4 ส.ค. 2022 เวลา 11:17 • การศึกษา
พื้นที่อากาศและจราจรทางอากาศ
(Airspaces with Air traffic)
พื้นที่อากาศและการจราจรทางอากาศ มีความสัมพันธ์ต่อกัน การกำหนดพื้นที่อากาศนั้นมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวหลายกรณี เช่น ภารกิจที่จะใช้ ขนาด ห้วงเวลา หน่วยที่รับผิดชอบ รวมไปถึงการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่จะเข้า-ออก และยังได้กำหนดประเภทของพื้นที่อากาศ เพื่อจำกัดให้อากาศยานที่ปฏิบัติตามกฎการบินที่มองเห็นด้วยสายตา (Visual Flight Rules--VFR) และ การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน Instrument Flight Rules--IFR)
ได้กำหนดไว้ในเอกสารแถลงข่าวสารการบิน (Aeronautical Information Publication Thailand—AIP Thailand) ประกอบด้วยพื้นที่อากาศที่ได้รับการควบคุมจราจราทางอากาศบริเวณสนามบิน พื้นที่อากาศควบคุมจราจรทางอากาศประชิดสนามบิน พื้นที่อากาศควบคุมจราจรทางอากาศในเส้นทางบิน
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อากาศที่กำหนดเป็นพื้นที่จำกัดในการใช้เฉพาะภารกิจที่กำหนด (Airspace Restrictions) ประกอบด้วย พื้นอันตราย (Danger Area) เป็นพื้นที่อากาศที่กำหนดไว้สำหรับฝึกบินหรือใช้ในภารกิจของราชการเป็นการเฉพาะพื้นที่อากาศที่จำกัด (Restricted area) จะกำหนดห้ามอากาศยาน อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องบินผ่านหรือเข้า-ออก
พื้นที่อากาศที่ห้ามเข้าเด็ดขาด (Prohibited area) ซึ่งจะเป็นพื้นที่อากาศที่กำหนดไว้ใช้ในการใช้อาวุธจากอากาศยานสู่พื้นดิน หรือพื้นดินสู่อากาศ
นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้วยังมีพื้นที่อากาศที่สำรอง (reservations) เพื่อเตรียมไว้ใช้ในภารกิจอื่นๆ เมื่อมีความจำเป็นและยังมีพื้นอากาศที่ไม่ได้กำหนดเป็นพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นได้แก่พื้นที่อากาศที่ไม่มีการควบคุมจราจรทางอากาศ (uncontrolled airspaces) จะได้รับการบริการข่าวสารการบินที่เป็นประโยชน์ต่อการบินและการบริการช่วยเหลือและกู้ภัย (flight information service and alerting service) ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ได้กำหนดให้มีหน่วยศูนย์บริการข่าวสารการบิน (Flight Information Centre--FIC) เพื่อให้บริการข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการบินและช่วยเหลือเมื่อประสบภัย เอกสารแถลงข่าวสารการบิน (Aeronautical Information Publication Thailand—AIP Thailand) ได้ประกาศการใช้พื้นที่อากาศบางพื้นที่ไว้ ตลอด 24 ชั่วโมง หรือระหว่างดวงอาทิตย์ถึงดวงอาทิตย์ตก(sunrise to sunset)
บางสนามบินที่มีการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณ ณ สนามบิน (controlled aerodrome) หรือเส้นทางบิน (ATS En-route) ที่มีอากาศยาน ขึ้น-ลง
หรือผ่านเส้นทาง เพียงวันละ 1 เครื่อง
รวมไปถึงพื้นที่อากาศที่กำหนดเป็นพื้นที่จำกัดในการใช้เฉพาะภารกิจที่กำหนด (airspace restrictions) ก็เช่นเดียวกัน
ปัจจุบัน เที่ยวบินมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ห้วงอากาศที่มีพื้นที่จำกัดมีสภาพจราจรหนาแน่น ดังนั้น การบริหารห้วงอากาศ จึงเป็นแนวคิดที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการบริหารจัดการพื้นที่ในห้วงอากาศให้ถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสมกับประเภทและชนิดของผู้ใช้ห้วงอากาศ การบริหารห้วงอากาศ เป็นการจัดทำโครงสร้างในแต่ละด้านให้เหมาะสมกับปริมาณจราจรทางอากาศตามช่วงเวลา
อาทิ การปรับโครงสร้างเส้นทางบิน การปรับโครงสร้างห้วงอากาศ และการปรับโครงสร้างพื้นที่ให้บริการ มีการดำเนินการได้หลายวิธี ดังนี้
1. การสร้างเส้นทางบินแบบ Area Navigation (RNAV) โดยใช้เทคโนโลยีด้านการบินแบบ PBN (Performance Based Navigation) เพื่อสร้างเส้นทางบินคู่ขนาน (ลดระยะห่างระหว่างเส้นทางบิน) และเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณเที่ยวบิน (ลดระยะต่อของกาศยานบนเส้นทางบิน) และการจัดการจราจรแบบทางเดียว (Uni-Directional) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยสำหรับอากาศยานที่บินสวนทางกัน และลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศและนักบิน
2. การบริหารและจัดแบ่งพื้นที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Sector design and Configuration) ให้เหมาะสมกับสภาพจราจรทางอากาศในแต่ละช่วงเวลา
3. การใช้ห้วงอากาศแบบคล่องตัว (Flexible Use of Airspace: FUA) และใช้เส้นทางบินแบบมีเงื่อนไข (Conditional Route: CDR) เพื่อให้ห้วงอากาศมีความยืดหยุ่น มีการแบ่งช่วงเวลาการใช้งานระหว่างพื้นที่ทหาร-พลเรือนอย่างเหมาะสม สำหรับประเทศไทยมีการจัดทำความร่วมมือดังกล่าวระหว่างทหาร-พลเรือน ภายใต้ชื่อศูนย์ประสานงานบริหารจราจรทางอากาศระหว่างทหารและพลเรือน (Thai Civil/Military ATM Coordination Centre: Thai-CMAC
การใช้พื้นที่อากาศกับจราจรทางอากาศแบบบูรณาการโดยการใช้พื้นที่อากาศร่วมกัน ในกรณีที่หน่วยรับผิดชอบพื้นที่อากาศนั้นๆ หมดความจำเป็นที่จะใช้ในห้วงระยะเวลาใดก็ตาม ให้มอบพื้นที่อากาศให้กับหน่วยที่มีความต้องการใช้พื้นที่อากาศ โดยเฉพาะ
ภารกิจการควบคุมจราจรทางอากาศ มีความจำเป็นต้องการพื้นที่อากาศสูง จะก่อให้สภาพคล่องในการเดินอากาศและก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการบินมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว
ขอบคุณข้อมูล : Aerothai
เรียบเรียงโดย #เด็กการบิน
โฆษณา