Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
1 ส.ค. 2022 เวลา 13:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
ความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล ต่อเสถียรภาพทางการเงิน
สินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยมในการลงทุนอย่างแพร่หลาย และเพียงไม่กี่ปี ก็เกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลมาแล้วมากมาย และส่งผลกระทบต่อนักลงทุนในวงกว้างจนแทบประเมินค่าไม่ได้
ทั้งนี้ก็มีองค์กรที่ติดตามดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของโลก ที่มีชื่อว่าคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board หรือ FSB) ได้เผยแพร่รายงานการประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลต่อเสถียรภาพทางการเงินไว้ เมื่อต้นปี 2565 นี้เอง
ซึ่งได้มีการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีสินทรัพย์อื่นหนุนหลัง ( Unbacked crypto-asset) ในด้านต่าง ๆ
รวมถึง Stablecoin และการพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Finance : DeFi) และแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto-asset trading platform) ไว้อย่างน่าสนใจ
โดยสรุปข้อมูลที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงิน มีดังนี้
📌 สินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีสินทรัพย์อื่นหนุนหลัง (Unbacked crypto-asset)
1
6
ภาพจาก Pinterest
ปัจจุบันพบว่าสถาบันการเงินขยายขอบเขตการให้บริการที่มีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับ Unbacked crypto-asset เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการซื้อขาย การบริหารจัดการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล การเก็บรักษา และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives) ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ดิจิทัล
ในอนาคตหากธุรกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยยังไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสมอาจ
เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินได้
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากความสัมพันธ์ของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลและราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (S&P 500) ยังมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน ในช่วงปี 2563-2564 ทั้งที่ก่อนปี 2563 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สัมพันธ์กันเลย
ด้านผลกระทบต่อความมั่งคั่ง (wealth effect) อาจมีผลกระทบสูงขึ้นในประเทศที่ยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นเงินตราตามกฎหมาย อย่างเช่น เอลซัลวาดอร์ เป็นต้น
📌 Stablecoin
ภาพจาก Pinterest
ปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์การกำกับดูแลการจัดการสินทรัพย์อ้างอิงของ Stablecoin ทำให้การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์อ้างอิงของผู้ออก Stablecoin แต่ละรายไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ยิ่งในกรณีที่มีการขายคืน Stablecoin จำนวนมาก ผู้ออก Stablecoin อาจต้องขายสินทรัพย์ที่อ้างอิงไว้อย่างรวดเร็ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดสินทรัพย์นั้นโดยตรง
ทั้งนี้การใช้งานของ Stablecoin ในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1) ใช้เชื่อมระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และ Fiat currencies
2) ใช้เป็นหลักประกันในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
3) ใช้ในธุรกรรม DeFi โดย Stablecoin อาจมีความเสี่ยงต่อตลาดสินทรัพย์ทางการเงินบางประเภทได้ เนื่องจาก Stablecoin มักอ้างอิงกับสินทรัพย์ทางการเงินหลายประเภท รวมถึงตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้นกู้ และ Commercial paper เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี Stablecoin บางสกุล เช่น Tether’s USDC ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงสูงพอ ๆ กับกองทุนรวมตลาดเงินขนาดใหญ่ ดังนั้นหากเกิดปัญหากับ Stablecoin ดังกล่าว ก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวมด้วย
📌 การเงินแบบกระจายอำนาจ หรือ Decentralized Finance (DeFi)
1
ภาพจาก Pinterest
การขยายขอบเขตบริการและธุรกรรมทางการเงินแบบกระจายศูนย์หรือ DeFi ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืม (Lending) ประกันภัย การซื้อขายแลกเปลี่ยน (DEX) และการจัดการทรัพย์สิน (Asset Management) อาจสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพและความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบการให้บริการบน DeFi และการระบุเขตอำนาจในการกำกับดูแล
หากยังไม่มีมาตรการการกำกับดูแลที่ดีพอ อาจทำให้ความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลมีมากขึ้น
ทั้งนี้ ด้วยการตรวจสอบพบว่า ปริมาณสินทรัพย์บน DeFi สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเกิดการโจรกรรมสินทรัพย์บน DeFi บ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายจำนวนมากแก่ผู้ใช้บริการนั่นเอง
📌 แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto-asset trading platform)
ภาพจาก Pinterest
การกระจุกตัวในการให้บริการ หรือแพลตฟอร์มเดียวให้บริการหลายประเภท หรือการที่มีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่รายในแพลตฟอร์ม FSB มองว่าอาจสร้างความเสี่ยงในด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือของตลาดได้
และการที่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเชื่อมโยงกับทรัพย์สินอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดความเสี่ยงเชิงโครงสร้างของสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น
ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลต้องเร่งประเมินผลกระทบและจำเป็นต้องมีนโยบายหรือมาตรการเพื่อป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภาคการเงินในปัจจุบันและอนาคตต่อไปด้วยค่ะ
2
อ้างอิง :
https://www.fsb.org/2022/02/assessment-of-risks-to-financial-stability-from-crypto-assets/
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
cryptocurrency
การเงิน
การลงทุน
3 บันทึก
21
22
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Cryptocurrency
3
21
22
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย