28 ก.ค. 2022 เวลา 17:39 • สิ่งแวดล้อม
ผมเองมีความสนใจในพลังงานแสงอาทิตย์มาตลอดและดูเหมือนว่า เทคโนโลยี solar cells เริ่มจะถูกพัฒนาไปในทางที่ทั้ง efficiency และ cost effectiveness ของระบบสามารถจับต้องได้มากขึ้นสำหรับประชาชนทั่วไปนอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม
จากข้อมูลที่ผมลองค้นดู ผมพบว่า ระบบ solar cells ที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้มีอยู่สามระบบคือ
i) off grid
คือระบบที่ไม่พึ่งพาไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าใดๆเลย นั่นคือ แผงรับแสงจะเปลี่ยนแสงแดดไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วเครื่อง inverter จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงนั้นไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านโดยกระแสไฟอีกส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อสำรองไฟฟ้าไว้ใช้หลังหมดแสงอาทิตย์
โดยระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องด้วยคุณต้องลงทุนกับการจัดหาแบตเตอรี่และการดูแลรักษามัน
ii) on grid
คือระบบที่บ้านเรือนมีแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้เลือกสองแหล่งคือ ไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าและไฟฟ้าจากแผง solar cells
โดยพลังงานไฟฟ้าจาก solar cells จะถูกแปลงจากไฟ DC ไปเป็น AC แล้วจ่ายเข้าบ้านในช่วงที่ยังมีแสงแดดเท่านั้น นั่นคือเมื่อใดที่ไม่มีแสงแดดเป็นแหล่งผลิตพลังงาน บ้านเราจะใช้ไฟจากโรงงานไฟฟ้าแทน โดยระบบนี้จะไม่มีแบตเตอรี่สำรองไฟ และผมคาดว่า ระบบนี้เป็นระบบที่ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเพราะไม่ต้องมีแบตเตอรี่ในระบบ
iii) hybrid
ก็คือระบบ on grid ที่มีระบบแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นมานั่นเอง และแน่นอนว่าต้นทุนของเจ้าของบ้านจะเพิ่มขึ้นตามไป
ด้วย
1) องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ solar cells ตามความเข้าใจของผมคือ
1
1.1) แผง solar cells
1.2) inverter
1.3) circuit breaker
1.4) batteries
1.5) controllers หรือ user interfaces
โดยราคาแผง solar cells จำนวน 10 แผง จะมีราคาราว 120,00-125,000 บาท
ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 25 หน่วย หรือ 5 กิโลวัตต์ เทียบเท่าการใช้งานเครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 BTU จำนวน 2 เครื่อง
จะช่วยประหยัดไฟได้ราวเดือนละ 3,000 บาท และจะคืนทุนในระยะเวลา 4 ปี โดยอายุการใช้งานของแผง solar cells จะอยู่ที่ประมาณ 25 ปี
และในภาคครัวเรือนนั้น ระบบ solar cells จะผลิตไฟฟ้าได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์
2) net metering
คือระบบ on grid/hybrid ที่คุณสามารถ “ขายไฟฟ้า” ให้กับโรงงานไฟฟ้าได้ แต่เท่าที่ผมเข้าใจคือ
สมมุติว่าค่าไฟหน่วยละ 4 บาท ถ้าคุณต้องการขายไฟจากระบบ solar cells ของคุณ ทางโรงงานจะรับซื้อในราคาหน่วยละไม่ถึง 4 บาทอย่างแน่นอน
3) ปัจจัยที่ผมลองหาข้อมูลดูที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ
ก่อนที่ใครจะลงทุนคิดตั้ง “แผง Solar cells” และระบบที่เกี่ยวข้อง ผมอยากจะแนะนำว่า ให้ตรวจสอบ “ค่าความเข้มของแสงอาทิตย์” ในตำบลที่คุณอยู่อาศัยเสียก่อน เพื่อความคุ้มค่าของการลงทุนครับ
โดยผมได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานจาก กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ให้แล้วครับ
และแน่นอนว่า ทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานให้แผงรับแสงของคุณ กับตำแหน่งและทิศทางการติดตั้งแผง solar cells ทั้งบนหลังคาบ้านและ บนพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงร่มเงาของอาคารใกล้เคียงรวมถึงร่มเงาจากต้นไม้บริเวณนั้น จะส่งผลถึงความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโดยรวมด้วย!
4) แหล่งข้อมูลที่ผมได้รวบรวมไว้เพื่อตัวผมเองและท่านผู้สนใจใน solar cells ที่ผมอยากจะขอแนะนำคือ
4.1) บทความจาก Krungthai Compass
หนึ่งใน highlight ของบทความนี้มีใจความว่า
“....ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2556 ราคาแผงโซล่าในไทยลดลงกว่า 66% ประกอบกับราคารับซื้อไฟของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 บาท/หน่วย ทำให้ระยะเวลาคืนทุนจากการติดตั้งโซล่ารูฟท็อปเร็วขึ้นจาก 17-30.3 ปี ในปี 2556 เหลือ 6.1-13.9 ปี ในปี 2564 และอาจเหลือเพียง 5.3-12 ปี ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
เนื่องจากราคาแผงโซลาร์ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ประเมินว่ามีครัวเรือนไทยถึง 2.3 ล้านครัวเรือนที่สามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและคุ้มทุนได้ค่อนข้างเร็ว หากครัวเรือนกลุ่มนี้เพียง 20% หันมาติดแผงโซลาร์ก็จะทำให้มูลค่าตลาดสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท....”
นั่นคือ ถ้าหาก “สงครามในยุโรปตะวันออก” ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ขยายระยะเวลาออกไปอีก จะทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจทำให้ราคาพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรายังคงสูงต่อเนื่องจนทำให้ “solar cells” เป็นทางเลือกทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!
4.2) ระบบช่วยคำนวณประเมินระยะเวลาคุ้มทุนแบบคร่าวๆ
ซึ่งในตอนท้ายๆของคลิปนี้จะมีระบบช่วยคำนวณแบบคร่าวๆดังนี้
4.3) “ลุงช่าง”
ผมชอบติดตามคลิปของ “ลุงช่าง” และคุณลุงช่างก็ไม่เคยทำให้ผม
ผิดหวัง!
4.4) SCG
4.5) รายการ “ซื้อเก่ง” จาก ThaiPBS
4.6) TNN
โฆษณา