6 ส.ค. 2022 เวลา 17:01 • การศึกษา
[Life Tools🚀] “ภูเขาแห่งความโง่เขลา” ทำไมคนรู้น้อยถึงคิดว่าตนเองรู้มาก!? อ้างอิงจากทฤษฎี Dunning-Kruger Effect
“ภูเขาแห่งความโง่เขลา” ทำไมคนรู้น้อยถึงคิดว่าตนเองรู้มาก!?
💡 Dunning-Kruger Effect คืออะไร?
.
David Dunning และ Justin Kruger ได้อธิบาย ว่ามันคือ “อคติทางความคิด (Cognitive Bias)” รูปแบบหนึ่ง ที่คนเรามักจะประเมินความรู้ความสามารถตัวเองสูงกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
ส่วนคนที่เชี่ยวชาญในเรื่อง ๆ หนึ่ง ก็สามารถเกิดปัญหานี้ได้ในขณะที่กำลังเรียนรู้และทำสิ่งใหม่ เพราะคนเหล่านั้นคิดว่าความรู้ที่เชี่ยวชาญที่ตนมีในเรื่องแรก จะทำให้เราเก่งเรื่องที่สองด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นแบบนั้น
วันนี้ผมขออาสาสรุปและพาทุกคนเดินทางไปที่ “ภูเขาแห่งความโง่เขลา” ผ่าน 6 ช่วงสถานะของจิตใจเรา เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้แม่นยำมากขึ้นครับ
✅ช่วงที่ 1: Wall of Ignorance (กำแพงแห่งความไม่รู้)
.
เป็นช่วงแรกที่คุณเริ่มต้นจาก “ความไม่รู้ ความสงสัย ยังไม่มีความมั่นใจ” ในช่วงนี้คุณจะมีความกระตือรือร้นสูงในการเรียนรู้สิ่งใหม่ เมื่อได้เริ่มลองเรียนรู้ จะรู้สึกว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด ความมั่นใจจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้ว่าสิ่งที่เรารู้จะเป็นเรื่องพื้นฐาน เราจะคิดว่าตนเองเริ่มมีความรู้พอสมควร เราสามารถทำมันได้ และเอาเรื่องนี้มาคุยกับเพื่อน ๆ รอบตัว
.
1
✅ช่วงที่ 2: Peak of “Mount Stupid” (ยอดเขาแห่งความโง่เขลา)
.
หลังจากที่ได้เรียนรู้ไปสักระยะหนึ่ง ในสถานะนี้คุณจะคิดว่า “คุณรู้เกือบหมดทุกอย่างแล้ว” ความมั่นใจเพิ่มขึ้นจนถึงยอดเขา คุณรู้สึกดีมาก ๆ กับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาและรู้สึกเหนือกว่าผู้อื่น คุณคิดว่าสิ่งนี้มันง่ายมากสำหรับคุณ และสามารถใช้ความรู้ใหม่นี้ในการทำงานได้อย่างสบาย ๆ ในบางครั้งคุณอาจจะเผลออวดโอ้ความรู้กับคนรอบตัวของคุณได้
.
✅ช่วงที่ 3: Side of Awareness (ทางลาดแห่งการรับรู้)
.
สำหรับผู้ที่เรียนรู้ฝึกฝนมากขึ้น อยู่กับสิ่งนั้นนานขึ้น ได้รับข้อมูลใหม่ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน หรือมีคนมาถามรายละเอียดของสิ่งที่คุณเรียนรู้มาในช่วงแรก แน่นอนว่าบางคำถามคุณตอบไม่ได้ คุณจะเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เรารู้สิ่งนี้ดีพอแล้วจริงหรือ?” และคุณจะเริ่มได้คำตอบว่า สิ่งที่เรารู้มาเป็นเพียงผิวเผิน ยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้กับสิ่งนี้เลย ความมั่นใจที่เคยมีของคุณจะลดลงมาอย่างรวดเร็ว และพูดเรื่องนี้กับผู้อื่นน้อยลงเรื่อย ๆ
.
✅ช่วงที่ 4: Valley of Despair (หุบเหวแห่งความสิ้นหวัง)
.
ความมั่นใจของคุณลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนถึงก้นเหว คุณจะรู้สึกแย่กับความรู้น้อยของตนเอง เรารู้แล้วว่าจริง ๆ แล้ว “เราแทบไม่รู้อะไรเลย” บางคนล้มเลิกการเรียนรู้ แต่ถ้าคุณยังลุยสู้ต่อ คุณจะรู้ว่าคุณจะเป็นคนที่เปิดใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่มากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปความมั่นใจของคุณจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง
.
✅ช่วงที่ 5: Slope of Enlightenment (เนินเขาแห่งการตื่นรู้)
.
หลังจากที่คุณลุกขึ้นจากหุบเหวแห่งความสิ้นหวังได้ คุณจะเริ่มปีนไปยังเนินเขาแห่งการตื่นรู้ การที่ยอมรับความรู้น้อยของตนเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้อย่างยั่งยืน “คุณจะมีความถ่อมตัว ไม่หยุดเรียนรู้” ไม่อวดโอ้กับความรู้ที่คุณมีเพราะคุณรู้อย่างเต็มอกว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย และความมั่นใจของคุณจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
.
✅ช่วงที่ 6: Plateau of Sustainability (ที่ราบสูงแห่งความยั่งยืน)
.
การเรียนรู้ของคุณจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ควบคู่กับความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนคุณกลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ” และแม้ว่าคุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณก็ยังคงศึกษาเรื่องนั้น ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะคุณรู้ว่าความรู้ของคุณต้องอัพเดทอยู่ตลอด สิ่งที่เคยรู้มาอาจจะล้าสมัยไปแล้วก็ได้ จนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนนั้นเอง
.
.
📌#อาสาสรุป ถ้าจะสรุปการเดินทางในหุบเขาแห่งความโง่เขลา ผมขอสรุปเป็น 3 ขั้นได้ว่า
.
ขั้นที่ 1: คุณเริ่มเรียนรู้ในช่วงแรก เพราะคุณรู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร (I know what I don’t know)
.
ขั้นที่ 2: คุณเริ่มเกิดความมั่นใจจนเกินไป เพราะคุณไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร (I don’t know what I don’t know)
.
ขั้นที่ 3: คุณเริ่มเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองรู้และไม่รู้อะไร (I know what I know and I don’t know)
เพื่อป้องกันการเดินทางไปที่ยอดเขาแห่งความโง่ จึงอยากให้ทุกคนคิดอยู่เสมอว่า
.
1.เราอาจจะไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง และเราอาจจะไม่ได้ถูกต้องเสมอไป
.
2.ให้เปิดใจกับความเห็นที่แตกต่าง หรือ Feedback จากคนรอบข้าง
.
3.ลองตั้งคำถามกับความรู้เดิมที่เรามี และจงอัพเดทความรู้อยู่เสมอ
.
.
.
by
เอิ๊ก กฤตเมธ
เอ๊ะ ปริชญา
.
#MountStupid #ภูเขาแห่งความโง่เขลา
#TheConclusion
.
เข้ากลุ่มอาสาสรุป: http://bit.ly/TheConclusionGroup
.
.
The Conclusion Studio รับงานออกแบบ: https://www.instagram.com/theconclusion.studio/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา