3 ส.ค. 2022 เวลา 23:56 • สุขภาพ
มารู้จัก Monkeypox หรือโรคฝีดาษวานรกันค่ะ
เอาแบบประชาชนเข้าใจง่ายๆ
หมอเอาไปใช้ได้จริงๆ ในเบื้องต้น
Monkeypox หรือ ฝีดาษวานร
  • เชื้อสาเหตุคือ Monkeypox virus ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่ม Orthopoxvirus genus,family Poxviridae
1
  • โรคฝีดาษวานรเป็นโรคที่อาการไม่รุนแรง (แต่ผื่นอย่างสยอง ถ้าป่วยต้องกักตัวนาน) หายเองได้ แต่จะมี อาการที่รุนแรงได้ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและเด็กเล็ก (หมอเด็กปาดเหงื่อ ไม่อยากเจอค่ะ)โดยมีอัตราการตายต่ำกว่าร้อยละ 5
  • ระยะเวลาที่มีอาการของโรคประมาณ 2-4 สัปดาห์ (นั่นไง ถ้าป่วยกักตัวกันแบบยาวๆเลยค่ะ 😭😭😭)
  • เนื่องจากโรคฝีดาษวานร เพิ่งมีรายงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จึงต้องรับผู้ป่วยกักตัวไว้ในโรงพยาบาลทุกราย
  • ล่าสุดรายงานถึงวันที่ 3/8/65 มีรายงานเคสในไทยทั้งหมด 3 ราย ทั้งสามรายเป็นชาย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย ส่วนอีกรายเป็นชายไทยสัมผัสใกล้ชิดชายชาวต่างชาติ
  • ระยะฟักตัว 7-21 วัน
  • อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมักเริ่มต้นด้วยอาการไข้ และผื่น จะเริ่มจากตุ่มแดงประมาณ 5-7 วันหลังรับเชื้อ และตุ่มจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และแห้งเป็นสะเก็ด ตุ่มมีจำนวนมากน้อยตามความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของผู้ป่วย รวมระยะเวลาป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์(ผื่นยุบแห้ง ตกสะเก็ดคือหายค่ะ)
  • การแพร่กระจายของเชื้อและการติดต่อ ส่วนใหญ่โดยการสัมผัสผื่นผู้ป่วยโดยตรงในระยะแพร่เชื้อ (ผื่นยังไม่แห้งตกสะเก็ด) หรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยยืนยัน อาจมีการติดต่อทางละออกฝอยได้โดยเฉพาะหากมีการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก (เป็น contract transmission&droplet transmission ค่ะ)
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเป็นกลุ่มชายรักชาย
  • ผู้ป่วยสงสัย (suspected case)
คือ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
  • 1.
    ไข้ อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส หรือมีประวัติไข้ ร่วมกับอาการอย่างน้อย หนึ่งอย่างต่อไปนี้ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลังต่อน้ำเหลืองบวมโต หรือ
2. มีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด โดยเป็นตุ่มระยะเดียวกัน พร้อมกันทั้งตัว
1
ซึ่งตรงนี้จะต่างกับสุกใสนะคะ สุกใสจะเจอผื่นหลายระยะในเวลาพร้อมกัน (all stages of development at the same time)
1
หรือเป็นผื่นที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบปกติ
http://www.bccdc.ca/health-professionals/clinical-resources/monkeypox#clinical
ร่วมกับ มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา (epidemiological linkage)
ภายในเวลา 21 วันที่ผ่านมา หนึ่งข้อดังต่อไปนี้
  • 1.
    มีประวัติการสัมผัสโรคที่ทำให้แพทย์วินิจฉัยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ
  • 2.
    มีประวัติเดินทางจากต่างประเทศ/เข้าร่วมงานหรือกิจกรรมที่เคยมีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรหรือมีอาชีพที่ต้องสงสัยคลุกคลีกับผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือ
  • 3.
    มีประวัติสัมผัสสัตว์ฟันแทะ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่นำเข้าจากถิ่นระบาดเช่น ทวีปอาฟริกา
  • ผู้ป่วยยืนยัน (confirmed case)
คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ จากเทคนิคการตรวจข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  • 1.
    พบสารพันธุกรรม Monkeypox virus (MPXV) ด้วยวิธี Real-time PCR
  • 2.
    พบสารพันธุกรรม Monkeypox virus (MPXV) ด้วยวิธี DNA sequencing
  • 3.
    พบเชื้อ Monkeypox virus ด้วยการเพาะเชื้อ (virus isolation)
  • การรักษาผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร
องค์ความรู้เรื่องการป้องกันโรคและยาที่ใช้รักษายังมีจำกัด แนะนำให้ admit ทุกรายในโรงพยาบาล เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายโรคและเพื่อการติดตามอาการ
  • การรักษาตามอาการ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย
  • การรักษาจำเพาะ ยาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อ อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย ในต่างประเทศ ในรายที่รุนแรง มีการใช้ยา tercovirimat (TPOXX) ซึ่งมีรายงานการใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และกลุ่มประเทศในยุโรป
1
  • ผู้ป่วยจะถูกแยกกักนานประมาณ 21 วัน หรือจนพ้นระยะแพร่เชื้อนั่นคือ รอยโรคตกสะเก็ดและหลุด ผิวหนังเป็นปกติข้างใต้ทุกรอย
รายงานเคสล่าสุดของไทย เป็นชายชาวต่างชาติ กลับมาจากต่างประเทศตอนนี้ผู้สัมผัสใกล้ชิดเฝ้าระวังเจ็ดคน หนึ่งในนั้นคือภรรยา …
เรื่องบางเรื่องทีละคนก็ดีนะคะ จะเพศไหนก็ทีละคนเถอะค่ะ
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา