5 ส.ค. 2022 เวลา 00:00 • การตลาด
ในยุคที่มีการแข่งขันสูง ทุกแบรนด์ลดสินค้า จัดโปรโมชั่นกันแบบกระหน่ำเพื่อแย่งลูกค้า
ลองแหวกแนว ด้วยเทคนิค การตลาดแบบ “Low-end Disruption” ขายดีได้โดยไม่ต้องลดราคา
หลักการของ Low-end Disruption
🛒ฟังก์ชั่นไหนไม่จำเป็น อาจดึงออก เน้นฟังก์ชั่นไม่ต้องเยอะ แต่หยิบใช้งานได้ตลอด
🛒ต้นทุนการผลิตถูกลง
🛒ลูกค้าใช้งานง่าย
สำหรับ “Low-end Disruption” เป็นแนวคิดของศาสตราจารย์ เคลย์ตัน คริสเตนเซน (Clayton Christensen) แห่ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในหนังสือด้านการจัดการ The Innovator’s Dilemma ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทฤษฎี Disruption Innovation
โดย Low-end Disruption เป็นการเอาฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็นของสินค้านั้นออก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตถูกลงตามไปด้วย แต่ผู้บริโภคใช้งานได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์ชีวิตมากขึ้น
เข้าใจหลักการ Low-end Disruption
ถ้าชาว K SME ยังงงๆ จับหลักไม่ถูก งั้นเรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า
ตัวอย่างง่ายๆ เลยคือ
ไม้ถูพื้นปกติ เราจะมีไม้ถูพื้นที่ช่วยประหยัดแรงการรีดน้ำออก ด้วยไม้ถูพื้นแบบหมุน จะมีอุปกรณ์อยู่ 2 ชิ้นหลักๆ นั่นคือ ไม้ถูพื้น และ ถังน้ำ ข้อดีของไม้ถูพื้นแบบนี้คือ เราจะได้ไม่ต้องเหนื่อยบิดน้ำออก หรือ มือสกปรกเมื่อบิดน้ำ
พอใช้หลักการ Low-end Disruption
ไม้ถูพื้นก็เหลืออุปกรณ์เพียงแค่ 1 ชิ้น ใช้งานง่าย เพียงแค่กดปุ่มให้มีน้ำพุ่งกระจายออกมา แล้วถูไปเรื่อยๆ แถมยังจับถนัดมือ ไม่เกะกะพื้นที่ในการเก็บ พกพาไปไหนได้สะดวก
ลดต้นทุนการผลิตลง จากการที่ต้องผลิตถังน้ำออกมาจำหน่ายคู่กัน กลายเป็นเหลือสินค้าแค่ 1 ชิ้นเท่านั้น
ซึ่งอาจจะทำให้สามารถลดราคาขายลงมา เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคด้วยอีกทาง
ข้อดีจากการตลาดแบบ Low-end Disruption
ข้อดีของการทำตลาดแบบ Low-end Disruption คือ
✨ ประหยัดต้นทุนลง และอาจผลิตได้มากขึ้น
✨ แบรนด์มีสินค้าที่ใช้งานง่ายขึ้น ให้กับผู้บริโภค
✨ เปิดตลาดให้กับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น เช่น ได้ลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากใช้งานง่ายขึ้น ไม่ลำบากในการใช้
และเมื่อสินค้า Mass ขึ้น อาจพัฒนาสินค้าอื่นๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้
สเตปการประยุกต์ใช้ Low-end Disruption
ถ้าแบรนด์ของคุณอยากหันมาใช้การตลาดแบบ Low-end Disruption
เริ่มต้นง่ายๆ ตามสเตปนี้
1.) ย้อนกลับมาดูกลุ่ม Target
2.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่ม Target ว่าเขาชอบอะไร อินกับอะไร ชอบใช้ฟังก์ชั่นไหนในสินค้าเรา และ ไม่ค่อยได้ใช้ฟังก์ชั่นไหน
3.) ดึงเอาฟังก์ชั่นที่ไม่ค่อยได้ใช้มาวิเคราะห์ ว่าถ้าตัดออก หรือ ลดประสิทธิภาพลง ซึ่งต้องวิเคราะห์ด้วยว่า ถ้าลดประสิทธิภาพลง จะมีปัญหาในภายหลังไหม และ จะกระทบกลุ่มผู้ซื้อ ผู้ใช้บริการมาก-น้อยเพียงใด
4.) ถ้าวิเคราะห์ออกมาแล้ว ตัดฟังก์ชั่นไหนไม่ได้เลย ลองไปดูที่ Packaging ว่าสามารถปรับเปลี่ยนให้ต้นทุนถูกลงได้มั้ย
5.) โปรโมทฟังก์ชั่นที่ถูกดึงออกหรือฟังก์ชั่นที่ถูกปรับเปลี่ยน โดยอาจทำการตลาดให้อินกับเทรนด์ หรือ ชีวิตประจำวัน
6.) ดูการเติบโตของยอดขาย ถ้าเวิร์ค เราจะผลิตสินค้าใหม่ออกมา เราจะพัฒนาต่อไปอย่างไร
🔔 ติดตามคลิปความรู้ดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ YouTube K SME http://kbank.co/2Kcjank
#KSME #KBankLive
โฆษณา