5 ส.ค. 2022 เวลา 15:12 • ยานยนต์
ผมขอให้ความเห็นส่วนตัวในฐานะ “ผู้ที่ชื่นชอบรถยนต์และศึกษาเรื่องรถยนต์” (car enthusiast) ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนดังนี้ครับ
1) การที่คุณขับรถเดินทางไกล หากคุณได้รถที่มีขนาดตัวถังใหญ่ เช่น รถ sedan ขนาดตั้งแต่ กลางๆไปจนถึงตัวถังใหญ่ เช่น Toyota Altis ไปจนถึง Toyota Camry ซึ่งเป็นรถที่มี “ฐานล้อ” (wheelbase) ยาว จะให้ความสบายในการเดินทาง และเครื่องยนตร์ตั้งแต่ 1,800 CC ขึ้นไป จะทำให้การเร่งแซงคล่องตัวขึ้น
ยิ่งถ้าคุณขับรถขึ้นทางลาดชันบ่อยๆแล้วด้วย รถที่มีตัวถังขนาดใหญ่จะให้ความมั่นใจในการขับขี่ได้มากกว่า
2) หากคุณกำลังพิจารณารถในกลุ่ม “pre-owned” หรือ “รถมือสอง” ตั้งแต่รุ่นปี 2015 ขึ้นมาตามที่คุณแจ้ง ผมมองว่าคุณจะได้รถที่เป็นรถรุ่นค่อนข้างใหม่ เพราะผมเองตอนนี้ใช้รถโตโยต้าที่น้องของผมมอบให้ซึ่งเป็นรถรุ่นปี 2004 ผมพบว่า หากดูแลรักษาอย่างดี และเปลี่ยนอะไหล่สำคัญๆจนครบ สิ่งที่ผมได้มาคือ รถสภาพเยี่ยมดีๆนี่เอง!
3) ผมเองไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องรถมือสองแต่อย่างใด แต่ผมสนใจศึกษาเรื่องราวทางเทคนิคของรถยนต์ และพอจะให้ข้อมูลพื้นฐานแก่คุณได้ประมาณนี้ครับ
3.1) “ตัวถัง”
-ตรวจดูระยะห่างระหว่างชิ้นส่วนของตัวถังแต่ละชิ้น เช่น ฝากระโปรงรถ หรือ ขอบประตู ว่า “ระยะห่าง” (gaps) นั้นมีระยะห่างที่ “สม่ำเสมอ” หรือไม่
-มีร่องรอยการทำสีใหม่หรือไม่
-ชิ้นส่วนมีสีที่ขัดแย้งแตกต่างกันหรือไม่
-มี “รอยเชื่อม” ที่มีความไม่สอดคล้องกับรอยเชื่อมอื่นๆของตัวถังและการขาดหายไปของรอยเชื่อมหรือไม่
-ดึงเข็มขัดนิรภัยออกมาให้สุด เพื่อตรวจสอบร่องรอยคราบนำ้ หากรถเคยจมน้ำ
-ถอดแผงประตูออกเพื่อดูร่องรอยคราบนนำ้
-เปิดกล่องฟิวส์เพื่อตรวจดูคราบนำ้และโคลน
-เลขไมล์ ควรตรวจสอบจากศูนย์ที่สามารถให้ประวัติของรถได้น่าเชื่อถือกว่า อย่าน้อย หากรถคันนั้นเคยเข้ารับบริการที่ศูนย์ ในระบบฐานข้อมูลจะสามารถระบุเลขไมล์ล่าสุด ในวันสุดท้ายที่รถเข้ารับบริการจากศูนย์ได้
-ลองเปิดปิดประตูรถทุกบาน และสังเกต “นำ้หนักการเปิดปิดประตู” ว่าเท่ากันทุกบานและปิดเรียบสนิทหรือไม่
-สีรถต้องสม่ำเสมอทั่วทั้งคัน และมีการสะท้อนของแสงในอัตราที่เท่าๆกัน
-คู่มือรถ, ยางอะไหล่และอุปกรณ์เปลี่ยนยาง เช่น แม่แรงและประแจที่ติดมากับรถต้องมีครบ ไม่ขาดหาย
-ตรวจสอบการทำงานของไฟทุกดวง, ที่ปัดนำ้ฝน, เปิดปิดกระจกไฟฟ้าทุกบานและทดลองปรับเก้าอี้ไฟฟ้าทุกตำแหน่ง
3.2) ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับอะไหล่ที่ผมเคยเปลี่ยนมา
-ยางรองแท่นเครื่อง:
