Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2022 เวลา 06:09 • สุขภาพ
น้ำลาย คืออะไร ?
น้ำลายมีส่วนประกอบของน้ำถึง 98% อีกอีกส่วนที่เหลือ จะประกอบไปด้วย อิเล็กโทรไลต์ เมือก สารยับยั้งแบคทีเรีย เอนไซม์ชนิดต่าง ๆ
โดยหน้าที่หลัก ๆ ของน้ำลายคือการย่อยแป้งที่อยู่ในอาหาร เป็นหนึ่งในกระบวนการย่อยอาหาร คอยชะล้างเศษอาหารในช่องปากลดการเน่าเสียจากแบคทีเรีย
แถมยังคอยปกป้อง ฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางส่วนภายในช่องปากอีกด้วย
น้ำลาย คืออะไร ?
น้ำลาย มีประโยชน์อย่างไร ?
ก่อให้เกิดความชุ่มชื่นในช่องปาก และป้องกันเนื้อเยื่อในช่องปากจากอันตรายต่าง ๆ ระหว่างการเคี้ยว การกลืน และการพูดคุย
1. ช่วยในการย่อยอาหาร น้ำลายช่วยทำให้อาหารมีความนุ่มง่ายต่อการย่อย และยังมีองค์ประกอบของเอนไซม์ Amylase และ Lipase ที่ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน ตามลำดับ ก่อนส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
2. ช่วยป้องกันฟันผุ โดยน้ำลายทำหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์จากองค์ประกอบของอิเล็กโทรไลท์ ควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมในช่องปากถ้าส่วนนี้ถูกรบกวน เกิดความเป็นกรดที่สูงขึ้น จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดความเป็นด่างที่สูงขึ้น จะมีโอกาสเกิดหินปูนได้มาก ทำให้เกิดโรคปริทันต์
3. ช่วยในการรับรส โดยส่งเสริมการทำหน้าที่ของปุ่มรับรส เราจะสังเกตเห็นได้ว่าในคนไข้ที่มีน้ำลายน้อย เช่น ผู้สูงอายุ หรือคนไข้ที่ทานยาที่มีผลต่อการลดการหลั่งน้ำลาย มักจะมีการรับรสที่ผิดปกติ
4. ในน้ำลายมีสารที่ฆ่าเชื้อโรคได้ คือ สารอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) แลคโตเฟอริน และแลคโตเพอร์ออกซิเดส เวลามีแผลในปาก สารเหล่านี้จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น ฆ่าเชื้อโรคได้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้น้ำลายมีประโยชน์มากมาย แต่ในขณะเดียวกันน้ำลายอาจเป็นส่วนที่แพร่กระจายเชื้อโรค ทำให้เกิดโรคติดต่อจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งได้เช่นกัน เช่น โรคเริม โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น
รสชาติน้ำลาย อาจกำลังบอกโรค
น้ำลายหวาน
แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องดีที่ชีวิตเต็มไปด้วยความหวาน แม้แต่ดื่มน้ำเปล่าก็รู้สึกถึงรสหวาน หรือหวานอมเค็มเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วนี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงระบบย่อยอาหารที่ทำงานผิดปกติต่างหาก
เพราะเอ็นไซม์ที่ผิดปกติไป โดยเฉพาะเอ็นไซม์อะมีเลส (Amylase) ในน้ำลายของเรา ยิ่งผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีน้ำตาลปะปนอยู่ในน้ำลายปริมาณมากตามไปด้วย หากรู้สึกถึงรสชาติหอมหวานเหมือนน้ำผลไม้อยู่ในปาก แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานรุนแรง ควรพบแพทย์โดยด่วน
น้ำลายเค็ม
หากคุณมีความรู้สึกถึงรสชาติเค็มๆ ในปาก เหมือนมีเกลือเม็ดเล็กๆ ซุกซ่อนอยู่ตามซอกนั้นซอกนี้ตลอดเวลา กินอะไรก็กลายเป็นเค็มไปหมด ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายของเรากำลังเกิดการอักเสบอยู่ มีความเสี่ยงจะเป็นโรคคออักเสบเรื้อรัง โรคไตอักเสบเรื้อรัง หรือแผลอักเสบในปาก
น้ำลายเปรี้ยว
