6 ส.ค. 2022 เวลา 01:33 • ปรัชญา
มันมีอยู่เรื่องหนึ่ง เค้าเรียกว่า รูปสอนธรรม โดยเราต้องพยายาม ทำจิตทำใจให้เหนือดีเหนือชั่ว ให้ได้ ทำจิตเฉย.. เมื่อมีบุคคลใกล้ชิด หรือ เราไปเจอะเจอ เราก็ดูเค้า ดูในสิ่งที่เค้าแสดง ดูกิริยาของกายวาจาของเค้าที่แสดงออกมา ทั้งน้ำเสียงสีหน้า ท่าทางของเค้า
เราควรฝึกดูจากคนใกล้ แล้วย้อนมาดูตัวเราเอง ว่าเรามีการกระทำเหมือนเค้ามั้ย ใช้กิริยากายวาจาใจ เหมือนกันมั้ย แล้วก็ใช้สติเหตุผล ค่อยเรียบเรียงว่า ถ้าเราทำแบบนี้ มีมันดีหรือไม่ดี มันมีผลอะไร เรื่องราวอะไรเกิดขึ้นติดตามบ้าง ทุกข์หรือสุข ดีหรือไม่ดี ทั้งเค้าทั้งเรา มันเกิดเป็นความขัดแย้ง หรือคำว่า สันติ เราก็ค่อยพิจารณาด้วยสติปัญญาที่รู้จักเหตุผลของเราเอง ให้จิตเราพิจารณา ไม่ใช่เอาอารมณ์พิจารณา คือพิจารณาที่จิตอย่าเฉยเป็น คือ ทำให้กายนิ่งไดเสียก่อน ค่อยพิจารณา
ถ้าเราฝึกหัดได้ เราก็จะรู้จัก อารมณ์ความคิด กับ กิริยาของรูปที่แสดงดู เค้าจะเป็นตัวอย่างให้เราได้ ศึกษาอารมณ์ความคิด พฤติกรรมที่เค้าใช้อยู่ แต่มีข้อแม้ว่า เราต้องสมมุติตัว เป็นธรรมคือ อยู่นิ่งเฉยๆให้ได้ หากเราเผลอสติไปติเตือน ไปวิพากษ์วิจารณ์ นั้นก็เป็นอารมณ์ของเรา หรือ พูดต่อว่าติเตียน เค้ามันก็จะเป็นกรรมที่เรา ปวดหัว มึนงง หลังที่เราไปเผลอไปติเตียน เมื่อเราติเตียนเข้านั้น ก็เพราะว่าเราเห็นว่าตัวเราเองนั้นดี (ดีแบบไหน เราก็ไปสำรวจความหลงของตัว ว่ามีหรือไม่มี)
เรื่องราวนี้ ผู้ที่มีพื้นฐานของจิต ฝึกสติสมาธิมา ก็จะช่วยรักษา จิตให้เฉย เหนือดีชั่วได้ ควบคุมกายวาจาใจขิงตนให้นิ่งเฉยได้ เพื่อศึกษาเรื่องราวของอารมณ์กรรมที่ใช้กันอยู่ ทร่เกิดขึ้นในกายมนุษย์ทั้งเค้าทั้งเรา เพื่อเรียบเรียงเรื่องราวเหตุผลต่างๆ ให้รู้จักคำว่า อารมณ์กรรม ตัวกระทำคือพฤติกรรม ที่แสดงออกมาเป็นกิริยาของกายวาจาใจ
ถ้าเราศึกษา รู้จักอารมณ์ได้ เราก็จะรู้จัก พิษของอารมณ์ การสัมผัสที่มันละเอียดขึ้น อารมณ์นั้นที่เค้าว่าเป็นเหมือนไฟมันจริงมั้ย อารมณ์นั้นที่ว่าเป็นกรรมนั้น เป็นอย่างไร ถ้าเราสนใจศึกษา หมั่นเพียรรักษาการเรียนรู้ เราก็จะค่อยรู้จัก บางคนอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน มานั่งใกล้ๆ เราก็จะรับความรู้อารมณ์ของเค้าได้ ที่สำคัญมากๆ คือ เราต้องสลัดอารมณ์ความรู้สึก ของผู้ที่เราสัมผัสได้นั้น สลัดออกไปได้ด้วย มิฉะนั้น อารมณ์ที่ไหลเข้ามา ก็จะเปรอะเปื้อนตัวเราเหมือนกัน
