4 ส.ค. 2022 เวลา 04:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมเราถึงไม่ไปอยู่ดาวศุกร์?
หากเทียบระยะทางจากโลกไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะแล้ว ดาวศุกร์ถือว่าใกล้โลกของเรามากที่สุดประมาณ 41 ล้านกม. ในขณะที่ดาวอังคารห่างออกไปถึง 167 ล้านกม. หรือใกล้กว่าถึง 1 ใน 4 แต่ทำไมเราถึงสนใจดาวอังคารมากกว่าดาวศุกร์?
เทียบขนาด ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Planet_size_comparisons_%E2%80%93_Venus,_Earth,_Mars.JPG
จริงอยู่ที่แม้ว่าดาวศุกร์จะมีขนาดที่ใกล้เคียงกับโลก มีแรงโน้มถ่วงที่ไม่ต่างกับเรามาก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ดาวศุกร์เป็นที่น่าสนใจในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เพราะดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
ดาวศุกร์นั้นแม้จะได้ชื่อว่าเป็นแฝดของโลก แต่ที่จริงแล้วเป็นแฝดนรก ดาวศุกร์นั้นถูกปกคลุมด้วยบรรยากาศที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 96% ซึ่งก๊าซดังกล่าวเป็นก๊าซเรือนกระจก นั่นทำให้ดาวศุกร์มีอุณหภูมิที่พื้นผิวสูงถึง 464 องศาเซลเซียส มากพอที่จะหลอมละลายตะกั่วให้เป็นน้ำ มีเมฆที่มีส่วนประกอบของกรดซัลฟิวริก อีกทั้งยังมีความดันบรรยากาศมากกว่าโลกเราถึง 90 เท่า ซึ่งสามารถบดขยี้เราได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนั้นแล้ว หากเราย้อนเวลาไปยังทศวรรษ 1975-1986 สหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) เคยส่งยาน Venera ไปลงจอดยังพื้นผิวดาวศุกร์ และได้ถ่ายภาพของพื้นผิวดาวกลับมา รวมทั้งบันทึกเสียงบรรยากาศของดาว และจากไปอย่างสงบหลังอยู่บนผิวดาวได้เพียง 57 นาที
ภาพถ่ายพื้นผิวดาวศุกร์ ที่มา: https://www.planetary.org/space-images/venus-surface-panorama-from-venera-14-camera-2
เสียงของดาวศุกร์
ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวไป ทำให้นักวิทยาศาสตร์เลิกสนใจดาวศุกร์และหันไปโฟกัสที่ดาวอังคารแทน เพราะแม้ว่ามันจะไกลกว่า เล็กกว่า หนาวกว่า แต่ก็มีศักยภาพมากพอที่มนุษย์น่าจะไปดำรงชีพอยู่ได้
ที่มา: The Martian (2015)
โฆษณา