้อง โดยขอบเขตที่เราจะเรียกว่าผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกหมดจะเรียกว่า “NO INK ON TUMOR”
1
แต่กถ้าเป็นมะเร็งเต้านมระยะ 0 หรือที่เราเรียกว่า DCIS นั้น การผ่าตัดจะต้องตัดเนื้อดีออกมาเป็นขอบของก้อนด้วย โดยตามงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดมะเร็งระยะ 0 นี้ได้แนะนำว่า ต้องผ่าเอาขอบเนื้อเต้านมที่ดีออกมาด้วยโดยห่างจากก้อนมะเร็งอย่างต่ำ 2 มิลลิเมตร เพื่อลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหลังจากที่ได้รับการรักษา และต้องส่งตัวคนไข้ไปรับการฉายแสงหลังผ่าตัด ดังนั้นถ้าผ่าตัดมาแล้วพบว่าขอบก้อนไม่หนาพอ หมออาจจะต้องนัดคนไข้มาผ่าตัดใหม่อีกทีนะครับ
2.การได้รับยาเคมีบำบัดหรือยากดฮอร์โมนหลังผ่าตัด (ADJUVANT SYSTEMIC THERAPY)
จากงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม NSABP B-13 และ NSABP B-14 ได้ค้นพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือยากดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังผ่าตัดจนครบคอร์ส จะมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งเต้านม “ซ้ำ” น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ยาถึง 5 เท่า
3.ลักษณะของก้อนมะเร็ง มะเร็งเต้านมชนิดLUMINAL A (สามารถไปอ่านต่อได้ในEPISODE “มะเร็งเต้านมที่ไม่ใช่แค่มะเร็งเต้านม” ที่หมออธิบายไว้ครับ) จะมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำต่ำกว่ามะเร็งเต้านมตัวอื่นสูงสุดถึง 10 เท่าเลยทีเดียวครับ
4.มะเร็งเต้านมที่มีการกระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ โดยจากงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีการกระจายของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่รักแร้นั้นมีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่ใน5ปี สูงกว่าคนที่ไม่มีการกระจายถึง 6 เท่า
5.อายุ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตั้งแต่ช่วงอายุ 23-46 ปี จะมีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมซ้ำสูงกว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมตอนอายุ 64-88 ปี ถึง 7 เท่า
6.ผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA 1, BRCA 2จะมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำสูงมากถึง 50 เท่าจากคนปกติ
ถ้าคุณมีความผิดปกติของเต้านมอย่านิ่งนอนใจ
ปรึกษาศัลยแพทย์ใกล้บ้านโดยด่วน
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าเรื่องมะเร็งเต้านม
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย