8 ส.ค. 2022 เวลา 07:49 • ข่าวรอบโลก
รัฐซาบาห์ เป็นเพียงแค่ดินแดนที่มาเลเซียเช่า
และเบี้ยวไม่จ่ายเงินตั้งแต่ปี 2013 ทายาทสุลต่านฟ้องศาล
ตัดสินชดเชย 5.4 แสนล้าน ฟิลิปปินส์ทวงคืนดินแดน
9
กลายเป็นเรื่องใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนที่คนไทยแทบจะไม่รู้เรื่องเลยด้วยซ้ำ เมื่อศึกแย่งชิงรัฐซาบาห์ รัฐฝั่งตะวันออกไกลของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ที่กลายเป็นว่ารัฐแห่งนี้ไม่ใช่รัฐที่เป็นของมาเลเซียอย่างสมบูรณ์แท้จริง แต่เป็นรัฐที่มาเลเซียจะต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่สุลต่าน และทายาทมายาวนานนับร้อยปี เพื่อใช้พื้นที่รัฐแห่งนี้ในการขยายเขตแดนด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างมหาศาลในภูมิภาค โดยเฉพาะสินแร่ และปิโตรเลี่ยม
9
เรื่องนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่เคยร่ำเรียนมาว่า รัฐที่อยู่ห่างออกไปจากแหลมมาลายูเป็นของมาเลเซียมาตลอด เพราะเมื่อมีการกล่าวถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ประเทศมาเลเซีย ก็มักจะรวมรัฐบนเกาะอันห่างไกลเข้าไปด้วยเสมอ
5
เรื่องของรัฐซาบาห์กลายเป็นประเด็นร้อนแรงระหว่างประเทศอีกครั้ง เมื่อหลังกลุ่มทายาทของสุลต่านแห่งซูลู ราชวงศ์ซึ่งเคยมีอิทธิพลในสมัยศตวรรษที่ 19 ซึ่งปกครองพื้นที่บางส่วนซึ่งเป็นรัฐซาบาห์ ได้ฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการในฝรั่งเศส เมื่อปี 2017 และศาลมีคำพิพากษาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลมาเลเซียต้องจ่ายเงินชดเชยเกือบ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 549,180 ล้านบาท แก่ทายาทของสุลต่านแห่งซูลู
8
เนื่องจากเป็นผู้รับช่วงต่อ ข้อตกลงที่ดินฉบับปี 1878 หรือเมื่อ 144 ปีที่แล้ว ระหว่างบริษัทบอร์เนียวเหนือชาร์เตอร์อังกฤษ ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของบริษัทบอร์เนียวเหนืออังกฤษ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคม กับสุลต่านแห่งซูลูองค์สุดท้าย
10
แม้ว่าอังกฤษจะยกเลิกกิจการและมาเลเซียได้ประกาศเอกราชแล้วเมื่อปี 1946 ก่อนที่ต่อมาพื้นที่รัฐซาบาห์จะถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซียในปี 1963 แต่รัฐบาลมาเลเซียยังคงมีการจ่ายเงินค่าเช่าต่อให้กับทายาทของสุลต่านซูลูมาตลอดร้อยกว่าปี ตามพันธกรณีจากสนธิสัญญาปี 1946 ที่ 5,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี หรือราว 189,793 บาท
12
แต่เมื่อปี 2017 จู่ๆ รัฐบาลมาเลเซียก็ประกาศว่าจะไม่มีการจ่ายเงินค่าเช่าให้กับทายาทของสุลต่านซูลูอีกต่อไป เพราะอ้างว่ารัฐซาบาห์เป็นของมาเลเซียไปแล้ว ทำให้ทางกลุ่มทายาทไปฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการ และศาลก็ได้มีคำตัดสินออกมาให้ชดเชยด้วยเงินมูลค่ามหาศาลดังกล่าว
11
ไม่เพียงเท่านั้นยังได้มีการสั่งยึดทรัพย์รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานอย่าง 'ปิโตรนาส' ที่ตั้งอยู่ในยุโรป 2 แห่ง ตามคำสั่งของศาล ซึ่งอยู่ในประเทศลักเซมเบิร์กคือ ปิโตรนาสอาเซอร์ไบจาน (ชาห์ เดนิซ) และ ปิโตรนาสเซาท์คอเคซัส อีกด้วย
3
ต้องยอมรับว่าผู้คนในรัฐฝั่งตะวันออกบนเกาะบอร์เนียว ไม่ได้มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมาเลเซียมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวถูกควบรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งได้โดยอังกฤษเป็นผู้มีอิทธิพลขีดเส้นดินแดนเอาไว้ เพื่อให้สามารถขยายอิทธิพลด้านการปกครอง และผลประโยชน์ของทรัพยากรในพื้นที่ที่เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
