1 ส.ค. 2022 เวลา 03:34 • ธุรกิจ
e-Document ใช้เป็นเอกสารในเชิงกฎหมายได้หรือเปล่า?
1
สัญญาใด ๆ ก็ตามที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและมีการลงลายลักษณ์อักษรครบถ้วนสมบูรณ์
กำเนิดสัญญาแบบเก่าและมีผลบังคับใช้ทันทีหรือตามเวลาที่กำหนดในสัญญา เช่น การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ สัญญาซื้อขาย สัญญาการประกอบธุรกิจ กิจการ ซึ่งการทำสัญญาแบบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยทั่วไปมีไว้เพื่ออ้างอิงความบริสุทธิ์ หรือความผิดจากเหตุฟ้องร้องกันในชั้นศาล ฉะนั้นตามหลักกฎหมายจึงกำหนดหลักเกณฑ์การทำสัญญาไว้ 2 ประการด้วยกัน คือ
  • 1.
    ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
  • 2.
    สัญญาต้องมีการลงลายมือชื่อของคู่สัญญาเพื่อระบุตัวผู้ทำสัญญาได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การทำสัญญายังคงถูกจำกัดอยู่เฉพาะในรูปแบบ “เอกสารและหลักฐานที่เป็นหนังสือในเชิงกายภาพ” พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เอกสารที่อยู่ในรูปแบบของกระดาษ ทำให้มีการตีความว่าเอกสารสัญญาต้องอยู่ในรูปแบบที่จับต้องได้ มีรูปร่างที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น ตัวสัญญาจึงอยู่ในรูปแบบของกระดาษเป็นส่วนใหญ่
แต่เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดยั้ง กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จึงถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่ออุดช่องโหว่ของกฎหมายเดิม ซึ่งภายในบทบัญญัติได้ระบุแนวทางเอาไว้ชัดเจน
ในการยอมรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Document จะต้องมีสถานะครบถ้วนทางกฎหมาย 3 ประการ ดังนี้
  • ข้อความที่ระบุในสัญญาสามารถเข้าถึงได้ หมายความถึง ข้อความที่ถูกเขียนขึ้นต้องสามารถอ่านได้ ตีความได้ แปลความหมายแล้วเข้าใจตรงกัน ไม่สามารถถูกตีความไปเป็นความหมายอื่น
1
  • ข้อความที่ถูกเขียนต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หมายถึง สามารถเปิดดูข้อความเนื้อหาในภายหลังได้ หรือดึงข้อมูลกลับมาเปิดดูอีกครั้งได้ เพราะอย่างที่เราทราบกันดี ในสมัยนี้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์บางอย่างสามารถตั้งค่าลบตัวเองได้เมื่อถูกเปิดตามจำนวนครั้งที่ถูกตั้งค่าไว้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเอกสารสูญหายจึงกำหนดแนวทางข้อนี้ขึ้นมา
  • ข้อความในสัญญาต้องมีความหมายเดิมไม่ถูกเปลี่ยนแปลง เมื่อกลับมาเปิดดูอีกครั้งความหมายก็ยังคงเดิม โดยคู่ความสามารถพิสูจน์ในชั้นศาลได้ว่า ความหมายของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลงมาก่อน ประกอบกับเทคโนโลยี Smart Contract ที่มีการใช้ Blockchain
เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำสัญญาด้วยแล้ว ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในสัญญา ข้อมูลการแก้ไขจะถูกระบุเอาไว้ในสัญญาเสมอ ไม่ว่าใครก็ตามที่กลับมาเปิดสัญญาก็สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ทำการแก้ไขได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยลดความคลุมเครือในเอกสารและระยะเวลาการตรวจสอบเอกสารได้เป็นอย่างดี
1
การลงลายมือชื่อบนอิเล็กทรอนิกส์
1
ลงลายมือชื่อ หรือการเซ็นเอกสาร เป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญามาช้านาน ตั้งแต่สมัยที่การทำสัญญายังจำกัดอยู่แค่กระดาษเท่านั้น ซึ่งการเซ็นเอกสารช่วยให้สัญญามีความน่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบผู้ทำสัญญาได้ ส่วนปัจจุบันส่วนใหญ่หันมาใช้ e-Signature บน e-Document กันมากขึ้น ทั้งยังสามารถใช้เป็นหลักฐานเทียบเท่าการเซ็นสัญญาในรูปแบบกระดาษ
4
การนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในชั้นศาล
หากการทำสัญญาแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าเอกสารฉบับนั้น มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายโดยทันที และจะพิจารณาความน่าเชื่อถือของเอกสารจากลักษณะ วิธีการจัดทำ วิธีการเก็บรักษาข้อมูล (ว่าบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงได้ง่ายหรือไม่) ความปลอดภัยของเทคโนโลยีที่นำมาใช้จัดเก็บ เพื่อรับรองว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกปลอมแปลง หรือแก้ไขระหว่างการดำเนินการหรือการจัดเก็บ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาในชั้นศาลอีกทีหนึ่ง
1
สรุปแล้ว หากสามารถจัดทำสัญญา ให้ครบถ้วนตามรูปแบบ e-Document ได้ ก็เป็นอันถือว่า สัญญาเหล่านี้มีผลบังคับใช้ในทางการกฎหมายแล้ว แต่ถ้าต้องการให้สัญญามีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ควรจัดเก็บไว้ในระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเช่น ระบบ DMS เป็นต้น
หากคุณสนใจหรืออยากสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ระบบ DMS ที่ Ditto ให้บริการ ติดต่อได้ทาง
Call Center: 02-517-5555
Line Official: @dittothailand https://line.me/R/ti/p/%40dittothailand
Line Official: @dittothailand
โฆษณา