5 ส.ค. 2022 เวลา 08:08 • ข่าวรอบโลก
บทวิเคราะห์ “จีนไม่ใช่รัสเซีย และ ไต้หวันไม่ใช่ยูเครน”
By Tiejun Zhang
Tiejun Zhang is an IR professor at the Shanghai Global Institute, American Council on International Education Exchanges (CIEE).
ภาพฉายความแตกต่างของยูเครนและไต้หวัน
การรุกรานยูเครนของรัสเซียได้จุดชนวนคำถาม แล้วผลกระทบระหว่างจีนและไต้หวันจะลงเอยเช่นไร !!!
หนึ่งในประเด็นที่เด่นชัดที่สุด คือ คำพูดที่หนักแน่นของจีน เรื่อง เป้าหมายการรวมชาติกับไต้หวันให้เป็นจีนเดียว หรือ “มาตุภูมิเดียวกัน” จีนจะต้องคิดให้จริงจังและหนักแน่นมากขึ้น ก่อนที่จะทำสงครามรวมชาติกับไต้หวัน ความเสี่ยงที่ปักกิ่งจะไปถึงตรงจุดนั้นได้
ณ ตอนนี้ ยังไม่มีน้ำหนักมากเพียงพอ แม้จะมีบทเรียนจากสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ก็ไม่ได้หมายความว่า ประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยเสมอไป เพื่อให้ภาพชัดเจนมากขึ้น เราต้องมองภาพฉายทั้ง 2 ด้าน คือ จีนกับรัสเซีย และ ไต้หวันกับยูเครน ให้กระจ่างชัดก่อน
1. จีนไม่ใช่รัสเซีย
ทั้งจีนและรัสเซีย มีลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ ที่ไม่เหมือนกัน
ประการแรก ความสามารถและศักยภาพทางเศรษฐกิจและการทหารของทั้งสองประเทศนั้น แตกต่างกันมาก
ในด้านเศรษฐกิจแล้ว จีนมี GDP ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ในปี 2564 มี GDP อยู่ที่ร้อยละ 75.92 ($17,458,036 M) ของ GDP ของสหรัฐอเมริกา ($22,996,100 M) ส่วน GDP ของรัสเซียอยู่ที่ร้อยละ 7.72 ($1,775,548 M) ของ GDP ของสหรัฐอเมริกา ($22,996,100 M) ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตของเศรษฐกิจของจีน ยั่งยืนกว่าของรัสเซียมาก
ด้วยเหตุผลง่าย ๆ คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน หลายทศวรรษของจีนนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาที่ครอบคลุมในหลากหลายภาคส่วน เช่น การเกษตร, การผลิตที่ใช้แรงงานมาก, อุตสาหกรรมไฮเทค ฯลฯ
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่จีนเป็น "โรงงานของโลก" และความต้องการนำเข้าวัตถุดิบจำนวนมาก ทำให้จีนเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจโลกได้ดีกว่ารัสเซีย ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัสเซีย ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน เช่น โครงการท่อส่งแก๊ส Nord Stream ที่เชื่อมต่อพลังงานของรัสเซียเข้ากันกับยุโรป
2
ในด้านการทหาร รัสเซียมีคลังอาวุธนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีหัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด 5,977 ลูก มากกว่าสหรัฐฯ 550 ลูก และทั้งสองประเทศนี้รวมกัน มีหัวรบนิวเคลียร์มากกว่า 90% ของทั้งโลก ทำให้รัสเซียสามารถแสดงแสนยานุภาพทางทหารได้เหนือกว่ายูเครนมาก กองทัพของจีนนั้น อาวุธนิวเคลียร์อยู่ในช่วงเริ่มการขยายตัว แม้จะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังล้าหลังกว่าสหรัฐฯ หลายสิบปี และจีนเพิ่งเริ่มนโยบาย ปรับปรุงกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ของตนให้ทันสมัย
เมื่อเปรียบเทียบไต้หวันกับยูเครนแล้ว ไต้หวันเป็นเป้าหมายที่ซับซ้อนและยุ่งยากมากกว่า สำหรับการบุกรุกของจีน แม้ว่าจีนจะได้เปรียบในการวางขีปนาวุธ จำนวนมากตามแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะส่วนที่แคบที่สุดของช่องแคบไต้หวัน ที่มีความกว้างน้อยกว่า 100 ไมล์
และถึงแม้ว่า จะไม่มีการแทรกแซงทางทหารโดยตรงจากสหรัฐฯ (ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าโอกาสเช่นนั้น จะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อย ณ เวลานี้) แต่ก็คงไม่ง่าย หากจีนคิดเข้าครอบครอง เข้ายึดครองไต้หวัน เนื่องจากอาวุธขั้นสูงจำนวนมากไต้หวันมีการนำเข้าจากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
หากบริบทของสงครามช่องแคบไต้หวันเกิดขึ้นจริง ด้วยความเชื่อมโยงทาง
เศรษฐกิจโลกของจีน จะกลายเป็นดาบสองคมสำหรับจีนมากกว่า ปัจจุบันจีนเป็นประเทศการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยพิจารณาจากการนำเข้าและส่งออกรวมกัน จีนทำการค้ากับสหรัฐฯ และพันธมิตรหลัก ของสหรัฐฯ ไว้มาก ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ประการหนึ่งที่ส่งเสริม การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน การพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งนี้ ทำให้เกิดความเปราะบางต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้ หากเกิดวิกฤตในสถานการณ์ที่จีน ได้ใช้กำลังเพื่อบรรลุเป้าหมาย การรวมชาติกับไต้หวัน พันธมิตรสหรัฐฯ และอเมริกา จะคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อจีน ทำให้ประเทศจีนจะประสบกับ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ซึ่งจะมีผลกระทบทางสังคม การเมือง และทางทหารอย่างลึกซึ้ง
แตกต่างกับกรณีของรัสเซีย ซึ่งไม่มีกังวลอะไรเลยกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หากเกิดเหตุพิพาทต่อความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เพราะประเทศกลุ่มนี้ ยังคงต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเป็นอย่างมาก
การรุกรานยูเครนของรัสเซียนั้น เกิดจากสาเหตุความกังวลของ ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ในการรักษาความปลอดภัยให้กับหน้าบ้านตัวเอง เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า การขยายตัวทางทิศตะวันออกของกลุ่มประเทศ NATO รัสเซียตระหนักรู้ว่าเป็นเรื่อง ความเร่งด่วนที่ต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ หากยูเครนและประเทศอื่นๆ จะเข้าร่วม NATO ในกรณีนี้ สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ของรัสเซีย ย่อมจะไม่ปลอดภัย และมอสโกรู้ว่าไม่มีเวลารออีกแล้ว
สำหรับจีนนั้น ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของจีน ยังคงสามารถรักษาสภาพแวดล้อมที่สงบสุข ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ “ความฝันของจีน” ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีความมุ่งมั่นเรื่อง “ความฝันของจีน” หรือ “การฟื้นฟูชาติจีน” โดยการทำให้จีนเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก การเร่งเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อการขยายลัทธิล่าอาณานิคม แต่เป็นการทำให้บรรลุภารกิจ การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อย่างสมบูรณ์แบบ
ดังนั้น ตรรกะของจีน ก็คือ ถ้าจีนสามารถรออีกหลายร้อยปี เพื่อทวงคืนสถานที่ ที่ถูกต้อง ที่ควรกลับมาเป็นของจีนได้ (โดยอ้างถึงเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของจีนเมื่อในอดีต "ศตวรรษแห่งความอัปยศอดสู") เหตุใดจีนถึงจะไม่รออีกหลายทศวรรษหรือมากกว่านั้นเล่า
2.ไต้หวันไม่ใช่ยูเครน
การเปรียบเทียบข้อมูลประชากร ระหว่างไต้หวันกับยูเครน ยูเครนมีประชากร 48 ล้านคน โดยประมาณ 77 เปอร์เซ็นต์มีเชื้อชาติยูเครน และ 23 เปอร์เซ็นต์มีเชื้อชาติรัสเซีย ประชากรของไต้หวันประมาณครึ่งหนึ่ง (เกือบ 24 ล้านคน) กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็นชาวจีนฮั่นและน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เป็นชนพื้นเมือง ถ้าดูตามหลักประชากรศาสตร์แล้ว อาจจะทึกทักได้ว่าจีนน่าจะรวมตัวกับไต้หวัน ได้ง่ายกว่ารัสเซียจะได้ดินแดนยูเครน แต่ความจริงแล้ว มันไม่ง่ายเช่นนั้นเลย !!!
ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 มาแล้ว
ที่รัฐบาลจีนได้พยายามกระตือรือร้น ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม สังคม และเครือญาติ ระหว่างคนจีนแผ่นดินใหญ่กับคนไต้หวัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ปรับความเข้าใจทางวัฒนธรรมใหม่ ส่งเสริมการสื่อสารทางวัฒนธรรมและสังคมให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอกย้ำความเป็น “มาตุภูมิเดียวกัน” เมื่อครั้งในอดีต และคาดหวังว่าคนไต้หวันจะเติบโต ด้วยแนวคิดเดียวกันเหมือนคนจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้น
1
อย่างไรก็ตาม การปรับอัตลักษณ์เช่นนั้น กลับส่งผลตรงกันข้าม ชาวไต้หวัน ยิ่งเห็นว่าตนเองนั้น มีความแตกต่างจากชาวแผ่นดินใหญ่มากขึ้น และแนวคิดนี้ยิ่งเด่นชัด เมื่อได้รับการสนับสนุนโดยประธานาธิบดี Lee Teng-hui ของไต้หวันในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ชาวไต้หวันระบุว่าตนเองเป็นคนไต้หวันเท่านั้น ไม่ใช่ชาวไต้หวันและชาวจีน อย่างที่รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ต้องการให้เป็น การส่งเสริมอัตลักษณ์คนจีนแผ่นดินใหญ่ในไต้หวัน จึงล้มเหลวไม่เป็นท่า
และนี้เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุด สำหรับรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ในการแสวงหาแนวทางการรวมชาติตามนโยบาย “มาตุภูมิเดียวกัน”
ในเชิงเศรษฐกิจ GDP ของไต้หวันมีมากกว่า GDP ยูเครนถึง 3 เท่า และไต้หวันมีความสำคัญมากกว่ายูเครน ในด้านเทคโนโลยี ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลกในฐานะศูนย์กลางเมืองแห่งไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะ ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ ที่ครอบครองมาเก็ตแชร์ทั้งโลกกว่า 50%
หากไต้หวันเกิดปัญหาด้านสงคราม ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ย่อมถึงขั้นเกิดวิกฤติได้
นักภูมิรัฐศาสตร์ชื่อดัง “โรเบิร์ต รอส” เคยทำนายไว้ว่า ณ จุดสูงสุดของศตวรรษที่ 21 เอเชียตะวันออกจะถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว โดยที่สหรัฐฯ จะเป็นมหาอำนาจทางทะเล จีนจะเป็นมหาอำนาจในทวีป โดยมีไต้หวันเป็นศูนย์ถ่วงระหว่างขั้วอำนาจทั้งสอง หากใครก็ตามที่ สามารถควบคุมไต้หวันได้ จะกุมชัยชนะเหนืออีกฝ่าย
สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับไต้หวัน มากกว่า #ยูเครน หลายเท่าตัว ทั้งในด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ สำหรับญี่ปุ่นเองก็กังวลไม่น้อย
หากไต้หวันรวมตัวกับ #จีนแผ่นดินใหญ่ ได้จริง เนื่องจากช่องแคบไต้หวันนั้น เปรียบเสมือนลมหายใจในการขนส่งส่งพลังงานให้กับ #ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่อาจเป็นชนวนสงครามได้ สำหรับช่องแคบไต้หวัน ก็คือ ความน่าจะเป็นของการแทรกแซง ทางทหารโดยตรงของสหรัฐฯ
นับตั้งแต่การสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง #สหรัฐ และ #สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2522 ตามพระราชบัญญัติความสัมพันธ์ไต้หวัน รัฐบาล #สหรัฐอเมริกา มีเจตนาคงจุดยืนที่คลุมเครือ ในแง่ของการแทรกแซงทางทหารโดยตรง ความคลุมเครือนี้ มีประสิทธิภาพมากในการขัดขวาง ไม่ให้ทั้ง #จีน ใช้กำลังในการรวมชาติ และไม่ให้ #ไต้หวัน ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ
โฆษณา