7 ส.ค. 2022 เวลา 08:27 • การศึกษา
#TOP11ประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก 🏆🏆🏆
.
บทความนี้น่าจะเป็นบทความที่แม่ติ๊ดใช้เวลา research และเขียนยาวนานที่สุด มันจึงอาจจะยาวซักหน่อย แต่แม่ติ๊ดมั่นใจว่าคุณพ่อคุณแม่และคุณครูจะได้ประโยชน์และข้อคิดว่าทำไมจะประเทศเหล่านี้เค้าถึงได้รับเลือกให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก และเราจะนำมาปรับใช้ในการใช้เลี้ยงลูกหรือสอนเด็กๆ ของเราได้อย่างไร โดยไม่ต้องรอระบบ 😊
.
เมื่อพูดถึงประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ส่วนใหญ่เรามักนึกถึงประเทศ Finland และ Singapore กันใช่ไหมคะ จริงๆ แล้วมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีมากเหมือนกันที่เราไม่เคยได้ยินชื่อกันเลย วันนี้แม่ติ๊ดเลยพามาดูผลวิจัยของ World Economic Forum (WEF) ซึ่งใช้ตัวชี้วัดคือ “ความสามารถในการแข่งขันทั้ง 12 ด้าน (12 pillars of competitiveness)” ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่อง "การศึกษา" เขาทำวิจัยและจัดอันดับประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกไว้ดังนี้นะคะ
.
อันดับ 1 ประเทศฟินแลนด์ 🥇
แน่นอนว่าอันดับที่ 1 นี้เป็นของประเทศ Finland มาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมานะคะ Finland ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกเพราะมีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ดังนี้
🌟
1) การเรียนการสอนที่ไม่แบ่งตามความสามารถของเด็ก ซึ่งทำให้ช่องว่างระหว่างเด็กที่เก่งและไม่เก่งมีน้อยที่สุดในโลก
🌟
2) Finland เชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของเด็ก ดังนั้นเด็กๆ ของเขาจะมีการบ้านน้อยมากและแทบจะไม่มีสอบเลย ซึ่งแม่ติ๊ดก็เห็นด้วยมากๆ เลยเพราะคนเราจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่ออยูในสภาวะอารมณ์ที่เป็นสุข นอกจากนี้การเล่นจะทำให้เด็กได้ค้นพบตัวเองมากกว่าการยัดเยียดข้อมูลในห้องสี่เหลี่ยม (ในขณะที่ครูสอนไป เด็กก็อาจจะฝันกลางวันไปถึงสิ่งที่เค้าชอบนะ)
🌟
3) เน้นให้เด็กได้คิดอย่างอิสระ มีสอบบ้างแต่ไม่ได้มีค่านิยมการสอบอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างทางเอเชียบ้านเรา เพราะเค้าประเมินความรับผิดชอบของเด็กตลอดการเรียนการสอนแทนการวัดผลจากการสอบอย่างเดียว ซึ่งแม่ติ๊ดคิดว่ายุติธรรมมาก
🌟
4) เรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้
เช่นแทนที่เด็กจะมานั่งเรียนวิชาเลข วิทยาศาสตร์ สังคม ทีละชั่วโมง เค้าจะบูรณาการเป็นชั่วโมงเรียนด้านการบริการในร้านอาหาร เด็ก ๆ ก็จะได้ใช้ความสามารถแบบผสมผสาน ทั้งใช้การคิดสูตรอาหาร การคิดชื่ออาหารให้ดูน่าสนใจ การทำเมนู การคิดเงิน การสื่อสารกับลูกค้า เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ก็คือการฝึก soft skill ซึ่งเป็นทักษะที่โลกต้องการนั่นเอง
🌟
