29 ก.ค. 2022 เวลา 08:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
GDP สหรัฐหดตัวสองไตรมาสติด เข้านิยามของศก.ถดถอย แต่ทางการและนักวิเคราะห์ยังไม่คิดว่าถดถอยจริง
สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวในไตรมาสที่สอง นับเป็นการหดตัวติดต่อกันสองไตรมาสแล้ว ตามทฤษฏีแล้วก็เท่ากับสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเชิงเทคนิคแล้ว
ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลดลง 0.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี หดตัวกว่าที่ Dow Jones ประมาณการว่าจะเติบโตขึ้น 0.3% ส่วนไตรมาสแรกนั้นหดตัวลง 1.6%
โดยปกติแล้วก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือ NBER ที่จะประกาศภาวะถดถอยหรือการขยายตัว แต่ตอนนี้ก็แนวโน้มว่าสำนักงานจะไม่พูดถึงประกาศภาวะถดถอยในช่วงนี้ และคงจะไม่ประกาศไปอีกหลายเดือน
แต่การที่ GDP ติดลบติดกันสองไตรมาสตรงกับคำนิยามของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ในทางทฤษฏีที่รับรู้กันทั่วไป แม้ว่าการหดตัวของ GDP ครั้งนี้จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และไม่ว่า NBER จะตัดสินใจว่าจะประกาศการถดถอยอย่างเป็นทางการหรือไม่ GDP เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่กว้างที่สุด และครอบคลุมระดับสินค้าและบริการทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
“เราไม่ได้อยู่ในภาวะถดถอย แต่ชัดเจนว่าการเติบโตของเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว” Mark Zandi หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Moody's Analytics กล่าว “เศรษฐกิจใกล้จะถึงขั้นชะงักงัน คือยังเดินหน้าอยู่แต่น้อยมาก”
ตลาดมีปฏิกิริยาเล็กน้อยต่อข่าวนี้ โดยตลาดฟิวเจอร์สของตลาดหุ้นทรงตัว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ลดลง โดยลดลงมากที่สุดพันธบัตรระยะสั้น
นอกจากนี้ในวันพฤหัสบดี ก็มีรายงานด้วยว่าอัตราการเลิกจ้างในสหรัฐฯยังคงสูงขึ้น ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นมีจำนวนทั้งสิ้น 256,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 23 ก.ค. ลดลง 5,000 รายจากระดับที่ปรับขึ้นในสัปดาห์ก่อน แต่สูงกว่าที่ดาวโจนส์คาดการณ์ไว้ที่ 249,000 ราย
การลดลงมาจากปัจจัยหลายประการ อย่างเช่น การลดลงของสินค้าคงคลัง การลงทุนที่อยู่อาศัยและที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย และการใช้จ่ายของรัฐบาลในระดับรัฐบาลกลาง รัฐ และระดับท้องถิ่น ขณะที่การลงทุนโดยรวมของภาคเอกชนในประเทศร่วงลง 13.5% ในไตรมาสสองด้วยเช่นกัน
การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งวัดจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นเพียง 1% ในช่วงเวลาดังกล่าวเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น การใช้จ่ายด้านบริการเร่งตัวขึ้นโดยเพิ่ม 4.1% ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม แต่ถูกหน่วงเอาไว้ด้วยสินค้าไม่คงทนที่ลดลง 5.5% และสินค้าคงทนก็ลดลง 2.6%
Inventories สินค้าคงเหลือซึ่งช่วยกระตุ้นจีดีพีในปีที่แล้ว กลับกลายเป็นตัวฉุดการเติบโตในไตรมาสที่สอง โดยติดลบ 2 percentage point จากยอดรวม
“มันเป็นไปตามทฤษฎีจริงๆ” แซนดี้กล่าวถึงรายงาน “สิ่งเดียวที่ให้กำลังใจคือการ Stock สินค้าของร้านค้า ที่ยังคงดีอยู่ และหวังว่าปัจจัยเหล่านี้ก็คงจะไม่ไปในทิศทางเดียวกันในไตรมาสหน้าหวังว่าผู้บริโภคจะใช้จ่ายต่อไปและธุรกิจต่างๆ ก็ลงทุนต่อไป และหากเป็นเช่นนั้น เราจะหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้”
หลังจากที่เมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 1984 เป็นต้นมา แต่เมื่อต้นปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวเนื่องจากปัจจัยลบต่าง ๆ มาการบรรจบกันพอดี
แก่นของปัญหา ก็คือ ซัพพลายเชน ในตอนแรกนั้น มีความต้องการสินค้าที่มีมากกว่าที่ผลิตได้ อันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด และปัญหาก็รุนแรงขึ้นเมื่อรัสเซียบุกยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นก็ถูกทุบอีกครั้งเมื่อจีนประกาศใช้มาตรการปิดประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อต่อสู้กับการระบาดของผู้ติดเชื้อโควิด-19
ตัวเลขไตรมาสแรกลดลงจากความไม่สมดุลทางการค้าที่เพิ่มขึ้นและการชะลอตัวของ Inventories แต่ก็กลับมาเป็นปัจจัยผลักดันให้ GDP ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021
และมาบัดนี้ เศรษฐกิจประสบปัญหาเชิงพื้นฐานมากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อเริ่มพุ่งขึ้นในปีที่แล้ว และระเบิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือนนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1981 การที่ผู้กำหนดนโยบายตอบสนองกับปัญหาช้า ทำให้เมื่อเงินเฟ้อพุ่งอย่างน่ากลัว ก็ต้องมีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดที่สหรัฐฯ เคยเห็นมา
ธนาคารกลางสหรัฐในช่วงสี่เดือนที่ผ่านมาได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไปแล้ว 2.25 percentage point การเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75 ติดต่อกันสองเดือนคือเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยรอบสองเดือนที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่เฟดเริ่มใช้อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดนโยบายทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม ประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์ กล่าวเมื่อวันพุธว่า เขาคาดว่าการเพิ่มขึ้นจะลดอัตราเงินเฟ้อลง และเขาคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอย
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่คาดหวังว่า NBER จะประกาศภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีการเติบโตติดลบต่อเนื่องกันเป็นไตรมาส ขณะที่คนใน Wall Street พากันเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปลายปีนี้หรือในปี 2023
นั่นอาจยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนการรับรู้ของสาธารณชนได้ โพล Morning Consult/Politico เมื่อต้นเดือนนี้ระบุว่า 65% ของผู้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมทั้ง 78% ของสมาชิกพรรครีพับลิกัน คิดว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอยแล้ว
โฆษณา