29 ก.ค. 2022 เวลา 09:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คาเฟ่ใน KFC แข่งขันเดือด ไทยเบฟเปิดตัว KFC Café by SO COFFEE
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA บริษัทในกลุ่มของไทยเบฟฯ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 บริษัทที่ได้รับสิทธิแฟรนไชส์บริหารแบรนด์ร้านไทยทอดชื่อดัง 'KFC' ในไทย โดย QSA กำลังจะมีสาขาครบ 430 สาขา ล่าสุดเปิดตัว KFC Café by SO COFFEE ในร้านเคเอฟซีที่ได้สิทธิ์บริหาร โดยในกลุ่มเครื่องดื่มกาแฟจะใช้เมล็ดกาแฟคุณภาพดีจากที่ราบสูงโบโลเวน ประเทศลาว หนึ่งในแหล่งปลูกกาแฟระดับโลก นำมาเบลนด์ตามสูตรเฉพาะของ KFC Arabica Blend
รวมถึงเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เช่น ช็อกโกแลต, มัทฉะ, สตรอว์เบอร์รีพิงกี้ซึ่งจากการเปิดตัว KFC Café by SO COFFEE ไปเมื่อเดือน มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา ด้วยรสชาติกาแฟระดับพรีเมียม แต่มีราคาสามารถจับต้องได้ง่ายช่วยสร้างยอดขายเติบโต โดยมีสัดส่วน 40% ของกลุ่มเครื่องดื่ม
QSA ตั้งเป้าขยายการให้บริการ KFC Café by SO COFFEE ในสาขาของเดอะ คิว เอส อาร์ ออฟ เอเชีย จำนวน 250 สาขาภายในปี 2565 โดยเน้นทำเลสาขาที่ตั้งอยู่ภายในห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านไดร์ฟ ทรู ครอบคลุมกว่า 50 จังหวัดในประเทศไทย
ไทยเบฟ ชู KFC Cafe หนุนยอดขายปี 65 โต 20%
ด้านนางสาวศสัย ตังเดชะหิรัญ กรรมการผู้จัดการ QSA ระบุว่า ในปี 2565 นี้บริษัทตั้งเป้าผลักดันยอดขายเติบโตกว่า 20% ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1. Multi Store Format การมีฟอร์แมตของร้านที่หลากหลายกับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งช่วยในเรื่องการขยายสาขาตามสภาพแวดล้อมเพื่อเข้าถึงกลุ่มบริโภคได้อย่างเหมาะสม
2. การเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง นอกจากการให้บริการภายในร้านแล้ว การจัดส่งอาหาร (Delivery) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริการแบบซื้อกลับ การบริการในรูปแบบ self-pick up ที่ลูกค้าสามารถสั่งผ่านมือถือได้ล่วงหน้าและเลือกรับจากสาขาที่สะดวก
3. การขยายการเติบโตผ่านสายผลิตภัณฑ์ KFC ด้วยการสร้าง โอกาสทางธุรกิจกับพันธมิตรในเครือ เปิดตัว KFC Café by SO COFFEE
เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าทำไม QSA ตั้งถึงตัดสินใจเปิด KFC Cafe เป็นกลยุทธ์สำคัญหนึ่งที่มาช่วยให้การเติบโตของยอดขายในปีนี้เป็นตามเป้า โดยในเชิงธุรกิจจะเห็นว่าเป็นการเพิ่มสินค้าต่อยอดเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิมเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ในกลุ่มอาหารเครื่องดื่มและขนมหวานเข้าขายเพิ่มในร้าน เพราะด้วยไลฟ์สไตล์ปัจจุบันของคนปัจจุบันนิยมยกคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหันมานั่งทำงานหรือติวหนังสือตามร้านกาแฟหรือคาเฟ่อยู่แล้วเรียกได้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้แบบทั้งวันในคาเฟ่
เนื่องจากข้อดีของร้านคาเฟ่มีขายมากกว่าเครื่องดื่มซึ่งเมื่อลูกค้ามาใช้สถานที่นั่งทำงานนานๆ ในมุมกลับกันก็เป็นโอกาสในการที่ขายไก่ทอดได้เพิ่มขึ้นด้วยหรือเมื่อใช้เวลานานขึ้น หากมีสินค้าใหม่ๆ ออกวางขายลูกค้าก็มีโอกาสเห็นสินค้าตัวนั้นได้ทันที รวมถึงจะเป็นกลยุทธ์ที่ร้าน 'เคเอฟซี
' จะมีอาหารและเครื่องดื่มขายตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้นทุกเพศทุกวัยสามารถพาทั้งครอบครัวมากินมานั่งใช้ชีวิตในร้านหรือซื้อกลับไปบ้านก็ได้ด้วย
ขณะที่เมื่อไปดูเจาะข้อมูลเชิงลึกลงจะพบแบรนด์ร้านไทยทอดชื่อดัง 'KFC' ที่เปิดในไทยปัจจุบันที่มีสาขาทั่วประเทศ 953 สาขาซึ่งหน้าตาร้านดูภายนอกจะเหมือนกันหมด แต่จริงๆ แล้วกลับมีเจ้าของที่ไม่ใช่คนเดียวกัน เพราะอยู่ภายใต้การบริหารงานของ 3 บริษัท ผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ ได้แก่
  • บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA อยู่ในกลุ่มของไทยเบฟ
  • บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG อยู่ในกลุ่มเซ็นทรัลฯ
  • บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD
เมื่อต่างเจ้าของในการทำธุรกิจจึงจำเป็นต้องเกิดความแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบ โดยเฉพาะกับเจ้าที่มีฐานทุนใหญ่ที่แข็งแกร่งระหว่างกลุ่ม 'ไทยเบฟ' กับ 'กลุ่มเซ็นทรัล' ที่ต้องทำให้ร้าน 'เคเอฟซี' จำเป็นต้องขายมากกว่าไก่ทอด
ดังนั้นการเกิดของ KFC Cafe อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ 'เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG' เปิดตัว KFC Cafe’ by Arigato เป็นแบรนด์เครื่องดื่มนำเข้าจากญี่ปุ่น มีเมนูเครื่องดื่ม คือ ชาเขียว ที่มีราคาไม่แพง ซึ่งเดิมอยู่แต่ในร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท สักระยะแล้ว โดยออกแบบพื้นที่พื้นที่บริเวณด้านหน้าร้านของ KFC ซึ่งเป็นโซนขายของหวานเพิ่มเป็นมุมคาเฟ่กาแฟ
โดยการเปิด KFC Cafe’ by Arigato เป็นกลยุทธ์เพิ่มรายได้ในของขนมหวานและเครื่องให้มากขึ้น สามารถดึงลูกค้าของ KFC เข้ามาแล้วสามารถอยู่ได้ตลอดทั้งวัน จากปกติที่ส่วนใหญ่จะทานเฉพาะมื้อหลักเท่านั้น แต่มุมคาเฟ่ทำให้ทานเครื่องดื่มได้ทั้งวัน รวมถึงขนมหวาน ซึ่งช่วงสิ้นปี 2564 ทาง CRG ตั้งเป้าหมายว่าจะมี KFC Cafe’ by Arigato กว่า 220 สาขา จากสาขาที่มีอยู่รวมประมาณ 300 สาขา
McDonald's เปิดมุมกาแฟแบบ Mc Cafe'
สำหรับกลยุทธ์การผุดคาเฟ่ ในร้านไก่ทอด 'KFC' ก็ไม่ใช่เจ้าเดียวที่ใช้ เนื่องจากหากหันไปดูคู่แข่งที่ทำธุรกิจฟาสต์ฟู้ดอยู่ในธุรกิจใกล้เคียงกันก็ใช้กลยุทธ์นี้มานานมากกว่า 10 ปีแล้ว นั่นคือแบรนด์ระดับบ 'แมคโดนัลด์' (McDonald's) ที่มีสาขาในไทยจำนวน 245 สาขาทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ ปี 2562) เพราะหากลองสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าจะเห็นสาขาของ "แมคโดนัลด์" จะมีคาเฟ่แบรนด์ Mc Cafe'(แมคคาเฟ่) เปิดอยู่ในร้าน แมคโดนัลด์
'โออาร์' ก็มีไก่ทอด Texas Chicken กินคู่กับ Cafe Amazon
1
นอกจากจากนี้เมื่อไปสังเกตุเมื่อแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดน้องใหม่อย่างไก่ทอด Texas Chicken ของ "โออาร์" ที่ได้รับสิทธิแฟรนไชส์มาเปิดในไทยซึ่งข้อมูล ณ ไตรมาส 2/2565 มีสาขารวม 95 สาขา โดยสาขาส่วนใหญ่จะเห็นว่าจะเปิดตั้งอยู่ใกล้เคียงหรือมีร้านของ Texas Chicken ตั้งอยู่ติดกับร้านกาแฟ "คาเฟ่ อเมซอน" ทั้งรูปแบบสาขาที่เปิดในศูนย์การค้าและสาขาที่เปิดปั๊มน้ำมันของ ปตท. เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้บริการกินได้ทั้งอาหารมื้อหลัก, ขนมหวาน, เครื่องดื่มได้แบบตลอดทั้งวัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การนำ Cafe มาเปิดในหรือคู่กับธุรกิจฟาสต์ฟู้ดถือเป็นโมเดลธุรกิจที่นิยมในการเพิ่มยอดขายเพราะจะเห็นว่าทั้งผู้เล่นหน้าเก่าและใหม่ ต่างใช้กลยุทธ์เดียวกันนี้มาใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ครอบคลุมได้ทั้งครอบครัวสามารถใช้ชีวิตกินดื่มได้ตลอดทั้งวันแบบกินดื่ม ครบจบในที่เดียว
ขณะที่เมื่อไปดูร้าน "KFC" ที่มี RD รับสิทธิแฟรนไชส์อีกราย ปัจจุบันยังงไม่ได้มีค่าเฟ่ของตัวเอง แต่ล่าสุดสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า RD กำลังพิจารณาขายสิทธิแฟรนไชส์ธุรกิจร้าน KFC ในไทยที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาระหว่าง 2560-2565 มีผลขาดทุนต่อเนื่องมาตลอด ปัจจุบันจำนวน 236 สาขา มีมูลค่าเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งผู้มีแนวโน้มจะได้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์นี้ไป คือ CRG และ QSA ที่ถือสิทธิแฟรนไชส์ KFC อยู่บางส่วนแล้ว
ดังนั้นถือเป็นอีกดีลใหญ่การซื้อกิจการ(M&A)ขนาดใหญ่ของปีนี้ที่ต้องติดตาม เพราะหากกลุ่มไทยเบฟ หรือ เซ็นทรัล สามารถคว้าสิทธิแฟรนไชส์ KFC ได้ต่อจาก RD แล้ว เจ้านั้นจะมีจำนวนสาขาของ KFC นำทิ้งคู่แข่งไปอีกมากจากปัจจุบันที่เบียดกันในฝ่ายละประมาณกว่า 300-400 สาขา
และแน่นอนว่าคงสานต่อกลยุทธ์การนำ Cafe มาเปิดใน KFC ที่ได้มาเพิ่มด้วย ลองมาลุ้นกันว่าในอนาคตของ KFC ที่ RD จะขายออกมานั้น จะมีแบรนด์คาเฟ่อะไรได้เข้ามาเปิดระหว่าง KFC Café by SO COFFEE ของฝั่งไทยเบฟ กับ KFC Cafe’ by Arigato ของฝั่งเซ็นทรัล
ติดตามข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการเงิน ของ #Spotlight เพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ https://www.amarintv.com/spotlight
ยูทูป : https://bit.ly/31rtDUM
อินสตาแกรม : https://www.instagram.com/spotlight_biz
โฆษณา