ผู้ป่วยที่กระเพาะอาหารอักเสบหรือลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นแผล ร่างกายจะมีการหลั่งกรดออกมามากกว่าปกติ ซึ่งกรดเหล่านั้นจะมีรสเปรี้ยว ทำให้ในปากและลำคอรู้สึกได้ถึงรสชาตินั้นตามไปด้วย อาจมีอาการแสบร้อนจากกรดร่วมอยู่ด้วย หากสงสัยว่าผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอย่างถูกวิธี
น้ำลายเผ็ด
หากรู้สึกเผ็ดหรือซ่าในคอ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันเลือดสูง โรคเกี่ยวกับจิตประสาทแปรปรวน ด้วยเหตุที่รสเผ็ดนั้นเป็นรสชาติที่มีรสเค็มผสมอยู่ด้วย อุณหภูมิของลิ้นจะอุ่นกว่าปกติเมื่อเรากินของเผ็ด ๆ เข้าไป และจะมีความไวต่อรสเค็ม ทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ง่ายจากความรู้สึกร้อนและเจ็บแสบผสมเข้าด้วยกัน
น้ำลายจืด
หากเกิดภาวะน้ำลายจืด ในปากไม่รับรู้รสชาติใด ๆ กินอะไรก็ไม่อร่อย อาจะเป็นภาวะบ่งบอกถึงอาการความรู้สึกรับรสเสื่อมถอย ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคลำไส้อักเสบ โรคบิด โรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร หรือกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด และอาการนี้มักพบมากในผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด
น้ำลายฝาด
ช่วงไหนปั่นงานดึก เตรียมรอรับรสชาติฝาด ๆ ในปากไว้ได้เลย เพราะรสชาติฝาดของน้ำลายบ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการปรับชีวิต เปลี่ยนเวลานอนให้เพียงพอ หากนอนไม่หลับก็อาจจะปรึกษาหมอขอเพิ่มเมลาโทนินหรือยาระงับความเครียดเพื่อให้พักผ่อนได้เต็มที่ยิ่งขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ก็อาจสัมผัสได้ถึงรสฝาดและขมด้วยเช่นกัน
ปริมาณ น้ำลาย/วัน ในมนุษย์
น้ำลายมีความสำคัญอย่างมาก ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นต่อการหลั่งน้ำลายที่น้อยลง ด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิเช่น ภาวะสูงอายุ ยาที่มีผลลดการหลั่งน้ำลาย โรคทางระบบ เช่น เบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลต่อต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำลายติดเชื้อ ซึ่งจะมีผลต่อต่อมน้ำลาย เมื่อต่อมน้ำลายมีความผิดปกติ หลั่งน้ำลายได้น้อย จะส่งผลให้เกิดสภาวะปากแห้งเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ โรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ น้ำลายไม่ใช่แค่ของเหลวธรรมดา ๆ
แต่เป็นของเหลวที่ถูกสร้างขึ้นจากร่างกายมีความสำคัญช่วยทำให้เราดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หากเรามีความผิดปกติของน้ำลาย หรืออยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการหลั่งน้ำลายน้อย เราควรจะสังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และควรมีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพช่องปากเป็นพิเศษด้วยตนเองจากทันตแพทย์และแพทย์
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://dt.mahidol.ac.th/th/ความสำคัญของน้ำลาย-2/
https://www.idolsmiledental.com/เช็คด่วน-ลักษณะน้ำลาย-บ/
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/490559
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
สุขภาพ
9 บันทึก
16
3
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
9
16
3
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย