6 ส.ค. 2022 เวลา 09:01
เรื่องเล่าพระเกจิ|หลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร
1.วัดประสาทบุญญาวาส ตั้งอยู่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ.2376 ชาวบ้านแถวนั้นเรียกวัดนี้ว่า “วัดคลองสามแสน” เพราะอยู่ติดกับคลองสามแสน (ปัจจุบันคือคลองสามเสน) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อวัดอย่างเป็นทางการว่า “วัดประสาทบุญญาวาส ” ในปี พ.ศ.2487
2.วัดประสาทบุญญาวาส เป็นวัดที่นักสะสมพระเครื่อง รู้จักกันดี เนื่องจากวัดประสาทบุญญาวาส ได้มีการจัดสร้างพระเครื่องในปี พ.ศ.2506 ซึ่งเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะ #พระหลวงปู่ทวด มูลเหตุการจัดสร้างเนื่องมาจาก เกิดไฟไหม้ภายในวัดหลายครั้ง เสนาสนะกุฏิพระสงฆ์และพระอุโบสถ(หลังเก่า) ได้รับความเสียหายอย่างมาก พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน เจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงมีความคิดที่จะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่ของเดิม
3.ต่อมาในคืนหนึ่ง พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างไห้ ได้ฝันถึงหลวงปู่ทวด โดยท่านได้บอกให้พระอาจารย์ทิม ไปช่วยบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส พระอาจารย์ทิมจึงได้เข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบเรื่องราวที่ท่านได้ฝันมา และพบว่า วัดประสาทบุญญาวาส ไฟไหม้จริง พระอาจารย์ทิม จึงได้เข้าไปปรึกษาเจ้าอาวาส พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน เพื่อช่วยกันหาทางบูรณะวัดขึ้นมาใหม่
4.จึงตัดสินใจที่จะจัดทำพระเครื่องเพื่อให้ประชาชนทั่วไปเช่าบูชา และนำเงินปัจจัยที่ได้นำมาบูรณะวัด ซึ่งในปี พ.ศ.2502 พระอาจารย์ทิม ได้นำพระหลวงปู่ทวด รุ่นหลังตัวหนังสือ ปี พ.ศ.2505 มาใช้เป็นต้นแบบ รวมถึงมอบ มวลสารหลวงปู่ทวดปี พ.ศ.2497 และดินกากยายักษ์ เพื่อนำมาใช้เป็นมวลสารตั้งต้นในการจัดสร้าง
5.นอกจากนี้ มีการได้รับ พระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหัก จากการเปิดกรุในปี พ.ศ.2500 จาก พระครูบริหารคุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส เพื่อนำมาใช้เป็นมวลสารในการสร้างอีกด้วย ทางด้านพิธีกรรม และการปลุกเสกก็จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เป็นรองเพียงแคพิธีปลุกเสกในงาน 25 พุทธศตวรรษเท่านั้น มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น เข้าร่วมพิธีปลุกเสกมากมายถึง 234 รูป
6.พระหลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส มีหลายสี หลายพิพม์ โดยเบื้องต้นการแบ่งพิมพ์ พระหลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส ดังนี้
- พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่
- พระหลวงปู่ทวด พิมพ์กลาง
- พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เล็ก
- พระหลวงปู่ทวด พิมพ์อื่นๆ
ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็จะมีการแบ่งย่อยลงไปอีก ตามสีและรูปร่งลักษณะองค์พระ
โฆษณา