5) พ่อแม่มีความเชื่อใจในระบบโรงเรียนและคุณครู ส่วนคุณครูก็มีความเชื่อใจในตัวนักเรียน ความเชื่อใจทำให้ผู้ปกครองไม่เข้าไปแทรกแซงระบบของโรงเรียนมากเกินไป ผู้ปกครองที่นี่จะเชื่อมั่นในครูมากเทียบเท่ากับเชื่อใจในหมอเลยทีเดียว เพราะครูที่นี่ต้องจบปริญญาโทเท่านั้นและมีการคัดเลือกที่เข้มงวดมาก
🌟
6) ไม่มีการจัดลำดับโรงเรียน เพราะเชื่อว่าทุกโรงเรียนนั้นดีเท่ากันทำให้แต่ละโรงเรียนไม่แข่งกันเอง และเด็กก็ไม่รู้สึกถูกเปรียบเทียบ หรือต้องพยายามกวดวิชาเพื่อแย่งกันเข้าไปเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วแม่ติ๊ดเชื่อว่าโรงเรียนที่ดีคือโรงเรียนที่เหมาะสมกับ style การเรียนรู้ของเด็กและบริบทของครอบครัวด้วย
🌟
7) ให้เวลาเด็กพัก 15 นาทีหลังจากเรียนรู้ 45 นาที (อันนี้เป็นกฏหมายเลยนะ) ซึ่งความเชื่อนี้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาที่เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีประสิทธภาพสูงสุดในช่วง 20 นาทีแรก และการพักเช่นจิบน้ำทุก 10 นาที จะช่วยให้สมองเรา fresh ขึ้น ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธผลดีขึ้นมาก อันนี้ไม่ต้องเชื่อแต่ต้องลองดู ^^
😎 เด็กประถมที่นี่เรียนแค่ 4-5 ชั่วโมง เพราะจะได้มีเวลาพักและไป explore สิ่งที่เค้าสนใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าความรู้แห้งๆ ข้อนี้แม่ติ๊ดเห็นด้วยระดับ 10 เลย 5555
🌟
8 ) เน้นให้ครูมีความสุข คือให้ทำงานแค่ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อครูมีความสุขก็จะมีความคิดสร้างสรรค์และอยากจะสอนเด็ก ซึ่งข้อนี้แม่ติ๊ดเห็นใจครูไทยเป็นอย่างมากที่มีภาระนอกเหนือจากการสอนเยอะเกินไป
9) ไม่ว่าเด็กจะเลือกเรียนสายสามัญหรือสายอาชีพ ล้วนได้รับการยอมรับในคุณค่าเท่ากัน
10) ไม่มีการตัดสินเกรดจนถึง ป.4 เพราะเน้นเรื่องการเรียนรู้มากกว่า
11) เด็กทุกคนไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ก็ต้องเรียนวิชาจริยธรรมตั้งแต่ยังเล็ก
พูดมาซะยาว ต้องชื่นชมเค้าหน่อยสำหรับการเป็นที่ 1 ที่เหมาะสมมากๆ เลยใช่ไหมคะ ^^
🙂
อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ 🥈
เมื่อนึกถึงสวิตเซอร์แลนด์ เรามักนึกถึงหลักสูตรการโรงแรมที่มีชื่อเสียงมายาวนานใช่ไหมคะ นอกจากนี้สวิตเซอร์แลนด์ยังเป็นประเทศที่มีคนที่ได้รับรางวัลโนเบลเยอะมากที่สุดอันดับ 2 ของโลกอีกด้วย
สำหรับการศึกษาในระบบ สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เด็กถึง 95% เรียนในโรงเรียนของรัฐ ครูในสวิตเซอร์แลนด์ได้เงินเดือนค่อนข้างสูง
โรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์จะสอนเป็นภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่เด็กอยู่ และในระดับมัธยมเป็นต้นไป เด็กๆ จะถูกแบ่งให้เรียนตามความสามารถและความถนัด
🙂
อันดับ 3 ประเทศเบลเยียม 🥉
เบลเยียมเป็นประเทศที่ใชงบประมาณแผ่นดินทุ่มให้กับการศึกษามากที่สุดเพราะเขาเล็งเห็นความสำคัญของการมีระบบการศึกษาที่จะช่วยพัฒนาประชากรของเขา ที่เบลเยียมจะมีการแบ่งประเภทของโรงเรียนมัธยมศึกษาออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ โรงเรียนมัธยมทั่วไป โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวะ และสถาบันศิลปะ
🙂
อันดับ 4 ประเทศสิงคโปร์ 🏅
เย้ๆ หลังจากเป็นประเทศในยุโรป 3 อันดับแล้ว ในที่สุดก็มีประเทศเอเชียของเราขึ้นมาในอันดับที่ 4 นะคะ และแน่นอนว่าจะเป็นประเทศอื่นไปไม่ได้ นอกจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเด็กของเค้าทำคะแนนได้สูงลิ่วทีเดียวในการสอบ PISA (ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่ไทยเราได้ที่แบบรั้งๆ ท้ายนั่นแหละ)
ซึ่งแม่ติ๊ดก็ไม่แปลกใจหรอกค่ะ เพราะเด็กสิงคโปร์เรียนหนักมาก
เป็นระบบที่เน้นวิชาการมากๆ (ข้อดีคือเด็กมีพื้นฐานวิชาการที่ดี) จำได้ว่าสมัยที่น้อง Tony เรียนอยู่ในระบบสิงคโปร์ช่วงอนุบาลถึงประถม เค้าเรียนกัน advance มากกว่าโรงเรียนทั่วไปประมาณ 2 ชั้นปีเลยทีเดียว การบ้านก็เยอะและยากมาก เสาร์อาทิตย์แทบไม่ต้องไปไหนกันเลยทีเดียว ทำให้เด็กเครียดเกินไปและไม่ค่อย
มีเวลาพักผ่อน ในประเทศสิงคโปร์เอง อัตราเด็กฆ่าตัวตายก็สูง เพราะมีการแข่งขันและคาดหวังสูงทั้งจากพ่อแม่และสังคม
แต่ตอนนี้ระบบเดิมๆ ของสิงคโปร์กำลังถูกปรับอย่างสุดขั้วโดยรัฐบาลเพื่อตอบรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่ระบบแบบเดิม (แม้เคยสำเร็จอย่างสูงมาก่อน) ไม่ได้ตอบโจทย์อีกต่อไป โดยที่จะเน้นหลักการ Lifelong learning ที่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากการลงมือทำมากขึ้น สร้างประชากรที่ skillful และค่อยๆ ยกเลิกการสอบที่เข้มงวดในชั้นปีต่างๆ
ต้องขอชื่นชมวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่เห็นถึงความเร่งด่วนในการสร้างประชากรรุ่นใหม่ที่จะสามารถอยู่รอดได้อย่างดีในอนาคต รัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานชือว่า SkillsFuture Singapore (SSG) (ซึ่งก็คือคณะกรรมการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่วางนโยบายและจัดงบประมาณพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ให้กับแรงงานและประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กนักเรียน ผู้ที่ทำงานในทุกระดับ โดยโครงการนี้เริ่มต้นไปเมื่อปลายปี 2017 และมีการอบรมทักษะอนาคต 8 ด้านที่เป็นที่ต้องการของ
ตลาดแรงงาน คือ Data Analytics, Finance, Tech-enabled Services, Digital Media, Cyber Security, Entrepreneurship, Urban Solutions และ Advanced Manufacturing
จะเห็นว่าในโลกยุคหน้า ความสามารถในการปรับตัวมีความสำคัญกว่าการเก่งวิชาการหรือมีความรู้มาก เพราะโลกเปลี่ยนเร็วกว่าที่เราคิดมาก เราจึงต้องการผู้นำรุ่นใหม่ที่ alert และมี vision และลงมือทำอย่างจริงจังนะคะ
🙂
อันดับ 5 ประเทศเนเธอร์แลนด์ 🏅
เรากลับมาที่ยุโรปประเทศที่ 4 กันนะคะ
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไม่ได้ต้องการแค่ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ "ดี" แต่เขามีเป้าหมายให้ประเทศมีระบบการศึกษาที่ "ดีเยี่ยม" และ "เท่าเทียม" กันทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน
🌟
จุดเด่นของระบบการศึกษาในประเทศนี้คือ "การให้อิสระ" เด็กสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างเต็มที่ คุณครูก็สามารถใช้วิธีการสอนได้ตามที่ตนถนัด ส่วนเรื่องของการบริหารรัฐบาลก็ปล่อยให้ทางโรงเรียนเป็นคนจัดการโดยจะไม่เข้าไปแทรกแซง ทั้งนี้การให้อิสระไม่ใช่การปล่อยแบบไม่มีขอบเขต แต่อยู่ภายใต้บริบทว่าครูต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่สอน และเป็นคนที่เปิดรับเพื่อพัฒนาตนเองด้วย เพื่อให้ครูสามารถเข้าถึงนักเรียนให้ได้ดีที่สุด จึงจะสามารถถ่ายทอดทักษะความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
🌟
รัฐบาลได้จัดตั้งโครงการชื่อว่า "School Ann Zet" ขึ้นมาเพื่อให้คุณครูในแต่ละภาควิชา ได้มาคุยกันถึงแผนการสอนในอนาคตของตัวเองทุกเดือน และมาแลกเปลี่ยนความคิดกันเพื่อสร้างแผนการสอนที่มีประสิทธิผลมากขึ้นร่วมกัน
🌟
นอกจากนี้ วิธีหนึ่งที่โรงเรียนในเนเธอร์แลนด์ใช้เพื่อพัฒนาการสอนของครูอย่างได้ผลดีคือ เมื่อครูคนหนึ่งสอน จะให้ครูอีกคนจะเข้ามาสังเกตการณ์ และบันทึกลักษณะการสอน รวมถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กเอาไว้ จากนั้นก็จะมาช่วยกันหาจุดเด่นและจุดด้อยของการสอนดังกล่าว เพื่อที่จะได้ช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
ซึ่งวิธีการดังกล่าวทำให้ผลวิจัยของ Unicef พบว่า เด็กชาวเนเธอร์แลนด์เป็นเด็กที่มีความสุขที่สุดในโลก นั่นเป็นเสียงสะท้อนที่ดีถึงระบบการศึกษาที่มีประสิทธิผล เด็กๆประถมที่นี่จะไม่ค่อยมีการบ้านค่ะ (สังเกตว่าโรงเรียนในยุโรปส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้ซึ่งต่างจากทางเอเชียเราที่เน้นวิชาการอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างสมำ่เสมอตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาลซะอีก 555)
🙂
อันดับ 6 ประเทศกาตาร์ 🏅
เป็นทีของประเทศในตะวันออกกลางบ้างแล้ว ^^
กาตาร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลให้กับการศึกษา โรงเรียนรัฐบาลเรียนฟรีสำหรับผู้ที่มีสัญชาติกาตาร์ และมีการจัดตั้ง "เมืองการศึกษา" ที่กรุงโดฮา (Doha) เมืองหลวงของประเทศ ให้เป็นแหล่งความรู้ชั้นนำระดับโลก และเป็น hub การร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้จากองค์กรทางการศึกษาและธุรกิจทั่วโลก ที่นี่มีมหาวิทยาลัยที่เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยที่
มีชื่อเสียงอันดับโลกหลายแห่ง เช่น Virginia Commonwealth University (เก่งด้านวิจัยการแพทย์), Weill Cornell Medical College (คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Cornell, USA), Texas A&M University (มีชื่อเสียง
ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์), Carnegie Mellon University, Georgetown University School of Foreign Service in Qatar (มีชื่อเสียงด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์), Northwestern University, HEC Paris (โรงเรียนธุรกิจที่ติดอันดับโรงเรียนธุรกิจที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของยุโรป), UCL Qatar (มหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK)
🌟
แม่ติ๊ดมีข้อสังเกตว่า ยุคนี้เป็นยุคของการ collaboration การเอาคนเก่งๆ มาทำงานร่วมมือกัน เราจะสามารถสร้างสรรค์ผลลัพธ์ได้ยิ่งใหญ่กว่า one man show
🙂
อันดับ 7 ประเทศไอร์แลนด์ 🏅
เรากลับมาที่ยุโรปประเทศที่ 5 ^^
ประเทศไอร์แลนด์เป็นประเทศที่รัฐให้บริการด้านการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับชั้นประถมจนถึงระดับปริญญาตรีสำหรับนักเรียนชาวไอร์แลนด์ และรวมถึงนักเรียนในแถบยุโรปในประเทศที่เป็นพันธมิตรด้วย โอ้โห สุดยอดมากๆ เลยใช่ไหมคะสำหรับสวัสดิการรัฐแบบนี้ ^^
🙂
อันดับ 8 ประเทศเอสโตเนีย 🏅
ยุโรปยังครองแชมป์ ^^
หลายๆ คนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อประเทศนี้ใช่ไหมคะ จริงๆ แล้วเอสโตเนียเป็นประเทศเล็กๆ ทางตอนเหนือของยุโรป ที่มีทัศนียภาพสวยงามและระบบการศึกษาก็ไม่เป็นรองใคร นอกจากนี้เอสโตเนียยังได้รับการรับรองความมีชื่อเสียงในหลายๆ เรื่องๆ เช่น
🌟
1) ประชาชนเอสโตเนียมีคุณภาพชีวิตที่ดี ติด list อันดับที่ 11 ของโลก จากผลสำรวจของ Numbeo Quality of Life Index 2019
2) จากรายงานของ CNBC เผยว่า ประเทศเอสโตเนียได้พัฒนาขึ้นมาเป็นหนึ่งในสังคมที่มี "ความชำนาญด้านเทคโนโลยี" มากที่สุดในโลกอีกด้วย
3) เมืองหลวงอย่าง ทาลลินน์ ได้รับการยกย่องจาก intelligent community organization ให้เป็นหนึ่งในเจ็ด "ชุมชนที่ฉลาดที่สุดในโลก"
ผู้นำประเทศของเขามุ่งเน้นความเป็นเลิศเรื่อง เทคโนโลยี เพราะเล็งเห็นความจำเป็นอย่างมากของเทคโนโลยีในโลกอนาคต รัฐบาลประกาศให้อินเตอร์เน็ต เป็น “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน”
ที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และให้โรงเรียนทุกแห่งมีคอมพิวเตอร์และเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้งานเป็นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา
🌟
ในปี 2000 ประชากรทุกคนทั่วประเทศมีอินเตอร์เน็ตใช้ฟรี เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงความรู้บนโลกออนไลน์อย่างเท่าเทียมกัน
ไม่น่าเชื่อว่าเอสโตเนียใช้เวลาเพียง 20 ปีในการพลิกจากประเทศที่ยากจนมาเป็นประเทศที่พัฒนาในปัจจุบัน
🌟
ในปี 2015 ผลคะแนนสอบ PISA ของเด็กเอสโตเนียอยู่อันดับ 3 ของโลกทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรองเพียงสิงคโปร์กับญี่ปุ่นเท่านั้นเอง
นอกจากนี้ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพของที่นี่ก็ไม่แพงด้วยค่ะ
🙂
อันดับ 9 ประเทศนิวซีแลนด์ 🏅
จริงๆ นิวซีแลนต์ก็เป็นตัวเลือกยอดนิยมอีกหนึ่งประเทศของคุณพ่อคุณแม่ที่ส่งลูกไปเรียนต่อต่างประเทศ ด้วยความรู้สึกว่าเป็นประเทศที่ปลอดภัยและไม่มีสิ่งยั่วยวนกิเลสลูกมากนัก ^^
แม้ว่า World Economic Forum (WEF) จะจัดให้นิวซีแลนด์เป็นอันดับ 9 ก็ตาม จากผลวิจัย
