Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bookslover - อ่านเพื่อชนะปัญหา
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2022 เวลา 14:06 • หนังสือ
ถ้าคุณเป็นนักลงทุน สำหรับวิกฤตในครั้งนี้ คุณจะรับมือหรือจัดการพอร์ตลงทุนเหมือนกับวิกฤตในครั้งก่อนหน้านี้หรือไม่?
สรุปหนังสือ The Psychology of Money ตอนที่ 13
ในสัปดาห์ที่แล้ว แอดก็ได้เล่าถึงบทที่ 11 ของจิตวิทยาว่าด้วยเงินไปแล้ว นั่นคือเรื่องของ “เก็บออม” ค่ะ
ในสัปดาห์นี้ แอดก็จะมาเล่าต่อในบทที่ 12 ว่าด้วยเรื่องของ “เซอร์ไพรส์!” เนื้อหามีดังนี้
Topic:
1) ประวัติศาสตร์การเงินในอดีต ช่วยอะไรเรา?
2) 2 บทเรียนจากประวัติศาสตร์การเงินในอดีต
ถ้าพร้อมแล้วไปตามอ่านต่อได้เลยค่ะ!!!
เฮาเซิลบอกว่า...
ประวัติศาสตร์ช่วยให้เราปรับจูนความคาดหวัง เรียนรู้จากผู้ที่เดินทางผิด และให้คู่มือคร่าวๆ เกี่ยวกับสิ่งที่มีแนวโน้มจะใช้งานได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรมันก็ไม่ใช่แผนที่สำหรับอนาคต
การลงทุนนั้นไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงกฎเกณฑ์และหลักการ ทว่ามันคือ “ฝูงชนกลุ่มใหญ่ที่กำลังทำการตัดสินใจอย่างไม่สมบูรณ์แบบบนข้อมูลอันจำกัด” ในเรื่องของสิ่งที่กำลังจะสร้างผลกระทบกับความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างมหาศาล ซึ่งแม้แต่คนฉลาดก็ยังสามารถที่จะประหม่า โลภ และวิตกกังวลกับสิ่งเหล่านี้ได้
นักลงทุน “มีความรู้สึก” นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมจึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์สิ่งที่พวกเขาต้องทำบนพื้นฐานของสิ่งที่พวกเขาเคยทำมาในอดีตแค่เพียงอย่างเดียว
หลักสำคัญของเศรษฐกิจก็คือ สิ่งต่างๆ นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะมือที่มองไม่เห็นนั้นเกลียดสิ่งที่ดีหรือแย่เกินไป
สิ่งสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน คือ เรื่องราวที่ผู้คนคอยพร่ำบอกกับตัวเองและความชื่นชอบที่พวกเขามีให้กับสินค้าและบริการ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหยุดอยู่กับที่ พวกมันเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ
ลุยต่อกันเลย!!!
เหตุการณ์สำคัญที่สุดของชุดข้อมูลในอดีตคือความผิดแผกครั้งใหญ่ เหตุการณ์ที่ทำลายสถิติต่างๆ เหตุการณ์เหล่านั้นคือส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น เช่น
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
สงครามโลกครั้งที่ 2
วิกฤตฟองสบู่ดอตคอม
วินาศกรรม 11 กันยายน
วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ในช่วงกลางปี 2000
แม้ว่าเหตุการณ์ผิดปกติเหล่านี้อาจมีเพียงหยิบมือ แต่พวกมันก็มีบทบาทสำคัญอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ที่ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันอีกจำนวนมาก
สิ่งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในช่วงเวลาใดก็ตามของเศรษฐกิจโลกนั้นสามารถเชื่อมโยงกลับไปที่เหตุการณ์ในอดีตเพียงแค่ไม่กี่เหตุการณ์ที่แทบจะไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้เลย
ปัญหาคือ บ่อยครั้งที่เรามักจะใช้เหตุการณ์อย่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปกับการชี้นำมุมมองที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ อย่างเช่น การประเมินสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่เราคิดเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต
แต่เหตุการณ์ที่ทุบสถิติเหล่านี้ไม่เคยมีตัวอย่างที่เป็นบรรทัดฐานมาก่อนในเวลาที่มันเกิดขึ้น
บทเรียนที่ถูกต้องซึ่งเราได้เรียนรู้จากเรื่องไม่คาดฝันก็คือ “โลกนี้มีเรื่องให้เราประหลาดใจอยู่เสมอ” และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราไม่ควรใช้เรื่องไม่คาดฝันในอดีตมาเป็นตัวชี้นำขอบเขตในอนาคต
เราควรใช้เรื่องไม่คาดฝันในอดีตเพื่อที่จะยอมรับว่า เราไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อจากนี้
มุมหนึ่งที่น่าสนใจของประวัติศาสตร์การลงทุนก็คือ ยิ่งคุณมองย้อนกลับไปมากขึ้นเท่าไหร่ คุณจะยิ่งพบว่าคุณกำลังสำรวจโลกที่ไม่สามารถใช้งานได้กับเงื่อนไขในปัจจุบัน
นั่นไม่ได้หมายความว่าเราควรจะเพิกเฉยต่อประวัติศาสตร์ในเวลาที่เราคิดถึงเรื่องเงิน แต่ความสำคัญมันอยู่ตรงที่ ยิ่งคุณดูประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปมากเท่าไหร่ สิ่งที่คุณยิ่งได้กลับมาก็คือเรื่องที่พบได้ทั่วๆ ไป เช่น
ความสัมพันธ์ระหว่างความโลภกับความกลัวของมนุษย์
พวกเขาปฏิบัติตัวอย่างไรภายใต้ความเครียด
พวกเขามีวิธีตอบสนองต่อสิ่งจูงใจที่มีแนวโน้มคงที่ในช่วงเวลานั้นอย่างไร
ประวัติศาสตร์เรื่องเงินนั้นมีประโยชน์ในแง่มุมเหล่านี้มากกว่า
แต่ลักษณะจำเพาะเจาะจงของแนวโน้ม รูปแบบการซื้อขาย กลุ่มอุตสาหกรรมความสัมพันธ์ต่างๆ กับตลาด และสิ่งที่ผู้คนควรทำกับเงินของพวกเขานั้นเป็นตัวอย่างของความรุดหน้าทางวิวัฒนาการอยู่เสมอ นักประวัติศาสตร์ไม่ใช่นักพยากรณ์
สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
- สก็อตต์ เซแกน [ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด]
อ่านจบแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างคะ?
สำหรับแอด ประวัติศาสตร์การเงินในอดีตโดยเฉพาะการลงทุนสอนให้แอดรู้ว่า “ไม่มีอะไรแน่นอน” สอนให้รู้ว่าในช่วงชีวิตของเราจะต้องเจอกับ “วิกฤตเศรษฐกิจ” อย่างน้อยคนละ 1-2 ครั้ง
ดังนั้น บทเรียนที่แอดได้เรียนรู้นี้ทำให้แอดเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า พอร์ตการลงทุนของเราควรมีการจัดการบริหารความเสี่ยง ที่พร้อมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาค่ะ ทำอย่างไรก็ได้ให้เราไม่ล้มหายตายจากไปก่อน และรอดจากวิกฤตไปได้ในทุกๆ ครั้งนั่นเองค่ะ
แล้วคุณล่ะคะ พอร์ตของคุณพร้อมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ แล้วหรือยัง?
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จิตวิทยาว่าด้วยเงิน 20 บทเรียนเรื่องความมั่งคั่ง ความโลภ และความสุข
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย