Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
5 ส.ค. 2022 เวลา 01:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#เป็นมะเร็งเต้านมเมื่อไรที่ต้องตัดนมทิ้ง
สวัสดีครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
มีเรื่องมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม
ให้ทุกคนได้ฟังกันนะครับ
การรักษาโรคมะเร็งเต้านมประกอบด้วยการรักษา2ชนิดใหญ่ๆที่ต้องทำควบคู่กันคือ
1.การควบคุมรอยโรคมะเร็งเต้านมเฉพาะที่ (REGIONAL CONTROL) ประกอบไปด้วย
-การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม (SURGERY)
-การฉายแสงรังสีรักษา (RADIOTHERAPY)
2.การควบคุมการกระจายของเซลล์มะเร็งเต้านมไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย (SYSTEMIC CONTROL) ที่ประกอบไปด้วย
-การให้ยากลุ่มเคมีบำบัด (CHEMOTHERAPY)
-การให้ยาต้านฮอร์โมน (HORMONAL THERAPY)
-การให้ยาต้านยีน HER-2 (ANTI HER-2 THERAPY)
โดยวันนี้เราจะมาเจาะลึกกันถึงการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมกัน
สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเตานมนั้น
ปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดรักษาอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
1.การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (BREAST CONSERVATIVE SURGERY)
2.การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งเต้า (TOTAL MASTECTOMY)
สำหรับการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมเป็นอย่างไร
ไปตามอ่านกันได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้เลย
https://www.blockdit.com/posts/62ce9cc9364bb956c79081f3
การผ่าตัดแบบตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด (TOTAL MASTECTOMY)
คือการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกพร้อมเต้านมทั้งเต้าข้างที่เป็นมะเร็ง
ข้อดีคือ สามารถตัดมะเร็งออกได้หมดและลดโดกาสการเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ
ข้อเสียคือ ไม่มีเต้านมทำให้เกิดการเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิต
โดยข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเอาเต้านมทั้งหมดออกมี 4 ข้อด้วยกัน คือ
1.ไม่สามารถผ่าตัดรักษาให้หายด้วยการผ่าตัดแบบการสงวนเต้านมได้
1.1ก้อนใหญ่เมื่อเทียบกับปริมาตรเต้านมทำให้ไม่สามารถผ่าก้อนมะเร็งออกได้หมดด้วยการสงวนเต้านม (LARGE TUMOR SIZE IN RELATION TO BREAST SIZE)
1.2.มีปัญหามะเร็งเต้านมเกิดขึ้นหลายจุด ในเต้าเดียวกัน (MULTICENTRIC CANCER)
1.3มีหินปูนที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมกระจายอยู่ทั่วเต้า (DIFFUSED SUSPICIOUS CALCIFICATION)
1.4ผ่าตัดแบบสงวนเต้านมแล้วหลายครั้งก็ยังเหลือมะเร็งอยู่ (PERSISTENT POSITIVE RESECTION MARGIN)
2.ผู้ป่วยไม่สามารถรับรังสีรักษาหลายการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้
3.ความต้องการของผู้ป่วยเอง
4.ผู้ป่วยมียีนที่เสี่ยงสูงในการก่อเกิดมะเร็งเต้านม จึงต้องทำการผ่าตัดเต้านมออกเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม
การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด (TOTALMASTECTOMY) มีวิธีการตัดด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ คือ
1.การผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองรักแร้และกล้ามเนื้อทรวงอกออก (RADICAL MASTECTOMY) เป็นวิธีการผ่าตัดแบบเก่าที่ตัดเอาเนื้อเต้านม กล้ามเนื้อทรวงอก และต่อมน้ำเหลืองรักแร้อกทั้งหมด ส่งผลให้ภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างสูง ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทำแล้ว
2.การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมดและเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออก (MODIFIED RADICAL MASTECTOMY) วิธีนี้เป็นการผ่าตัดเอาออกเฉพาะเต้านมและต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออก ไม่ได้ตัดกล้ามเนื้อทรวงอก มักใช้ผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม
3.การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมดอย่างเดียว (SIMPLE MASTECTOMY) มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล (ต่อมน้ำเหลืองที่มีหน้าที่เหมือนยามคอยดักจับมะเร็ง) เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ทำให้สามารถตรวจเจอโรคมะเร็งเต้านมได้ในระยะที่ไวมากขึ้น
4.การผ่าตัดเอาเฉพาะเนื้อเต้านมออกโดยเหลือผิวหนังไว้ (SKIN SPARING MASTECTOMY) วิธีนี้มักใช้ร่วมกับการเสริมสร้างเต้านมด้วยถุงซิลิโคนเต้านมหรือกล้ามเนื้อหลัง
5.การผ่าตัดเอาเนื้อเต้านมออกโดยยังคงเหลือผิวหนังและหัวนมไว้ (NIPPLE SPARING MASTECTOMY) เป็นการผ่าตัดเอาเนื้อเต้านมออก แต่ยังคงเก็บหัวนม และผิวหนังไว้เพื่อการเสริมสร้างเต้านมต่อภายหลัง
การผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษามะเร็งเต้านมจะได้ผลดีถ้าผู้ป่วยมาตรวจไวและสามารถเจอมะเร็งเต้านมได้ในระยะก่อนลุกลาม
เพราะ ผู้หญิงทุกๆ1คนจาก8คนจะเป็นมะเร็งเต้านม
แล้ววันนี้คุณได้ตรวจเต้านมหรือยังครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
ไลฟ์สไตล์
สุขภาพ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าเรื่องมะเร็งเต้านม
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย