8 ส.ค. 2022 เวลา 09:12 • การเมือง
‘พี่โทนี’หรือ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ชนะคดี ภาษีหุ้น “ชินคอร์ป 1.7 หมื่นล้าน” ชี้หน่วยงานดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ 8 ส.ค. 2565 ศาลภาษีอากรกลาง อ่านคำพิพากษาคดีความแพ่ง หมายเลขดำ ภ.220/2563 ระหว่าง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมสรรพากร จำเลยที่ 1 นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ จำเลยที่ 2 นายประภาส สนั่นศิลป์ จำเลยที่ 3 นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ จำเลยที่ 4 กรณีประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "ชินคอร์ป" จำนวน 17,000 ล้านบาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ถือเอาการออกหมายเรียกนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ในฐานะตัวแทนเชิด เป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินต้องออกหมายเรียกไปยังโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง
แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้น ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ แต่อย่างใด โดยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทดังกล่าวอยู่
ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังจากนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธ์ในหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ฯแต่อย่างใด เพราะนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริง
โดยตามข้อกฎหมายมาตรา 19 จึงยังต้องถือว่านายทักษิณ เป็นเจ้าของหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯดังกล่าวอยู่ ที่พวกจำเลยให้โจทก์เสียภาษี อย่างผู้มีรายได้พึงประเมินนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีผลทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4
ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยยืนตามการประเมิน ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน แต่เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยที่ 2-4 กระทำไปตามอำนาจหน้าที่จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
2
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
สำหรับคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาคดีร่ำรยผิดปกติ กรณีอัยการสูงสุด (อสส.)
2
ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มูลค่าทรัพย์สินกว่า 76,000,000,000 บาท (7.6 หมื่นล้านบาท) พร้อมดอกผลที่ได้มาจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ตกเป็นของแผ่นดิน
อย่างไรก็ดี องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ พิพากษาว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ออกนโยบายเอื้อประโยชน์บริษัท ชินคอร์ปฯ ที่ครอบครัวถือหุ้น ทำให้มีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ จึงให้ยึดทรัพย์สินในส่วนของนายทักษิณและครอบครัว ที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ
2
จำนวน 46,000,000,000 บาท (4.6 หมื่นล้านบาท) พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
หลังจากนั้นระหว่างปี 2549-2552 กรมสรรพากรได้ประเมินภาษีโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ทำนองว่าเป็นตัวแทนของนายทักษิณ จึงต้องเก็บภาษีจากคนทั้งสอง รวมวงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท จนนำมาสู่การฟ้องร้องคดีนี้
2
อ่านเพิ่มเติม : https://bestbroker168.com/tony-win/
โฆษณา