4 ส.ค. 2022 เวลา 02:55 • หนังสือ
อธิบาย "ดันนิ่ง-ครูเกอร์เอฟเฟกต์" แบบพระยาอนุมานราชธน (อันเดียวกับที่ อ.ชัชชาติว่า หุบเขาคนโง่)
ธรรมดาเรื่องความรู้ ถ้าแรกเรียนรู้ก็นึกว่ารู้ แต่เมื่อเรียนต่อๆ ไปในเรื่องที่คิดว่ารู้แล้ว ก็จะปรากฏเป็นความจริงขึ้นอย่างหนึ่งว่า ยังไม่รู้ เพราะเมื่อแรกรู้นั้นความคิดยังอยู่ในวงจำกัด ต่อเมื่อเรียนไปๆ ความคิดก็ขยายตัวกว้างออกไปทุกที
จนกว่าจะลุถึงขั้นความจริงอันเป็นที่สุด คือ ปรมัตถธรรม
เหตุนี้การเรียนรู้จึงมีเป็น 3 ระยะ ระะยะแรก เมื่อแรกรู้ก็พูดได้มาก และมีความเห็นลงรอยกันระหว่างผู้ที่เรียนรู้ เพราะต่างท่องจำกันมา ระยะที่สอง เมื่อรู้สูงขึ้นไปก็พูดน้อย และมีความเห็นระหว่างผู้ที่รู้ไม่สู้ลงรอยกันทีเดียว เพราะได้ผ่านพ้นความรู้อันเป็นรูปธรรมเข้าเขตความรู้อันเป็นนามธรรมอยู่กลายๆ
ความเห็นจึงไม่สู้ลงรอยกันเป็นเรื่องธรรมดา
ระยะที่สาม เมื่อรู้สูงสุดถึงขึ้นปรมัตถ์แล้ว ก้กลายเป็นพวกวิชาธร เหม็นสาบมนุษย์ ไม่อยากพูดเอาเสียเลย
- พระยาอนุมานราชธน, หนังสือ ศาสนาเปรียบเทียบ
โฆษณา