เรื่องราวที่จะฝึกอย่างนี้ได้ จิตเราต้องไม่เห็นใครผิดเลย ไม่ไปติเตียนใคร ไม่วิพากษ์วิจารณ์ อยู่เฉย เข้มแข็ง มั่นคง ไม่มีทิฐิอะไรทั้งนั้น เพื่อศึกษาในเรื่องอารมณ์ ที่ท่านบอกว่า รูปสอนธรรม
หากเราทำจิตไม่ได้ อารมณ์ของเรานั้นแหละที่จะปรุงแต่งที่ตัวตนของเรา ทำให้เราไม่สามารถจะเรียนรู้ในเรื่องนี้ได้เลย เกิดเป็นอารมณ์หงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ติเตียน ต่อว่าเค้า ทั้งที่เราตั้งใจว่าจะควบคุมกายวาจาใจอารมณ์นึกคิดของเราให้นิ่งเฉย เพื่อศึกษา แต่เรากลับไปติไปเตียน นักแสดงที่กำลังแสดงให้ดูเสียเอง นั่นแหละเค้าเรียกว่า การคล้องกรรมเกิดขึ้นแล้ว กรรมเกิดขึ้นแล้ว
เมื่อเกิดเป็นลักษณะแบบนี้ขึ้น เราก็มาแก้ไข ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม เดินจงกรมเพื่อนสลัด เอาสิ่งที่เราเผลอสติ ไปติเตียนเค้าออกไป สลัดอารมณ์ทีามาปรุงแต่งจิตเราออกไปให้ได้ จะได้ไม่เป็นการสะสมอารมณ์ สะสมกรรม เหมือนสีที่เราทาทับลงไปที่จิตที่ ธาตุทั้งสี่ เหมือนทาทับไปทับมาตลอดเวลา จิตเรามันก็เลยหนัก .หนักด้วยตัวทิฐิของอารมณ์กรรมของเราเอง
หากเราเรียนรู้จัก เรื่องนี้ได้ จิตเราจะได้ประโยชน์ รู้จักกรรม เนื่องด้วยอารมณ์ ที่มีทั้งคุณและโทษ รู้จักควบคุมกายวาจาใจ เยี่ยงอย่างดีๆ มาใช่ เพื่อที่หลีกหนีเวรกรรม คือ ไม่ไปสร้างกรรมให้มันมากขึ้น ให้จิตนี้ต้องมีภาระเนื่องด้วยอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่ตัวเราเอง ความสุขของจิตก็จะค่อยๆเกิดขึ้น ก็คือ จิตที่เบาบางจากอารมณ์กรรม
เรื่องที่เค้าว่า อยู่กับกรรมก็ไม่รู้จักกรรม อยู่กับอารมณ์ก็ไม่รู้จักอารมณ์ หากเราศึกษาเรื่องราวนี้ได้ จิตเราก็จะค่อยๆแง้ม..แง้มขึ้นมาที่ละนิดทีละน้อย มีสัมปชัญญะที่รู้จักกรรม รู้จักกรรมแล้วก็หนีกรรม มีสติสัมปชัญญะรู้จักธรรม นั่นคือ การตนค้นคน ที่ตัวเราเอง จับผิดตัวเรา ไม่ได้ไปจับผิดผู้อื่น จับผิดตัวเรา เพื่อแก้ไขนิสัย ดีหรือขั่วที่ตัวเรา เห็นว่าชั่ว เราก็สลัดมันทิ้งไป ให้สิ่งที่ดีมันโผล่ขึ้นมาในตัวเรา
โฆษณา