ของ The Economist Intelligence Unit : EIU ซึ่งเป็นฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสารชื่อดังระดับโลกอย่าง THE ECONOMIST ได้ยกรางวัล Yidan ซึ่งเป็นรางวัลระดับสากลสำหรับประเทศที่มีนวัตกรรมด้านการวิจัยทางการศึกษาและการพัฒนาด้านการศึกษาดีที่สุดให้กับนิวซีแลนด์ และนิวซีแลนด์ได้รับคะแนนสูงสุดในการเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมกับการเรียนการสอนมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมาจาก 2 เหตุผลด้วยกัน คือ
1. สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในอนาคต (Future skill)
2. รัฐบาลมีแนวทางจัดการระบบการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
🙂
อันดับที่ 10 ประเทศบาร์เบโดส 🏅
บาร์เบโดสเป็นเกาะทางตะวันออกของทะเลแคริบเบียน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรฐานชีวิตและความสามารถในการอ่านออกเขียนได้สูงที่สุดในโลกที่กำลังพัฒนาคือ 98% (ผลวิจัยจาก UNDP) เนื่องจากรัฐบาลใช้งบลงทุน
มหาศาล ในการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศเด็กๆ ที่บาร์เบโดสส่วนใหญ่จะเรียนในโรงเรียนรัฐบาล
.
ขอแถม 1 อันดับ เพราะเป็นประเทศในเอเชียของเรา ^^
อันดับ 11 ประเทศญี่ปุ่น 🏅
นอกจากเรื่อง "วินัย" ซึ่งถือว่า trademark ของญี่ปุ่นแล้ว ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่านออกเขียนได้ วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ แต่ภายใต้ Asian culture เรื่องวิชาการยังเป็นเรื่องที่ถูกยกให้เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในระดับมัธยม เด็กๆ ต้องเรียนหนักและกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ
🌟
จุดเด่นของระบบการศึกษาญี่ปุ่น คือ
1) เด็กๆ จะไม่มีการจัดสอบจนกว่าจะถึงชั้นเกรด 4 (อายุประมาณ 10 ขวบ) เพราะเขาเชื่อว่า ช่วง 3 ปีแรกในโรงเรียนควรมุ่งเน้นไปที่การสอนให้เด็กรู้จักเคารพผู้อื่น มีความเป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม การรู้จักรับผิดชอบตัวเอง
มากกว่าการมอบความรู้วิชาการมากมาย (ข้อนี้ดีมากมาย)
🌟
2) นักเรียนทุกคนจะต้องช่วยกันทำความสะอาด ห้องเรียน โรงอาหาร และห้องน้ำ เพราะโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีภารโรง
ด้วยแนวคิดที่ต้องการสอนให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
🌟
3) ครูและนักเรียนทุกคนจะได้รับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกันในห้องเรียนของตัวเองเพื่อร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน (อันนี้เราไม่เห็นในโรงเรียนไทยที่คุณครูและนักเรียนแยกโต๊ะกันนั่ง)
🌟
4) มีกฏให้นักเรียนต้องเดินทางไปโรงเรียนด้วยตนเองไม่ว่ารวยหรือจน ซึ่งทำให้เิกดประโยชน์หลายอย่างเช่น การช่วยเหลือและรับผิดชอบตัวเองได้ดี ซึงส่งผลให้เด็กทำให้มี self esteem, ลดปัญหาการจราจร, แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง, และส่งเสริมให้เด็กๆ ในละแวกเดียวกันได้รู้จักกันอีกด้วย
🏆🏆🏆
การสร้างความสำเร็จที่ง่ายที่สุดคือการ model คนสำเร็จ ลองดูนะคะว่า mindset หรือเทคนิคอันไหนดี เอามาปรับใช้เป็นของเรา แม่ติ๊ดเชื่อว่าเราจะสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้กับประเทศและโลกนี้กันมากขึ้น
โฆษณา