1 ส.ค. 2022 เวลา 00:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สภาพคล่องของ DW เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยอาจเกิดขึ้นจากนักลงทุนลดความสนใจในการเทรด DW รุ่นนั้น หรือผู้ออก DW ปรับสภาพคล่อง มาดูกันว่า สภาพคล่องของ DW จะมีการปรับแบบไหน และปรับเมื่อไหร่กันบ้าง
⚠️ ปรับเมื่อ DW ใกล้หมดอายุ
เป็นการปรับลด Bid-Offer เพื่อลดปริมาณการซื้อขายของ DW รุ่นนั้น โดยส่วนใหญ่ผู้ออกจะคง Bid Volume เอาไว้สำหรับรับซื้อคืน แต่ก็มีบางทีราคา DW ในตารางต่ำกว่าราคาในกระดานมากๆ ก็อาจจะไม่ตั้งรับซื้อคืนเหมือนกัน
⚠️ ปรับเมื่อ DW มีสถานะ Deep OTM
ว่าง่ายๆ ว่าถ้าราคาต่ำกว่า 10 สตางค์ลงมา ก็เริ่มจะไม่มีสภาพคล่องเหลือแล้ว ยกเว้นบางรุ่นที่ยังมีนักลงทุนซื้อขายเป็นจำนวนมาก ก็อาจจคงฝั่ง Bid ไว้เยอะหน่อย
⚠️ ปรับเมื่อ DW มีสถานะเป็น Deep ITM
อ๊าวววว... ITM มากๆ ก็ปรับเช่นกันนะ เพราะ Deep ITM จะเกิดเหตุการณ์หลักๆ คือ sens สูงกว่า 1 ทำให้แม่ขึ้น 1 ช่องลูกกระโดดไปหลายช่อง และผู้ออกต้องใช้หุ้นแม่ในการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้ต้นทุนธุรกรรมสูงขึ้น ก็จะมีการลด Bid-Offer ลง หรือ delay matching เพื่อส่งสัญญาณว่ารุ่นนี้ไม่น่าซื้อขายแล้วจ้า
⚠️ เมื่อ DW รุ่นนั้นมี sens เปลี่ยนไปเยอะมาก
เช่นหลังการปรับสิทธิ ทำให้ DW ใช้ช่องแม่จำนวนมากกว่าจะยก (หนืดๆ) พวกนี้ผู้ออกก็จะส่งสัญญาณด้วยการลด Bid-Offer ลงเช่นกัน แต่ผู้ออกบางเจ้าก็ไม่ลด เพราะที่จริงแล้ว การมีช่องติดก็มีความเสี่ยงขาลงน้อยลงนะ
⚠️ เมื่อรุ่นนั้นเป็นรุ่นที่ไม่อยากขาย
เช่น เมื่อหุ้นอ้างอิงผันผวนมากเกินไป ทำให้เกิดความลำบากในการบริหารความเสี่ยง ส่วนใหญ่ผู้ออกก็จะ delay matching เพื่อให้นักลงทุนไปเทรดรุ่นอื่นแทน
ตัวเลือก DW ในตลาดมีอยู่เป็นจำนวนมาก เราอย่ายึดติดแค่รุ่นใดรุ่นหนึ่ง และอย่าลืมพิจารณาสภาพคล่องของรุ่นนั้นๆ ประกอบการลงทุนด้วยนะ
แล้วจะมาเล่าให้ฟังอีก
อ.เกด
#DW #Teach4trade #Teachfortrade #คุยกับเกดเรื่องเทรดDW
โฆษณา