3 ส.ค. 2022 เวลา 12:47 • ความคิดเห็น
มีอะไรอยากพูดกับลูกสาวไหมคะ ?
คุณพ่อ : ก็อวยพรใหเค้าโชคดี ทำให้ดีที่สุด
แอนนา : พ่อแม่จะพูดไม่ค่อยเก่งนะคะ แต่ทุกคำพูดที่พ่อแม่พูดมา มีความหมายกับตัวแอนนาเสมอค่ะ
จากบทสัมภาษณ์ของคุณแอนนา เสืองามเอี่ยม
Miss Universe Thailand 2022 👑
ในวันนี้ที่เข้าพบ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพร้อมทั้งคุณพ่อ ซึ่งผู้ว่าฯชัชชาติกล่าวว่า คุณพ่อน้องแอนนา เป็นเพื่อนร่วมงานของเราเอง เนื่องจากเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานเก็บขนมูลฝอย อยู่สำนักงานเขตตลิ่งชัน โดยกล่าวว่า เป็นอาชีพที่ทำงานหนัก และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนกรุงเทพฯ
👑
วินาทีนี้ไม่ได้มีแค่ความสวยของเธอที่เป็นที่ประจักษ์
แต่เป็นความกตัญญูต่อบิดามารดาที่หล่อหลอม
ให้เป็นเธออย่างเช่นทุกวันนี้....❤️
  • พูดถึงเรื่องความกตัญญู
เคยอ่านบทความ บทความหนึ่งค่ะ
ยิ่งยุคสมัยเปลี่ยนไป ความคิดของแต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกันไป แน่นอนบางคนอาจจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องผิดก็ได้ แต่บางครั้งก็ต้องดูความสมเหตุสมผลในการพิจารณาเหมือนกัน..
ดังเช่นคำกล่าวของคนสมัยใหม่ (บางกลุ่ม)
ทุกคนมีความเห็นกันอย่างไรต่อความคิดของคนเหล่านี้บ้าง ? (เห็นต่างได้ไม่ผิดนะคะ)
คนสมัยนี้เลิกกตัญญูกันแล้ว ลูกเกิดจากความต้องการของพ่อแม่เพียงฝ่ายเดียว ลูกไม่ได้เป็นคนขอเกิดมา
💬
เมื่อคุณสร้างเขาขึ้นมาแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบในการดูแลลูก ถือว่าไม่ได้มีบุญคุณต่อกัน
ส่วนตัวยอมรับว่าพอได้ยินแบบนี้ ตกใจค่ะ!! 😱
ความคิดแบบนี้สุดโต่งเกินไปมั้ย ??
💬 ... อยากฟังมุมมองของแต่ละคนค่ะ
ว่าคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไร ❓❓❓
ทีนี้ก็มีพระท่านได้ให้มุมมองในเรื่องนี้
ได้แก่ พระมหาทรงศักดิ์ จิรสุโภ จากวัดปากน้ำนนทบุรี 
ท่านได้ให้มุมมองเชิงเหตุผลเอาไว้ว่า
  • ก่อนอื่นให้ทำจิตใจให้อยู่บนพื้นฐานของการมีสามัญสำนึกในความเป็นมนุษย์ คิดอย่างมีสติ และตอบคำถามตามความรู้สึกตัวเองจริงๆ
  • เริ่มจากคำว่า เป็นความต้องการของพ่อแม่ ที่ทำให้ลูกเกิด ดังเช่นสัตว์เดรัจฉานทั่วๆไป ถ้าเรามองแค่มุมนี้ เราก็จะได้คำตอบแค่มุมมองเดียว ว่าพ่อแม่ต้องการทำให้เราเกิดมานี่ ก็ต้องรับผิดชอบดูแลเราไป เราไม่ได้ขอเกิด ไม่ใช่บุญคุณที่ต้องทดแทน
พระท่านว่า การมองแค่มุมเดียว เป็นความคิดที่คับแคบเกินไปหรือไม่ ❓
  • แต่หากเรามองอีกมุมหนึ่ง เมื่อพ่อแม่ที่รู้ว่าเราได้กำเนิดขึ้นในครรภ์ พ่อแม่ตั้งใจทำอะไรให้เราบ้าง แม่ที่อุ้มท้องเรามาถึง 9 เดือน รอที่จะเห็นหน้าเราแบบใจจดใจจ่อ หากคิดแบบนี้ พอจะได้คำตอบหรือไม่ ?