ถ้าคุณขับรถคันนั้นแล้วจอดรอสัญญาณไฟ ไม่ว่าคุณจะเข้าเกียร์ว่างอยู่หรือไม่ รถไม่ควรสั่นมากจนเกินไป เช่น คุณอาจวางโทรศัพท์ของคุณไว้ตรงที่ตั้งเหนือหน้าปัทม์รถ แล้วดูว่าโทรศัพท์ของคุณสั่นจนเคลื่อนที่ไปมาหรือไม่
ถ้าสั่นมากโดยที่รถไม่ได้มีความผิดปกติมาจากเครื่องยนตร์ เป็นไปได้ว่า ควรเปลี่ยนยางรองแท่นเครื่อง
-ลูกหมากและลูกปืนล้อรถ:
หากคุณขับรถแล้วมีเสียงดังมาจากล้อ ถ้าหากไม่ได้มีปัญหาที่มาจากระบบเบรค เป็นไปได้ว่า ลูกปืนล้ออาจหมดอายุ
หากคุณขับรถข้ามเครื่องกั้นหรือตัวหนอน แล้วมีเสียงดัง เป็นไปได้ว่า ลูกหมากอาจหมดอายุ
-เปิดฝากระโปรงรถ แล้วใช้ไฟฉายส่องดูห้องเครื่อง (engine bay)
#รถไม่ควรมีคราบสกปรกที่ถึงขั้นทำให้เกิดสนิมหรือสีแปลกๆที่ผิดเพี้ยนไปจากบริเวณอื่น หากมีแสดงว่าอาจมีการรั่วไหลของของเหลวที่มาจากเครื่องยนตร์หรือนำ้กรดจากแบตเตอรี่รั่วซึมออกมา
#ท่อของเหลวและท่ออากาศควรอยู่ในสภาพดี แหวนที่ใช้ยึดท่อเหล่านั้นต้องอยู่ครบ
#ท่อบางประเภทเป็น “ท่อนิ่ม” และหากคุณลองปีบดูแล้ว มันเริ่มไม่ให้ตัวหรือถึงขั้นแข็งกรอบ ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะท่อลักษณะนี้อาจกรอบจนแตก และรั่วซึมได้
#โดยปกติที่ผมนำรถเข้าศูนย์ของโตโยต้า จะมี “พี่ช่าง” เดินเข้ามาตรวจสอบอายุของแบตเตอรี่ให้ โดยเขาจะใช้อุปกรณ์ของ Midtronics ซึ่งสามารถวัดความสามารถในการทำงานของแบตเตอรี่ว่ายังใช้ได้หรือควรเปลี่ยนใหม่ และที่สำคัญ มันสามารถวัดอายุของ “ไดชาร์จ” หรือ Alternators ได้ด้วย ซึ่งไดชาร์จมีความสำคัญมาก เพราะมันเปรียบเหมือน “โรงไฟฟ้า” ของรถคุณ
โดยแบตเตอรี่จะช่วยขับ “ไดสตาร์ท” เพื่อช่วยให้รถคุณติดเครื่องได้ แต่หลังจากที่ติดเครื่องแล้ว “ไดชาร์จ” จะทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟเพื่อป้อนให้ระบบต่างๆของรถ รวมถึงการ recharge แบตเตอรี่ให้รถของคุณ
ด้วย!
#กล่องฟิวส์เป็นหัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าของรถยนต์ คุณควรเปิดกล่องแล้วถ่ายรูปเก็บไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง
#ถ้าหากคุณสามารถหาถนนหรือทางที่เป็นที่ส่วนบุคคลและไม่ใช่ถนนสาธารณะได้
คุณควรทดลองขับทางตรงและขับด้วยอัตราเร็วต่ำในเขตที่ปลอดภัยที่สุด แล้วลอง “ปล่อยมือ” จากพวงมาลัยรถดูโดยพวงมาลัยยังตรงอยู่ เพื่อดูว่า “รถแล่นเป็นเส้นตรงหรือไม่” แล้วรถมีอาการ “เฉ” ไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งทั้งๆที่พวงมาลัยยังตรงอยู่หรือไม่
1
และทดสอบระบบเบรค ว่ามันยังทำงานได้ดีเยี่ยมและปราศจากเสียงดังผิดปกติ โดยเฉพาะเสียงแหลมๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของผ้าเบรคหมด!
-พิจารณาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคุณเพื่อตรวจจับสิ่งผิดปกติ เช่น เสียง, การสั่นสะเทือน, กลิ่น, ความเย็นร้อนอ่อนแข็ง ที่คุณสัมผัสได้ว่า ผิดแปลกไปจากที่ควรจะเป็น
1
3.3) โช้ค หรือ shock absorbers
คุณสามารถทดสอบโช้คทั้งสี่ของรถได้โดยการใช้มือขย่มทั้งสี่มุมของตัวรถ
หากออกแรงขย่มหนึ่งครั้งแล้วปล่อย ถ้ารถยังเด้งขึ้นลงไปมาเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่มันจะหยุด แสดงว่าโช้คเริ่มเสื่อมสภาพ หากโช้คยังดีอยู่เมื่อคุณขย่มแรงๆหนึ่งครั้ง รถจะคืนตัวกลับขึ้นมาแล้วหยุดเกือบนิ่งในจังหวะเดียว!
1
คุณอาจทดลองขับช้าๆในก็พื้นที่ปลอดภัย แล้วเบรคแรงๆดู โดยอาการของโช้คจะออกมาคล้ายการทดสอบขย่มนั่นเอง!
3.4) “OBD” หรือ On-Board Diagnostics tool ที่ใช้ต่อเข้ากับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถได้
หากคุณมีช่างที่คุณวางใจและมีความสามารถในการใช้เครื่อง OBD คุณควรให้เขาช่วยตรวจสอบการทำงานทางระบบไฟฟ้าของรถด้วยเครื่องมือนี้ครับ
3.5) “เครื่องยนตร์”
ครับนี่คือสิ่งที่มีความซับซ้อนที่สุดของรถ แต่ผมลองค้นดูจากคลิปของคุณ “ChrisFix” ด้านบน และผมพบ “วิธี” พื้นฐานง่ายๆที่ใช้ตรวจสอบสภาพเครื่องยนตร์คร่าวๆครับ
-เมื่อคุณเปิดฝากระโปรงรถ ถ้าหากห้องเครื่องมีฝุ่นเกาะอยู่ให้ถือเป็นสัญญาณที่ดีครับ!
เพราะถ้าหากมีการรั่วซึมของนำ้มันหรือของเหลวชนิดอื่นๆ คุณสามารถมองเห็นได้ง่ายกว่าครับ
ในทางตรงข้าม หากห้องเครื่องสะอาดสะอ้าน อาจหมายถึง เจ้าของรถต้องการทำความสะอาดเพื่อ “ปกปิด” ร่องรอยบางอย่าง!
-คุณขับรถคันที่คุณต้องการทดสอบไปสักพัก จนเครื่องเริ่มร้อนขึ้น
จากนั้นคุณลงจากรถที่จอดแล้ว และคุณย้ายไปยืนเฝ้าดูท่อไอเสียของรถ (ในที่นี้ผมขอสมมุติให้เป็นเครื่องยนตร์เบนซิน)
จากนั้นให้ผู้ช่วยของคุณสตาร์ทรถ โดยคุณเฝ้าดูควันที่ออกจาก
ท่อไอเสียไว้
จากนั้นให้ผู้ช่วยของคุณออกรถอย่างรวดเร็วโดยคุณยังคงเฝ้าดูควันจากท่อไอเสียอยู่
% ควันสีขาว: แสดงว่า “ปะเก็นฝาสูบ” อาจรั่ว
% ควันสีหม่นออกฟ้าๆ: แสดงว่า “แหวนลูกสูบ” อาจหมดอายุ
3.6) “ยางและความดันลมยาง”
ผมอยากจะฝากหัวข้อนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ
ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจความลึกของดอกยาง และอายุของยางซึ่งจะถูกพิมพ์อยู่บนตัวยางเรียบร้อยแล้ว
4) การดูแลรักษารถยนต์
1
ทักษะนี้เป็นทักษะที่แยกออกมาต่างหาก นั่นคือ “คนที่ขับรถได้” มิใช่คนที่จะ “ดูแลรักษารถยนต์” ได้ทุกคน
1
คุณจึงควรแสวงหาทักษะนี้อย่างสม่ำเสมอ
5) อุปกรณ์ติดรถที่คุณควรจะมี
6) ADAS
หากรถที่คุณสนใจมีระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ อย่าลืมทดสอบระบบด้วยนะครับ
โฆษณา