7 ส.ค. 2022 เวลา 00:08
ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ต้องมีเจตนาทุจริตด้วย
Photo by Tingey Injury Law Firm on Unsplash
กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอํานาจหน้าที่ในการไต่สวนและชี้มูลความผิดทางวินัย ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกนและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 28
คำว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกนและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ได้ให้คํานิยามว่า
“ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือ
ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น" โดยแยกองค์ประกอบได้ ดังนี้
1. ใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น
2. ปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือ
3. ละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือ
4. ปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือ
5. ละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือ
6. กระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น
ในข้อ 1 นั้นมีความหมายกว้างกว่า ข้อ 2 คือ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งได้ทั้งหมด แต่ข้อ 2 นั้นเป็นหน้าที่ต้องปฏิบัติ แต่ปฏิบัติโดยมิชอบ หรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบ
แล้วเรื่องไปยังศาลปกครองได้อย่างไร ?
ก็เนื่องจาก ข้าราชการถูกผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งลงโทษให้ออกจากตำแหน่ง เนื่องจาก คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนแล้วมีมติว่า การกระทําของข้าราชการนั้นมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ จึงส่งรายงานและความเห็นดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้พิจารณาลงโทษทางวินัย
แต่ข้าราชการนั้นไม่เห็นด้วย จึงได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่งแล้ว แต่ถูกปลัดกระทรวงมหาดไทยยกอุทธรณ์ จึงนําคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการดังกล่าว
ศาลปกครองพิจารณา: คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คําสั่งลงโทษทางวินัยที่ไล่ผู้ฟ้อง (ข้าราชการ) คดีทั้งสามออกจากตําแหน่ง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
โดยมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามได้กระทําผิด
ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวางหลักการพิจารณาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ไว้ว่า
1. มีหน้าที่ราชการที่ต้องปฏิบัติ
2. ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ ซึ่งคําว่า “โดยมิชอบ” หมายความว่า ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ คําสั่งของผู้บังคับบัญชา
3. เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ ซึ่งคําว่า “ประโยชน์” หมายถึง สิ่งที่ได้รับอันเป็นคุณแก่ผู้ได้รับ ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อยางอื่นที่มิใช ่ ่ทรัพย์สินก็ได้ และคําวา “มิควรได้” หมายถึง ไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะได้รับประโยชน์ใด ๆ ตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น
4. โดยมีเจตนาทุจริต ซึ่งคําว่า “ทุจริต” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น
เรื่องนี้เกี่ยวกับ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บนํ้าที่กองทุนพัฒนาชุมชนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าฯ อนุมัติให้ก่อสร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้แก่ราษฎรในพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ปลัดจังหวัด เป็นรองประธาน นายอําเภอ เป็นรรมการ/เหรัญญิก และมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองโครงการก่อสร้างต่าง ๆ แต่ดันสร้างผิดระเบียบของกรมป่าไม้ คือ บุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติ
จึงมีการร้องเรียน ผู้ใหญ่บ้านและกำนันรวม 3 คน ในพื้นที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ สรุปว่า แม้ผู้ฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ (กรมป่าไม้) แต่การปฏิบัติดังกล่าวนั้นทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา อีกทั้งผู้บังคับบัญชาของผู้ฟ้องคดีทั้งสามเป็นผู้อนุมัติ สั่งการ และติดต่อประสานงานทั้งหมดด้วย ผู้ฟ้องทั้งสามย่อมจะต้องปฏิบัติตามคําสั่งและเชื่อโดยสุจริตว่า การก่อสร้างอ่างเก็บนํ้าดังกล่าวได้กระทําไปโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
สรุป คือ นายสั่งยังไงมาก็เชื่อว่าถูกต้องแล้ว ก็ทำไปตามนั้น
และไม่ปรากฏว่า แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ศาลก็สรุปว่า คดีนี้ ข้าราชการไม่มีเจตนาทุจริต จึงไม่ครบองค์ประกอบของคำว่า ทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมาย ปปช
ดังนั้น คําสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามออกจากตําแหน่งกํานันและผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคําสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสามจึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
หมายเหตุ
มีตอนหนึ่งในคำพิพากษา ว่า ...จากผลการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตเรียกรับผลประโยชน์ในการก่อสร้างอ่างเก็บนํ้าดังกล่าว แต่เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่ เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นของส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2548 เท่านั้น....
ก็เหมือนจะบอกเป็นนัยๆว่า ในเมื่อ ป.ป.ช. ก็บอกเองว่า ไม่พบการแสวงหาประโยชน์ แล้วทำไมชี้ให้เค้าผิด ???
อ้างอิง
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกนและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 | http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/052/1.PDF
โฆษณา