31 ก.ค. 2022 เวลา 13:50 • การศึกษา
📚ฎีกาน่ารู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8803/2559
จำเลยใช้ถ้อยคำพูดกับโจทก์ว่า “กูเบื่อผู้ชายแก่ เซ็กส์ห่วย หัวล้าน ตัวเตี้ย ๆ หัวขโมยแบบมึงเต็มที” และ “กูมีความพร้อมทุกอย่าง สาวสวยเหมาะสมกับหนุ่ม ๆ แข็งแรงฟิตเปรี๊ยะ พร้อมเริ่มต้นใหม่ ไม่มีอะไรยาก กูแต่งงานกับมึงเพื่อประชด อ. เจ็บ ก็แค่นั้น กูไม่ได้พิศวาสมึงเลย…” และส่งข้อความทางโทรศัพท์ว่า “เดี๋ยวกูจะไปนอนให้คนอื่นเอา”
เป็นถ้อยคำหยาบคาย อันมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาทเหยียดหยามโจทก์และถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนอันเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3) และ (6)
ส่วนการที่โจทก์ไม่กลับบ้านนานนับสัปดาห์ ไม่ยอมหลับนอนกับจำเลย ออกจากบ้านไปแล้วไม่กลับมาอยู่ด้วยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ไม่อุปการะเลี้ยงดู จึงเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. 1516 (6) เช่นกัน
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่ากัน โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ คดีจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คู่ความจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516
เหตุฟ้องหย่า มีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยา อุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่อง ผู้อื่น ฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้ หรือ มีชู้ หรือ ร่วมประเวณีกับ ผู้อื่น เป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยา ประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็น ความผิดอาญา หรือไม่ ถ้า เป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับ ความอับอายขายหน้า อย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับ ความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่ คงเป็น สามีหรือภริยา ของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว อยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับ ความเสียหาย หรือ เดือนร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยา ทำร้าย หรือ ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ หรือ หมิ่นประมาท หรือ เหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือ บุพการี ของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้า เป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยา จงใจละทิ้งร้าง อีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน หนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยา ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้จำคุก และ ได้ถูกจำคุกเกิน หนึ่งปี ในความผิด ที่อีกฝ่ายหนึ่ง มิได้มีส่วน ก่อให้เกิด การกระทำความผิด หรือ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิดนั้นด้วย และ การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความเสียหาย หรือ เดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยา สมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน สามปี หรือ แยกกันอยู่ ตามคำสั่งของศาล เป็นเวลาเกิน สามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยา ถูกศาลสั่งให้เป็น คนสาบสูญ หรือ ไปจาก ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกิน สามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยา ไม่ให้ ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือ ทำการเป็นปฏิปักษ์ ต่อการที่เป็น สามีหรือภริยากัน อย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้า การกระทำนั้น ถึงขนาดที่ อีกฝ่ายหนึ่ง เดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยา วิกลจริต ตลอดมาเกิน สามปี และ ความวิกลจริตนั้น มีลักษณะ ยากจะหายได้ กับทั้ง ความวิกลจริต ถึงขนาดที่จะ ทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยา ผิดทัณฑ์บน ที่ทำให้ไว้ เป็นหนังสือ ในเรื่อง ความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยา เป็นโรคติดต่อ อย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัย แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และ โรคมีลักษณะ เรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยา มีสภาพแห่งกาย ทำให้ สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณี ได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 8803/2559
ที่มาข้อมูล https://www.lawrai.com
โฆษณา