Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เรื่องสัตว์ๆ
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2022 เวลา 01:08 • การศึกษา
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนที่ 42 | โรคสัตว์สู่คน (ZOONOSES)
ที่ผ่านมาโลกของเรามีโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนมากมาย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิด – 19 เป็นโรคที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เพราะกว่า 2 ปีแล้วที่ผู้คนทั่วโลกต้องอยู่กับโรคนี้และยังไม่รู้จะต้องอยู่ไปอีกนานแค่ไหน...
แต่ความจริงที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ ในอนาคตเราอาจยังต้องเผชิญกับโรคระบาดอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ไม่แพ้กับโรคโควิด -19 ก็เป็นได้หากเราจะไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่บียดเบียนธรรมชาติ
https://www.cdc.gov/onehealth/basics/zoonotic-diseases.html
การเกิดขึ้นของโรคโควิด -19 ได้เปลี่ยนโลกของเราไปตลอดกาล เพราะโรคนี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
โควิด-19 ได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหาระดับโลกขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายที่นานาประเทศจะต้องหาทางรอดเพื่อดำรงชีวิต และได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางบวกและลบ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รู้เรื่องสัตว์ ๆ ในตอนนี้อยากจะถ่ายทอดก็คือการเกิดโรคระบาดโดยเฉพาะโรคสัตว์สู่คนในปัจจุบันและอนาคตนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์นั่นเอง
โดยกิจกรรมเหล่านี้ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคระบาดมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยแรงขับเคลื่อน (drivers) ที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (land-use change) การค้าสัตว์ป่า (wildlife trade) การทำปศุสัตว์แบบเข้มข้น (intensified livestock production) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)
https://www.thelancet.com/journals/lanplh/article/PIIS2542-5196(21)00258-8/fulltext
นั่นคือ การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน กลายเป็นที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่เกษตรกรรม การบุกรุกป่าเพื่อจับสัตว์ป่าไปขายหรือแม้แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว้ลยแม้แต่น้อย
เพราะวันหนึ่งโลกของเราอาจต้องเผชิญกับโรคระบาดอื่น ๆ ได้อีกหากมนุษย์ยังคงทำกิจกรรมเหล่านี้ต่อไปซึ่งคงไม่มีใครอยากให้มีโรคระบาดแบบนี้เกิดขึ้นอีก
เพราะเราทุกคนล้วนรู้ดีว่าโรคนี้ได้สร้างความเสียหายและการสูญเสียทั่วโลกมากขนาดไหน
และวันนี้ก็จะขอนำทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคสัตว์สู่คนที่พบบ่อยจากอดีตสู่ปัจจุบันโดยเฉพาะโรคที่มีพาหะนำโรคเป็นสัตว์ป่าค่ะ
🐀โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
เอ๊ะ! ไหนบอกว่าเน้นโรคที่มีสัตว์ป่าเป็นพาหะนำโรค ก็ต้องบอกว่าพาหะนำโรคฉี่หนูนั้นไม่ได้มีแค่หนูเท่านั้น
แต่ยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด ได้แก่ สุนัข โค กระบือ ค้างคาว สุกร แพะ แกะ ที่สามารถแพร่เชื้อโรคฉี่หนูได้ โดยโรคนี้เป็นโรคที่ระบาดบ่อยในฤดูฝน
โรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยคนมักติดเชื้อในขณะเดินเหยียบดินโคลน แช่น้ำท่วม หรือว่ายน้ำ หรืออาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสเชื้อในปัสสาวะ เนื้อเยื่อ หรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ
🦠กาฬโรค (Plague)
กาฬโรค นับเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุด เลวร้ายที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา จึงมีชื่ออีกชื่อว่า ‘มรณะดำ’
เป็นโรคระบาดที่เกิดจากแบคทีเรีย Yersinia pestis ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไปประมาณ 200 ล้านคนเลยทีเดียว!
