7 ส.ค. 2022 เวลา 05:58 • ปรัชญา
เมื่อเราตั้งใจว่า สิ่งที่เราทำไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ได้เป็นภาระในสิ่งที่เราไป เพราะคนอื่นเค้าก็ไม่ได้ไปทำกับเราด้วย เค้าจะพูดอะไร ก็เรื่องของเค้า เราไปปฏิบัติธรรม เราไปเรียนรู้จัก การสร้างบุญกุศล ทำไมเค้าเรียกว่าบุญ บุญเกิดขึ้นจากอะไร เราไปปฏิบัติธรรม นำกายพ่อแม่ที่จิตเราอาศัยอยู่ไป สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม ฟังธรรม
ธรรมที่ท่านแสดงให้ฟัง ท่านก็บอกว่า ท่านไม่ได้บอกให้ฟังแล้วเชื่อ ไม่ได้บอกให้เชื่อ บอกให้ไปพิจารณาใคร่ครวญแล้ว พิจารณาใครครวญซ้ำแล้วซ้ำอีก ทดลองทำดูปฏิบัติธรรมดู เห็นประจักษ์ เขื่อเลยก็ไม่ได้ ยังต้องปฏิบัติธรรมให้เข้มแข็งขึ้นไปอีก นั่นมันเรื่องกายอารมณ์จิตที่จะไปพิจารณาเหตุผลของโลกของธรรม อะไรคือโลก อะไรที่เค้าเรียกว่าธรรม โลกเป็นอย่างไร ธรรมเป็นอย่างไร ก็ต้องเรียนรู้ด้วยจิตของตนเอง ไม่ใช่เรื่องที่จดจำ เอานั่งสมาธิ นั่งสมาธิท่านบอกให้ปล่อยวาง เรื่องราวที่จำมา ก็ต้องทิ้งไปให้จิตปราสจากธุลีกิเลส
ยิ่งเป็นเรื่องจิต อารมณ์ด้วยแล้ว ต้องพิจารณาด้วยจิตของผู้ที่ฟัง ฟังไม่ดี ก็คิดว่าเค้าว่าตนเอง มันก็เกิดเป็นความวิปริตทางอารมณ์เกิดขึ้นที่ผู้ฟังอีกเหมือน เพราะคนเรานั้นชอบฟังในสิ่งที่ตนเองชอบอยากจะฟังอยากเห็นเท่านั้น
เมื่อเราจะออกจากบ้านไปวัดไปปฏิบัติธรรม เราก็ไม่กลับหลังหันไปมองดูบ้านอีก เพราะจะทำให้รู้สึกห่วงกังวลเรื่องนั้นเรื่องนี้ คิดว่าสำคัญ มันก็เป็นอารมณ์ให้คิดเรื่องนั้นเรื่องที่ค้าง ยังทำไม่เสร็จ เรื่องที่ต้องทำ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ไม่ได้ว่างเว้น
เพราะฉะนั้น เมื่อตั้งใจไปวัด ไปสร้างบุญกุศล ชวนใครไป ก็มีมีใครไป ใครชวนเราอยู่ เราก็ไม่อยู่ เราจะไปของเรา เพราะเรารู้ว่า เราไปทำอะไรให้แก่ตัวเรา นั้นก็คือ เราก็ให้เวลาอยู่กับโลก ทำการทำงาน อยู่บ้าน ดูทีวี ทำอะไรก็ต้องใช้อารมณ์ความคิด ไม่เคยหนุดนิ่ง เมื่อเราแบ่งเวลาไปหาธรรม เค้าไม่ไปเราก็ต้องไปคนเดียว เพราะการประพฤติปฏิบัติธรรม มันเรื่องของจิตใครจิตมัน ทำแทนกันไม่ได้
โฆษณา