Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dime!
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 ส.ค. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
2 ประเทศมั่งคั่ง ที่ไม่สะสมทองคำเป็นทุนสำรองเลย
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางเกือบทุกประเทศลงทุนเก็บสะสมไว้เพื่อรองรับธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการ รวมถึงใช้รักษามูลค่าในรูปเงินตราของต่างประเทศเพื่อรักษาอำนาจซื้อของประเทศนั้น ๆ
1
2 ประเทศมั่งคั่ง ที่ไม่สะสมทองคำเป็นทุนสำรองเลย
ที่สำคัญ คือ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ในการบริหารการเงินของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก
โดยแต่ละประเทศจะมีนโยบายสะสมทองคำที่แตกต่างกัน อย่างกรณีประเทศไทยที่นำเข้าทองคำในช่วงปีที่ผ่านมา จนกลายมาเป็นประเทศที่สำรองทองคำมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก
แต่ก็ยังมีประเทศ “ส่วนน้อย” อีกกลุ่ม ที่ไม่สนใจในทองคำเลย และเลือกจะลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์มากกว่า จะเป็นใครไปดูกันเลย
แคนาดา
แคนาดาเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมี GDP กว่า 2,189 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ประชากรในประเทศมีรายได้เฉลี่ยที่ 152,000 บาทต่อเดือน
ด้วยความที่มีพื้นที่เกือบ 10 ล้าน ตร.กม. ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ทำให้แคนาดามีทรัพยากรทางธรรมชาติมากมายทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทองคำ โดยมีกำลังการผลิตทองคำสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก
1
แต่ธนาคารกลางกลับเลือกที่จะไม่ลงทุนในทองคำเลยแม้แต่ออนซ์เดียว โดยให้เหตุผลว่า “ทองคำขาดสภาพคล่อง ไม่เหมาะต่อการบริหารจัดการ มีต้นทุนในการขนส่งสูง มีความเสี่ยงในการเก็บรักษา และที่สำคัญคือเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันไม่ได้ผูกอยู่กับมาตรฐานทองคำแล้ว”
1
ทั้งนี้ ในอดีตแคนาดาเคยมีทองคำสำรองไว้สูงถึง 1,000 ตัน แต่ก็ได้เริ่มดำเนินนโยบายลดการสะสมทองคำลงตั้งแต่ปี 1980 จนกระทั่งเป็นศูนย์ในปี 2016
1
โดยสินทรัพย์ทางการเงินที่ธนาคารกลางของแคนาดาลงทุนเป็นหลักในปัจจุบัน คือ เงินตราสกุลต่างประเทศ เนื่องจากมีสภาพคล่องสูงนั่นเอง
นอร์เวย์
ประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก มีอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือ อุตสาหกรรมน้ำมันและส่งออกก๊าซธรรมชาติอันดับ 3 ของโลก รวมไปถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น
1
ทำให้คนนอร์เวย์มีรายได้เฉลี่ยถึงเดือนละ 231,000 บาท
นอกจากนี้ นอร์เวย์ก็สะสมทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีปริมาณเงินทุนทั้งสิ้น 70,287 ล้านดอลลาร์ (ไทยมีเงินทุนสำรอง 222,292 ล้านดอลลาร์)
2
โดยสินทรัพย์ทางการเงินที่นอร์เวย์เลือกลงทุนกว่า 90% เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ
1
ทั้งนี้ นอร์เวย์ไม่มีนโยบายสำรองเงินทุนระหว่างประเทศในรูปทองคำ ด้วยเหตุผลที่ว่า “ทองคำให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า” กล่าวได้ว่า ไม่ใช่ไม่มีเงินซื้อทอง แต่ของมันไม่โดนใจครับ
ประเทศอื่น ๆ
ๆนอกจากประเทศพัฒนาแล้ว 2 ประเทศข้างต้น โลกเรายังมีอีกกลุ่มประเทศที่ไม่เชื่อมั่นในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
🔸 โครเอเชีย ไม่มีทองคำสำรองเลย มีเพียงทองคำที่ตกทอดเป็นสมบัติมาจากสมัยยังเป็นประเทศเดิม คือ ยูโกสลาเวีย
🔸 อาเซอร์ไบจาน เป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบ รวมถึงส่งออกฝ้ายและทองคำเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ แต่ในพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกลับแทบไม่มีทองคำเป็นทุนสำรองเลย
1
🔸 คอสตาริกา ประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหลัก และเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยเหมืองทองเช่นกัน แต่จากข้อมูลล่าสุดพบว่าคอสตาริกาไม่มีทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเลย
1
นี่เป็นเพียงตัวอย่างประเทศที่ไม่มีนโยบายสำรองทองคำ ซึ่งเราอาจสังเกตเห็นว่าในบางประเทศแม้จะมีทองคำเป็นทรัพยากรล้ำค่า แต่รัฐบาลหรือธนาคารกลางก็เลือกที่จะไม่เก็บสะสมเป็นทุนสำรองอยู่ดี ถ้าสินทรัพย์ดังกล่าวไม่ตอบโจทย์และวัตถุประสงค์ของการลงทุน
อ้างอิง
www.nasdaq.com
tradingeconomics.com
resourceworld.com
globalgoldnews.com
www.nrcan.gc.ca
เยี่ยมชม
blockdit.com
Dime!
1.5K ผู้ติดตาม Dime! อยากให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ติดตามเราในช่องทางอื่น facebook.com/dimeinvest tiktok.com/@dime.finance
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
1
ทองคำ
เศรษฐกิจ
ทุนสำรองระหว่างประเทศ
17 บันทึก
42
3
11
17
42
3
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย