7 ส.ค. 2022 เวลา 10:54 • การศึกษา
การเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต VS ภาษี >>>
ในช่วงนี้หลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังมองหาแหล่งเงินทุนสำหรับนำมาหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน หรือ นำมาใช้ต่อยอดธุรกิจ และ 1 ในเงินที่เคยเก็บสะสมไว้ก็คือ เงินออมหรือเงินลงทุนที่สะสมไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
แต่ช้าก่อน ก่อนตัดสินใจเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ลองทบทวนดูซักนิดว่า
1. ท่านได้นำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
2. ระยะเวลาการนำส่งค่าเบี้ยประกันชีวิต เกิน 10 ปีแล้วใช่หรือไม่
เหตุผลที่ต้องทบทวน 2 ข้อนี้ เนื่องจาก
(1) หากท่านไม่เคยนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ย่อมไม่มีภาระผูกพันที่จะต้องคืนภาษีกับกรมสรรพากร
(2) หากท่านเคยนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งพิจารณาเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 ท่านได้ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตครบ 10 ปี แล้ว และทำการเวนคืนในปีที่ 11 เป็นต้นไป ท่านไม่ต้องคืนภาษีกับกรมสรรพากร
กรณีที่ 2 ท่านชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตยังไม่ครบ 10 ปี เช่น ชำระมา 6 ปี และจะเวนคืนในปีที่ 7 ท่านจะต้องยื่นแบบ ภงด.91 หรือ ภงด.90 (เพิ่มเติม) คืนลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตที่เคยใช้ไปในแต่ละปี + เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน คืนภาษีแก่กรมสรรพากร
ดังนั้น ก่อนเวนคืนกรมธรรม์ อย่าลืมพิจารณาผลกระทบที่จะตามมาในเรื่องของภาษีกันด้วยนะคะ
(อ้างอิง ข้อหารือภาษีอากร ที่ กค.0702/9655 ลว.6 ธ.ค.2554)
#การเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต #ภาษีเมื่อเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต
เพจ VI Style by MooDuang
โฆษณา