  • "ความกตัญญู" ไม่ใช่การตอบแทนที่ลูกเกิดจากผลผลิตของพ่อแม่ แต่เป็นการตอบแทนต่อพ่อแม่ที่เป็นผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างต่อลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข เลี้ยงดู ทะนุถนอมมาตั้งแต่ทราบว่าลูกได้เกิดมา มีแต่ความห่วงใย ความปรารถนาดีที่มีต่อลูก ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะแก่เฒ่าลงไปแค่ไหน ความรู้สึกแบบนี้ก็ไม่มีวันหายไป
  • แน่นอนว่า พออ่านถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่า ไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่เป็นแบบนี้ มีพ่อแม่มากมายในสมัยนี้ที่ทิ้งขว้างลูก บางคนไม่ได้เลี้ยงเลย บางคนอยากได้แต่เงินจากลูก
  • พระท่านให้มุมมองว่า สิ่งเหล่านั้น เป็นปัญหาของพ่อแม่ แต่การที่เราไม่รู้สึกอยากกตัญญูรู้คุณใคร นั่นคือเป็นปัญหาของเรา เพราะคนเราย่อมมีทั้งดีและไม่ดี พ่อแม่อาจจะไม่ดี แต่เราเองสามารถเป็นคนดีได้
พระท่านได้กล่าวเสริมอีกว่า...
  • ความจริงแล้วเรื่อง " ความกตัญญู " ไม่จำเป็นต้องเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาเสมอไป เพราะเป็นเรื่องของสามัญสำนึก เป็นเรื่องของความรู้สึก เหมือนความรัก ที่ไม่ต้องมีใครสอน
  • ดังนั้นไม่ว่าใครจะนับถือศาสนาใดก็ตาม หรือแม้กระทั่งไม่นับถือศาสนา "ความกตัญญู " ถือเป็นคุณสมบัติแห่งความเป็นมนุษย์ เป็นสามัญสำนึกพื้นฐานที่มนุษย์ควรมี เป็นเนื้อในของมนุษย์ทุกคน
  • และไม่ใช่แค่มีความกตัญญูต่อบิดามารดา แต่หมายรวมไปถึงผู้ที่มีพระคุณต่อเราทั้งหมดด้วย
  • ส่วนคำพูดที่ว่า คนที่กตัญญูต่อพ่อแม่ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ มักจะมีแต่ความเจริญ ตรงนี้เป็นคำกล่าวอุปมาอุปไมย ถ้ามองด้วยเหตุผล ก็มีความเป็นไปได้มากอยู่แล้ว ที่บุคคลที่กตัญญูย่อมเป็นที่รักแก่คนทั่วไป ใครๆก็อยากคบหา เป็นบุคคลน่ายกย่อง เพราะเชื่อในความดีในตัวคนๆนั้นนั่นเอง..
สุดท้ายพระท่านฝากไว้ว่า
  • ความกตัญญูเป็นคุณสมบัติแห่งความเป็นมนุษย์ และมนุษย์ ก็คือผู้มีจิตใจสูง ถ้าใครสูญเสียคุณสมบัตินี้ก็ไม่เรียกว่ามนุษย์
  • ใช้คำว่าสัตว์ในร่างมนุษย์ก็อาจยังสูงไป ไม่ยุติธรรมแก่สัตว์บางตัวที่มีใจสูงกว่า”
🙏 ธรรมะสวัสดีก่อนนอน
ส่วนใครเห็นต่างอย่างไร ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนนะคะ มาแชร์ความคิดเห็นกันได้ค่ะ
ฝันดีนะคะ แฮร่ 🐯
👑 อ้างอิงบทความและรูปภาพ :
  • สำนักข่าว Reporters
  • บทความใน สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โฆษณา