ปัจจุบันโรคนี้ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแค่มนุษย์สามารถควบคุมได้ดีขึ้น โดยเชื้อกาฬโรคเป็นเชื้อที่พบตามธรรมชาติในสัตว์ฟันแทะในป่า เช่น กระรอก กระจง หนู แมว สามารถติดเชื้อได้ง่าย
โรคเอดส์🐒
โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส HIV ในอดีตเป็นโรคติดต่อร้ายแรงและสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ความก้าวหน้าทางวิทยาการแพทย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้
จากการสันนิษฐานคาดว่าโรคเอดส์น่าจะมาจากลิงในทวีปแอฟริกาเป็นพาหะนำโรค โดยต่อมาได้มีการติดเชื้อไวรัสจากลิงมาสู่คน และวิวัฒนาการจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
โรคไข้หวัดนก (Bird Flu)🕊
โรคไข้หวัดนก มีสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด เป็นพาหะนำโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยสัตว์ที่ป่วย อาจแสดงอาการป่วยตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรงมากขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับ
เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรครุนแรงที่สุด คือ ชนิด H5 หรือ H7 โดยส่วนใหญ่คนจะติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิด
โรคอีโบลา🦍
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2519 เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน
โรคนี้ถูกนำเข้าสู่ประชากรมนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ
ในแอฟริกามีหลักฐานว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นได้จากการจับต้องสัตว์ติดเชื้อได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวกินผลไม้ ลิง แอนติโลปป่า และเม่น สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก
โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่มีอาการรุนแรงและมักจะถึงแก่ชีวิต มีอัตราป่วยตายที่สูงได้ถึง 90% ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาจำเพาะ
โรคซาร์ส🦡
โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) หรือโรคทางระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง โดยมีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ ชะมด แรคคูน และค้างคาว
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Coronavirus เดิมพบการติดเชื้อนี้ได้เฉพาะในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก แต่ต่อมามีการกลายพันธุ์ เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ขึ้น และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
โรคเมอร์ส (MERS)🐪
โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East respiratory syndrome coronavirus: MERS-CoV) หรือโรคเมอร์ส เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โคโรน่า (MERS-CoV) ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดิอาระเบียในปี ค.ศ. 2012 โดยการติดต่อจากอูฐสู่คนและต่อมาได้แพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี จอร์แดน ตูนีเซีย และกาตาร์
ในการระบาดช่วงแรกๆ นั้นพบว่า ผู้ป่วยโรคเมอร์สมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60-70% ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้ลดลงเหลือประมาณ 20-30% แล้วก็ตาม แต่ก็ยังนับว่าเชื้อไวรัส MERS-CoV ก่อให้เกิดโรคติดต่อที่อันตราย
โรคโควิด-19 (Covid-19)🦇
เป็นโรคที่เกิดขึ้นในปลายปี 2019 เริ่มระบาดจากประเทศจีน โดยสองปีกว่าที่ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่า 580 ล้านคนและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกกว่า 6 ล้านคน
ปัจจุบันสันนิษฐานว่าโรคโควิด-19 อาจมีที่มาจากค้างคาว งูหรือตัวลิ่น ในตลาดค้าสัตว์ เมืองอู่ฮั่น
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)🦧
เป็นโรคระบาดใหม่ที่กำลังถูกจับตามองแม้จะมีความรุนแรงของโรคไม่มากก็ตามโดยเป็นโรคที่นอกจากจะพบในสัตว์ตระกูลลิงแล้วยังพบในสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า อีกด้วย
สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ หรือรับประทานสัตว์ที่ไม่สุก และหากสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วยหรือสิ่งของปนเปื้อนก็สามารถติดเชื้อได้
อ้างอิง
●
https://www.gedgoodlife.com/health/30104-zoonoses/
●
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/โรคเมอร์ส
●
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/โรคระบาด-เชื้อไวรัส
●
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/zoonoses
●
https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/329
การศึกษา
สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย