8 ส.ค. 2022 เวลา 00:00 • การตลาด
📍วงการป้ายยา เข้าแล้วออกยาก❗️
📢 หากเรามองตัวเองในฐานะผู้บริโภคเจอใครมา #ป้ายยา #บอกต่อของดี ก็ย่อมรู้สึก “อยากซื้อ” “อยากลอง” ให้ความสนใจแล้วไปดูรีวิวต่อว่า สิ่งที่จะซื้อนี้ดีไหม
1
Converse to Convert ขายของแบบปากต่อปาก
งั้นในฐานะเจ้าของแบรนด์ ถ้าอยากให้คนบอกต่อสินค้าเราแบบทั่วถึง ลองทำการตลาดแบบ “Converse to Convert” ดูมั้ย ?
3
ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือการทำการตลาดแบบปากต่อปาก ช่วยประหยัดงบโฆษณา กระตุ้นให้คนอยากซื้อแบบเรียลๆ
ทริค Converse to Convert
การทำการตลาดแบบ Converse to Convert 📣📣
คือ การที่แบรนด์หันมาใส่ใจ และให้ความสำคัญกับการพูดคุย บอกต่อกันแบบปากต่อปาก โดยผู้ที่เริ่มต้นการสนทนาไม่จำเป็นต้องเป็น ตัวแบรนด์ หรือ CEO ของแบรนด์
แต่เป็นสิ่งเร้าอย่างอื่น เช่น Influencer , กลุ่มคนที่ใช้สินค้าจริง , กลุ่มคนที่ได้ใช้สินค้าของเรามานานหลายปี เป็นต้น ซึ่งบุคคลดังกล่าว จะช่วยเร้าความสนใจ ทำให้เกิดบรรยากาศ ✔อยากรู้ ✔อยากลอง ✔สร้างความน่าซื้อ ✔ชวนควักเงินออกจากกระเป๋าแบบไม่ยัดเยียดได้
📈 Global Consumer Survey โดย Statista ระบุว่า 59% ของคนไทยที่ซื้อสินค้าออนไลน์เห็นด้วยว่า Consumer Reviews หรือ การรีวิวจากกลุ่มผู้บริโภคเองในโลกออนไลน์ มีประโยชน์ในแง่การช่วยพวกเขาในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
และจากข้อมูลงานศึกษาของ Global Web Index ที่ศึกษากลุ่ม Mobile Shoppers ในไทย พบว่า คนกว่า 1 ใน 3 ของนักช้อปผ่านมือถือ เห็นด้วยว่า การบอกต่อสินค้าแบบปากต่อปาก มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อของในออนไลน์
ดังนั้นหากแบรนด์หันมาใส่ใจ ขยับมามองเรื่อง Converse to Convert ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายได้
ที่มา : ลงทุนแมน
แพลตฟอร์มที่ดีในการใช้สร้าง Converse to Convert
แพลตฟอร์มที่ดีในการสร้าง Converse to Convert 🧡
คือ 📍Twitter และ 📍Facebook Group
เพราะเป็นเหมือน Hub ในการแบ่งปันความรู้ บอกต่อ #ป้ายยา ของดีน่าลอง อะไรดีก็ว่าดี อะไรว่าไม่คุ้ม ก็บอกไปตรงๆ สร้างอิมแพคให้คนรู้สึกอยากใช้อยากลอง
ไทม์ไลน์การใช้ Converse to Convert
ในช่วงเทศกาล E-Commerce เช่น 7.7 , 10.10 , Pay Day ชาว Twitter และ ชาว Facebook Group เขาคุยอะไรกันบ้าง
📍 1.Conversation starts : ก็คือช่วงก่อนถึงจุดพีคจะมาประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีบางคนที่เริ่มเปิดประเด็นขึ้นมาก่อน เช่น ทริคเก็บโค้ดลับ , บอกต่อแนะนำสินค้า แล้วบอกว่าได้มาในราคาเท่าไหร่ ช่วงเทศกาล
📍 2.Warm-up: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่เครื่องเริ่มติด โดยจะมีกลุ่มคนเริ่มมาคุยถึงประเด็นที่กล่าวไป เริ่มแชร์ประสบการณ์การใช้ว่าอันไหนน่าสนใจหรืออันไหนไม่ควรซื้อ กระตุ้นให้เกิดการกดของใส่ตะกร้า
📍 3.Event Day: วันที่ Conversation พุ่งสูงสุด ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น วันที่เทศกาล อย่างเช่น 11.11 ก็จะมีกลุ่มคนกลัวตกรถ อดได้สินค้าราคาโปรโมชัน ทำให้ต้อง ก็เลยต้องรีบตามโค้ดส่วนลดกัน
📍 4.Unboxing: ช่วงนี้คือช่วงที่คนเริ่มออกมารีวิวสิ่งที่ได้ซื้อตาม ซึ่งจะเกิดขึ้น 2-3 วันหลังจากช่วง Event Day ถ้าของดีสินค้าดี นี่คือช่วงเวลาที่คนบอกต่อๆ กัน
📍 5.After match: ช่วงกระแสเริ่มซา แต่ก็ยังมีคนมาคอยรีวิวให้ว่าชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งช่วงนี้เราจะได้ Insight จากลูกค้าจริงๆ เพราะถ้ายังมีคนพูดถึงอยู่ แปลว่าสินค้าของเรายังได้รับความสนใจ และถ้าการสนทนานี้มีการสนทนาในทางบวก แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความสนใจในทางที่ดี
ตัวอย่างการทำตลาดแบบ Converse to Convert ใน Twitter
ตัวอย่างการทำตลาดแบบ Converse to Convert ใน Twitter
ใช้เทคนิคช่วง Conversation starts และ Warm-up
แนะนำสินค้าโดยใช้ Text สั้น ๆ ใส่ประสบการณ์ หรือการมีส่วนร่วมในสินค้านั้น ๆ ลงไป บางโพสต์มีการแปะลิงก์ให้สั่งซื้อ พร้อมบอกโค้ดส่วนลด เหมือนเป็นการป้ายยาคนอ่านให้รีบตัดสินใจ
ตัวอย่างการทำตลาดแบบ Converse to Convert ใน Facebook Group
ตัวอย่างการทำตลาดแบบ Converse to Convert ใน Facebook Group
ใช้เทคนิคช่วง Unboxing และ After match
💬 แลกเปลี่ยนความรู้ บอกต่อกันปากสู่ปาก ป้ายยากันไปมา แล้วมารีวิว แกะกล่อง ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มได้เห็นข้อดี ข้อเสีย ก่อนตัดสินใจซื้อ
📍ติดตามคลิปความรู้ดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ YouTube K SME http://kbank.co/2Kcjank
#KSME #KBankLive
โฆษณา