1 ส.ค. 2022 เวลา 04:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BBLAM Weekly Investment Insights 1 - 5 สิงหาคม 2022
หุ้นจีนขาขึ้นรอบนี้จะให้มั่นใจต้องตอบได้ว่า เป็นขาขึ้นรอบใหม่? อะไรทำให้วิ่งขึ้นต่อ? ยังหวังมั่งคั่งกับหุ้นจีนได้ไหม? ลงทุนเลยหรือรอ?
ช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนพบเจอกับความเสี่ยงรอบด้าน เช่น ปัญหาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของจีน 150 แห่ง ใน 63 เมืองที่หยุดการก่อสร้าง จนทำให้ผู้ซื้อบ้านในโครงการใหม่เหล่านี้รวมตัวกันไม่จ่ายค่างวด
สังเกตได้ว่า ต้นตอของปัญหาไม่ได้มาจากฝั่งผู้ซื้อไม่มีเงินจ่าย แต่มาจากฝั่งผู้ประกอบการโครงการใหม่ ซึ่งแม้จะส่งผลกระทบต่อภาคธนาคารในแง่หนี้เสีย และกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ยอดขายถูกชะงักไปบ้าง แต่ความจริงแล้ว ประเด็นนี้อาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด..เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะแค่โครงการใหม่ ซึ่งมีมูลค่าสินเชื่อเพียง 6% ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในเมืองรอง ๆ ไม่ใช่หัวเมืองใหญ่
Market & Economy
Recession กับคำถาม "สัญญาณดีเริ่มต้นแล้ว?"
ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM มาให้มุมมองของโอกาสเกิด Recession ว่าจริง ๆ แล้ว ถ้าเกิดจริง ๆ อะไรที่นักลงทุนต้องนึกถึงระหว่างสัญญาณ "ลงทุน" หรือ "กังวลมากขึ้น"
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ( Recession ) แบ่งเป็นสองแบบ ได้แก่ แบบแรก Technical Recession ซึ่งวิเคราะห์จาก GDP ของแต่ละประเทศ หากติดลบติดต่อกันสองไตรมาส ( เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า) ถือว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
Fixed Income
USA
"เฟด" ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% รอบ 2 ประเด็นยังเป็นเรื่อง "เงินเฟ้อ"
ณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯมีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.25% - 2.50% ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเป้าหมายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องในประเทศ
นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวว่า FOMC จะยังคงตัวเลขเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2% และเชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องถือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ก็ส่งสัญญาณลดความถี่การปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต
Equity
ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียว่ามีปัจจัยที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษซึ่งแตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่
ปัจจัยแรก คือ เลือกลงทุนในบริษัทที่มีรายได้จากธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยม
ปัจจัยต่อไป คือ การได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน ( Foreign Exchange rate ) ที่มีเสถียรภาพสูง FX Gain
ปัจจัยที่สาม คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด ( Current Account ) ซึ่งส่งผลในเรื่องเสถียรภาพระหว่างประเทศ จะเห็นว่า ปีที่แล้วมีหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งได้อานิสงค์เรื่องการส่งออก ขณะที่ประเทศซึ่งพี่งพิงการกู้ยืมเงินต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยตามเฟด เพื่อเป็นการรั้งเงินทุนระหว่างประเทศ
INNOVATION
กองทุน B- FUTURE ซึ่งมีแนวทางลงทุนในธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการรับเทรนด์ที่จะมาในอนาคต ทั้งนี้ผู้จัดการกองทุนมองไปที่ 5 ธุรกิจที่เป็นเมกะเทรนด์ ได้แก่ 1. สังคมสูงวัย 2. ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า
เทคโนโลยีบล็อกเชน คลาวด์คอมพิวติ้ง ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) 4. ดาต้า เซ็นเตอร์ การเงินแบบกระจายศูนย์ หรือ DeFi (DeFiDecentralized ) และ 5. ESG และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และยังสนใจลงทุนเพื่อรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศจีนที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
กองทุน B-CHINE-EQ ได้เข้าลงทุนใน Allianz China A Shares และ Allianz All China ซึ่งผู้จัดการกองทุนของทาง AGI มีมุมมองต่อจีนว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของจีนอยู่ในระดับตำ่มาระยะหนึ่งแล้ว ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัว ปรับตัวในทิศทางดีขึ้น เช่น ดัชนี PMI เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็อยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี นอกจากนี้รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนหลายประการ เช่น การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งสนามบิน รถไฟ ถนน
การสนับสนุนให้คนจีนซื้อรถใหม่โดยเฉพาะรถ EV การสนับสนุนภาคธุรกิจ SME ซึ่งมีทั้งเงินอุดหนุนและลดภาษี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลให้ช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจีนจะสามารถฟื้นตัวได้
Podcast
ท่านสามารถแจ้งสมัครรับข่าวสาร BBLAM Weekly Investment Insights ได้ที่ bblampr1@bblam.co.th
#BBLAM #BBLAMWeeklyInvestmentInsights #bualuangfund #กองทุนบัวหลวง #ธนาคารกรุงเทพ #bualuangexclusive #allgenenjoy #insight #asiatrigger #bchineeq #bchinessf #bchinaarmf #bfuture #bfuturessf #bfuturermf
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/.../bblam-investment.../1-5-2022

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา