28 ก.ค. 2022 เวลา 02:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“You can cheat to get a paper. You can cheat to get a degree. You can cheat to get a grant. You can’t cheat to cure a disease,” he says. “Biology doesn’t care.”
-Matthew Schrag
หนึ่งในรูปแบบของโปรตีนที่เคยคิดว่าเป็นสาเหตุการเกิดของโรคอัลไซเมอร์ อาจไม่มีอยู่จริง!
จากข้อเขียนของวารสาร Science เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 โดย Charles Piller
พออ่านได้คร่าวๆ คือ Schrag พบว่า paper ที่ตีพิมพ์ในปี 2006 ในวารสาร Nature ของ Lesne และคณะ ที่อ้างว่าพบโปรตีน AB*56 (A beta star 56) ในรูปที่ละลายน้ำได้ (soluble form) เป็นหนึ่งในต้นเหตุของการเกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้เกิดความจำเสื่อมในหนู
งานนี้มีการอ้างอิงถึง 2300 กว่าครั้ง และทำให้เกิดความพยายามในการคิดค้นยารักษาอาการอัลไซเมอร์ แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยาที่คิดมาทั้งหมด ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
การตรวจสอบ paper นี้ของ Schrag เค้าพบว่ารูปผลการทดลองเพื่อตรวจสอบโปรตีน (Western blot) มีการทำ Photoshop ตัดต่อแถบโปรตีน และมีการทำแบบนี้หลายครั้งใน paper ต่อๆ มา ของ Lesne
ตอนนี้ ทางวารสาร Nature ขึ้นข้อความสำหรับ paper นี้ว่า กำลังตรวจสอบความถูกต้องในขณะนี้
"We all want to be famous people, and the moment we want to be something we are no longer free."
-Jiddu Krishnamurti
โฆษณา