2 ส.ค. 2022 เวลา 05:39 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ไขข้อข้องใจ “หุ้นจีน” น่าห่วงจริงหรือ
ข่าวคราวที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนหุ้นจีนเวลานี้ มี 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ การตีประเด็น “Bank Run” หรือระบบธนาคารล่มสลาย และอีกประเด็นคือความกังวลที่ยังคงวนเวียนอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ทั้ง 2 ประเด็นกำลังกดดันตลาดหุ้นจีน และนักลงทุนอาจหวาดหวั่นว่าจะกระทบความเสี่ยงต่อการลงทุนในหุ้นจีน ดังนั้น BBLAM จะมาเล่าสู่กันฟังเพื่อไขข้อข้องใจเหล่านี้
“Bank Run” จริงหรือไม่?
เรื่องของเรื่องมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ 4 แห่งในมณฑลเหอหนาน (Henan) ไม่ยอมให้ผู้ฝากถอนเงินออกมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนเกิดเหตุการณ์คนออกมาประท้วงกัน ฟังดูแล้วน่าตกใจ และสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งยังมีคำถามตามมาอีกมากมายว่า จะเกิดเหตุการณ์ระบบแบงก์ล้มกันเป็นลูกโซ่หรือเปล่า? หลายสถาบันการเงินต้องปิดตัวลงเหมือนวิกฤติปี 2540 ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่?
1
หากพิจารณาพื้นฐานกันอย่างถ่องแท้ จะพบว่าธนาคารต่างจังหวัดของจีน มีขนาดค่อนข้างเล็ก และธุรกรรมที่เชื่อมโยงกับธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ๆ ของจีนมีไม่มากนัก โดยธนาคารขนาดเล็กของจีนที่มีโอกาสเกิดปัญหาได้มีทั้งหมด 316 แห่ง แต่มีสินทรัพย์รวมกันเพียง 1% ของสินทรัพย์รวมในระบบธนาคารทั้งหมด ที่มีอยู่จำนวน 4,398 แห่ง ในกรณีนี้ถือว่าความเสี่ยงเชิงระบบ (Systemic Risk) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และโอกาสที่ผลกระทบจะลุกลามแพร่กระจายออกเป็นลูกโซ่ไปยังระบบการเงินอื่น ๆ ค่อนข้างจำกัด และไม่ถึงขั้นที่นักลงทุนต้องตื่นตระหนก
โครงการอสังหาฯ สร้างไม่เสร็จ - ผู้กู้เลิกชำระหนี้?
เรื่องนี้มีอยู่ว่าโครงการอสังหาริมทรัพย์ของจีนทั้งหมด 150 โครงการใน 63 เมือง มีการหยุดสร้างไป หรือสร้างไม่เสร็จ ทำให้ผู้ซื้อบ้านในโครงการใหม่เหล่านี้ รวมตัวกันจะไม่ผ่อนต่อ ไม่จ่ายค่างวด ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากผู้ซื้อบ้านไม่มีเงินจ่าย แต่ผู้ซื้อเห็นว่าโครงการอาจจะมีปัญหา หรือมีการคอร์รัปชันระหว่างธนาคารผู้ปล่อยกู้และผู้รับเหมา ซึ่งปัญหานี้ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตาม เพราะถ้าผู้ซื้อของโครงการอื่น ๆ รวมตัวกันไม่จ่ายเงิน จะส่งผลกระทบต่อหนี้เสีย หรือ NPL ของธนาคารได้
1
อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเฉพาะโครงการใหม่เท่านั้น ไม่ใช่โครงการอสังหาฯ ทั้งหมด โดยมูลค่าสินเชื่อในโครงการที่มีปัญหาอยู่ที่ 4 แสนล้านหยวน คิดเป็น 1% ของมูลค่าสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของจีน แต่ที่ดูว่าเป็นเรื่องใหญ่โตก็เพราะหาก NPL เพิ่มขึ้นจะกระทบกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างมากในตลาดหุ้นจีน และจะกดดันดัชนีหุ้นจีนให้ปรับตัวลง
นอกจากนี้ปัญหาหยุดการก่อสร้าง อาจกระทบไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลจีนได้เข้ามาดูแลด้วยการออกหลายมาตรการช่วยเหลือ เช่น การอัดสภาพคล่องให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ และผ่อนคลายให้ลูกหนี้ที่หยุดการชำระหนี้ไม่มีประวัติค้างชำระ
แล้ว BBLAM อยู่ตรงไหนของเรื่องนี้?