8
และเป็นการคานอำนาจกับเจ้าอาณานิคมที่ปกครองประเทศแถบนั้นเช่นกัน ทั้งฮอลแลนด์ ที่เคยปกครองดินแดนทั้งหมดของอินโดนีเซียในปัจจุบัน และสหรัฐฯ ที่เคยปกครองเหนือหมู่เกาะฟิลิปปินส์
1
อีกทั้งรัฐซาบาห์ และซาราวักยังได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ น้อยกว่ารัฐบนแหลมมาลายู งบประมาณต่างๆ ไปถึงน้อยมาก ทำให้รัฐทั้งสองบนเกาะบอร์เนียวมีการพัฒนาที่ล้าหลัง ระดับการรู้หนังสือยังของประชากรยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และระบบโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างทรุดโทรม ไม่สะดวกสบาย
12
แต่กลับเป็นรัฐที่สร้างรายได้ให้กับมาเลเซีย จากทรัพยากรธรรมชาติที่ล้นเหลือโดยเฉพาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่ารัฐนี้เป็นรัฐลูกนอกไส้ที่ผู้เป็นพ่อแม่หวังขูดรีดใช้งานไถเงิน แต่กลับให้การอุปถัมภ์ดูแลที่ไม่สมน้ำสมเนื้อเลย
5
🔵 ศึกแย่งชิง 3 ดินแดน มาเลเซีย ซาบาห์ ฟิลลิปปินส์
3
ศึกการแย่งชิงพื้นที่ของรัฐซาบาห์ ไม่ได้เป็นเพียงข้อขัดแย้งระหว่างรัฐบาลมาเลเซีย และกลุ่มทายาทของสุลต่านซูลูเท่านั้น แต่ไปเกี่ยวพันกับประเทศฟิลิปปินส์ ที่ก็มีประเด็นข้อพิพาทในพื้นที่ดังกล่าวเช่นกัน
1
เพราะอาณาจักรของสุลต่านแห่งซูลู ก็ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และทายาทของสุลต่านก็อาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ เรื่องนี้ทำให้ประเทศฟิลิปปินส์ก็ไม่พ้นถูกลากเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่พวกเขาอ้างว่าสนธิสัญญาในปี พ.ศ. 1946 เป็นสัญญาเรื่องการปล่อยเช่าไม่ใช่สัญญาที่ทำให้เกิดการถ่ายโอนอธิปไตยไปให้กับอีกฝ่าย
4
ทำให้ในปี พ.ศ. 1963 ฟิลิปปินส์ได้อ้างสิทธิอย่างเป็นทางการว่าพวกเขามีอธิปไตยเหนือพื้นที่อาณาเขตแห่งนี้ ข้อพิพาทนี้ยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์กับมาเลเซียเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
2
สำหรับกระแสข่าวที่เกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย นับว่าค่อนข้างช็อกคนมาเลเซียอย่างมาก เพราะความเชื่อตลอดหลาย 3 ชั่วอายุคนที่ผ่านมาคิดว่า รัฐซาบาห์เป็นของมาเลเซียอย่างสมบูรณ์มาโดยตลอด
9
แต่ในความจริงแล้วรัฐบาลจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าทุกปีให้แก่ทายาทของสุลต่านแห่งซูลู เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการใช้พื้นที่รัฐดังกล่าว
1
เหตุการณ์นี้ส่งผลเสียร้ายแรงกับรัฐบาลมาเลเซียอย่างมาก ด้วยการที่ตอนนี้ประเทศมาเลเซียมีเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่ค่อยมั่นคงอยู่แล้ว และตลอด 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียถูกโจมตีอย่างหนักเรื่องการคอรัปชั่น จากเรื่องอื้อฉาวการยักยอกเงินผ่านโครงการ 1MDB มูลค่า 1.44 แสนล้านบาท โดยนายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรี
6
รวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้ต่างประเทศที่สูงอย่างมากจนโครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องพับโครงการไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งค่าเงินริงกิตที่ร่วงลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
2
ฝั่งการเมืองต่างกล่าวโทษไปยัง นายอิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่มีท่าทีต่อต้านคำสั่งศาลฯ และประกาศจะปกป้องทรัพย์สินของรัฐบาลมาเลเซีย รวมทั้งไม่ให้ผู้ใดอ้างสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์ และจะมิยอมจ่ายเงินให้กับกลุ่มทายาทสุลต่านซูลู แม้ว่าฝั่งของทายาทขู่เตรียมฟ้องศาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีกิจการของรัฐบาลมาเลเซียไปดำเนินธุรกิจเพื่อให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติม และต้องมีการจ่ายค่าปรับต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 หากยังไม่ยอมจ่ายเงินชดเชย 5 แสนกว่าล้านให้กับทายาท
9
🔵 ไม่เพียงแค่ซาบาห์ที่ไม่พอใจ ยะโฮร์ก็ขู่แยกตัว
4
ความเป็นปึกแผ่นของมาเลเซียในช่วงนี้ค่อนข้างสั่นคลอนอย่างหนัก เพราะเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 'สุลต่านอิบราฮิม' แห่งรัฐยะโฮร์ ทรงมีพระดำรัสในพิธีเปิดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐยะโฮร์ ครั้งที่ 15 เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยระบุว่ารัฐบาลมาเลเซียไม่เคยใส่ใจรัฐยะโฮร์ ทั้งๆ ที่เป็นรัฐที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลค้ำจุนเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญกับสิงคโปร์
9
ทั้งยังตรัสว่า รัฐยะโฮร์ถูกปฏิบัติเหมือนเป็นแค่ลูกเลี้ยง (Stepchild) ทั้งๆ ที่สร้างรายได้มากมายแก่ประเทศมากเป็นอันดับต้นๆ หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ชาวยะโฮร์อาจเรียกร้องให้มีการแยกตัวออกจากมาเลเซีย เพราะบางทียะโฮร์อาจพัฒนาได้ไกลกว่านี้ หากเรายืนหยัดด้วยตัวเอง
5
รัฐยะโฮร์ส่งเงินรายได้เข้าคลังของรัฐบาลกลางปีละเกือบ 13,000 ล้านริงกิต หรือ 104,233 ล้านบาท แต่กลับได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาจากรัฐบาลเพียงแค่ 4,600 ล้านริงกิต หรือ 36,882 ล้านบาทในปีนี้
3
สุลต่านอิบราฮิมทรงย้ำว่า รัฐยะโฮร์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอแยกตัวเป็นอิสระ หากมีการละเมิดเงื่อนไขข้อตกลงสหพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya Agreement) ที่ลงนามกันไว้เมื่อปี 1948 และปี 1957
4
สำหรับรัฐยะโฮร์ นับได้ว่าเป็นรัฐที่ร่ำรวยที่สุดของมาเลเซีย ปัจจุบันที่มีประชากรราว 3.7 ล้านคน ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศ โดยมียะโฮร์ บาห์รู (Johor Bahru) ซึ่งเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองการค้าชายแดนสำคัญของมาเลเซียและสิงคโปร์
5
อีกทั้งยะโฮร์เปิดรับการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ ยกระดับขึ้นเป็นรัฐที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจระดับต้นๆ และยังมีความสำคัญมากสำหรับสิงคโปร์เพราะเป็นที่ตั้งของแหล่งน้ำดิบที่สิงคโปร์ทำสัญญาระยะยาวซื้อจากมาเลเซีย
3
สำหรับรัฐยะโฮร์นั้นมีอำนาจค่อนข้างสูงในมาเลเซีย และการที่สุลต่านยอมเข้าร่วมสหพันธ์มลายาบนฐานของข้อตกลงพื้นฐานหลายอย่างร่วมกัน แต่ถ้าหนึ่งในข้อตกลงนั้นถูกล่วงละเมิด ยะโฮร์ย่อมมีสิทธิทุกประการในการแยกตัวจากประเทศนี้ และยังเป็นรัฐเดียวของมาเลเซียที่มีกองทัพประจำรัฐ มีสิทธิ์ต่างๆ เหนือดินแดนทั้งผืนดินและน่านน้ำอย่างเต็มที่อีกด้วย
9
นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนที่หลายคนมักไม่ค่อยรู้ ท่ามกลางการช่วงชิง แบ่งแยกดินแดนที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่เรามักมองว่ามีการพัฒนาที่มากกว่าไทย แต่ปัญหาภายในนั้นกลับรุมเร้าอย่างหนักต่อเสถียรภาพของประเทศและความมั่นคงแห่งรัฐ
3
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
1
โฆษณา