30 ก.ค. 2022 เวลา 08:42 • ท่องเที่ยว
วานูอาตู (Vanuatu) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐวานูอาตู (Republic of Vanuatu) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย 1,750 กม. และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนิวแคลิโดเนีย ทางทิศตะวันตกของประเทศฟีจี และทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน 500 กม. ชื่อของประเทศนี้ในยุคอาณานิคม คือ นิวเฮบริดีส์ (New Hebrides)
ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
• เป็นแหล่งประมงและแหล่งท่องเที่ยว
• ผู้นำระดับสูงเยือนไทยบ่อยครั้ง และให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์กับไทย อาทิ รมว. กต. วานูอาตูเดินทางเข้าร่วมการประชุม
Thailand-Pacific Island Countries Forum (TPIF) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม ค.ศ.2014 และรมว. การคลังวานูอาตูเข้าร่วมการประชุม
Thailand-Pacific Island Countries Forum (TPIF) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม ค.ศ.2015
• ไทยให้ความช่วยเหลือเพื่อจัดการภัยพิบัติจากไซโคลนแพมจำนวน 30,000 USD
รูปแบบการปกครองของวานูอาตูเป็น ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา สภาผู้แทนราษฏรเป็นสภาเดี่ยว (unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 52 คน (อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี) พรรคการเมืองที่สำคัญ คือ พรรค National United Party (NUP) People's Progressive Party (PPP) Union of Moderate Parties (UMP) Vanua'aku Pati (Our Land Party – VP) ประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของวานูอาตูมีลักษณะเป็น resource based โดยประชากรประมาณ ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อมะพร้าวตากแห้งเพื่อส่งออก ด้านปศุสัตว์ วานูอาตูมีโรงงานแปรรูปและบรรจุกระป๋องเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐานของประชาคมยุโรปและสหรัฐฯ วานูอาตูส่งออกไม้ ทั้งไม้แปรรูป ไม้จันทน์ และผลิตภัณฑ์จากไม้
แต่มักถูกกดดันจากประเทศพัฒนาแล้วเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมประมงโดยเฉพาะปลาทูนาเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับวานูอาตูเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาเกือบ 30 ปี การจับปลาของเรือต่างสัญชาติจะกระทำโดยการชำระค่าธรรมเนียมให้แก่รัฐบาลในการจับปลาในน่านน้ำของวานูอาตู โดยประเภทสัญญาจับปลาในน่านน้ำวานูอาตูมี 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การให้สัมปทานแบบรายปีและแบบต่อลำ ในช่วงที่ผ่านมาวานูอาตูได้ลงนามในสัญญาการประมงกับประเทศต่าง ๆ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน
วานูอาตูมีแหล่งแร่แมงกานีส สินแร่ทองคำ นิเกิลและทองแดงด้วย นักธุรกิจชาวไต้หวันได้ประกาศโครงการลงทุนในเมือง Espirito Santo (ในเขต Luganville)
ปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากร การพึ่งสินค้าออกที่เป็นสินค้าขั้นปฐมภูมิเพียงไม่กี่ประเภท การขาดแคลนการลงทุน การบริหารเศรษฐกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนภัยธรรมชาติ อาทิ พายุไต้ฝุ่น และแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ปัจจุบันวานูอาตูกำลังดำเนินโครงการปฏิรูปนโยบายและระบบให้เอื้อแก่การลงทุนและภาคเอกชนมากขึ้น ซึ่ง ADB ได้ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้ต่างชาติเข้ามาประมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ การเปิดกว้างในการใช้น่านฟ้า การปรับปรุงนโยบายและกฎหมายการค้า การปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการและระบบการปกครองให้มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลมากขึ้น ฯลฯ
วานูอาตูเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศเครือจักรภพ Pacific Islands Forum (PIF), Francophone Community, สหประชาชาติ (United Naions - UN), กลุ่ม G 77, IMF, World Bank, ADB, ACP, WTO เป็นต้น มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 74 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศที่มีสถานเอกอัครราชทูตในวานูอาตู 5 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ 2 ประเทศ คือ ปาปัวนิวกินี และสวีเดน
วานูวาตูยังคงมีความหลากหลายของวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมในท้องถิ่น และได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ วัฒนธรรมของวานูวาตูอาจแบ่งได้ตามภูมิภาคหลักๆ 3 ภาคดังนี้
ภาคเหนือ ความมั่งคั่งจะพิจารณาได้จากว่าผู้คนสามารถให้ทรัพย์สินได้มากเท่าใด (โดยเฉพาะสุกร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้)
ภาคกลาง ถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมโปลีนีเซียแบบดั้งเดิมมากกว่า
ภาคใต้ มีวัฒนธรรมการมอบตำแหน่งที่เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ
นอกจากนี้ชายหนุ่มจะมีพิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เพื่อการเริ่มต้นชีวิตวัยผู้ใหญ่ #ประเทศวานูอาตู #Vanuatu #ทวีปโอเชียเนีย #Oceania #นิวเฮบริดีส์ #NewHebrides
โฆษณา