มาถึงตรงนี้ นักลงทุนอาจจะยังสงสัยว่าแล้วพอร์ตลงทุน BBLAM ในกองทุน B-CHINE-EQ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้อย่างไรบ้าง ต้องบอกเลยว่าด้วยกลยุทธ์การลงทุนที่ผู้จัดการกองทุนเลือกลงหุ้นจีนจากหลายตลาดทั่วโลก ทำให้กองทุน B-CHINE-EQ แทบไม่ได้รับผลกระทบ โดยจากข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2022 กองทุนมีสัดส่วนลงทุนกว่า 82% ในหน่วยลงทุน 5 อันดับแรกดังนี้
อันดับแรกลงทุนผ่านกองทุน Allianz China A Shares ในสัดส่วน 49.30% (วันที่ 30 มิถุนายน 2022) ซึ่งหุ้น 5 อันดับแรกที่ลงทุน ได้แก่ CONTEMPORARY AMPEREX TECHN ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก, CITIC SECURITIES CO. เป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ของจีนซึ่งในปี 2021 ได้รับรางวัลใหญ่ ๆ เช่น Best Equity House in China
และ Best Broker in China จาก FinanceAsia เป็นต้น, LONGI GREEN ENERGY TECH. ผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์รายใหญ่, KWEICHOW MOUTAI CO LTD ซึ่งเป็นผู้ผลิตสุราระดับพรีเมียมยาวนานกว่า 2,000 ปี และ SHANXI XINGHUACUN FEN WINE ผู้ผลิตเหล้าเฝิ่นจิ่ว
1
อันดับถัดมา B-CHINE-EQ ลงทุนผ่านกองทุน Allianz All China EQ สัดส่วน 25.23% ซึ่งหุ้น 5 อันดับแรกที่ลงทุน ได้แก่ TENCENT HOLDING LTD, ALIBABA GROUP HOLDING, MEITUAN ซึ่งเป็นบริษัทแอปพลิเคชันจีนใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ โดยมีบริการด้าน Food Delivery จองร้านอาหาร, JD COM INC และ INDUSTRIAL BANK CO LTD
ส่วนอันดับที่ 3-5 ผู้จัดการกองทุน B-CHINE-EQ ได้ไปลงทุนเพิ่มในหุ้น ANATA Sports Products Ltd. สัดส่วน2.83% หุ้น Tencent Holdings Ltd. สัดส่วน 2.74% และ ALIBABA GROUP HOLDINGS สัดส่วน 2.34%
1
เพราะ BBLAM เข้าใจดีว่าความกังวลจากสถานการณ์การลงทุนโลกมีมากพอแล้วในยามนี้ เราขอทำหน้าที่ตามติดทุกความเคลื่อนไหวและปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสม เพื่อให้คุณลงทุนได้อย่างสบายใจ ขณะที่ตลาดหุ้นจีนยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในระยะยาว นอกจากกองทุน B-CHINE-EQ แล้ว นักลงทุนยังสามารถเลือกลงทุนเพื่อประหยัดภาษี ผ่านกองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
สนใจข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน RMF/SSF
ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BCHINEEQ #BCHINAARMF #BCHINESSF #กองทุนรวม #ลงทุน #ลงทุนในกองทุนรวม #กองทุนลดหย่อนภาษี #ลงทุนในจีน #จีน #หุ้นจีน
โฆษณา