Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2022 เวลา 12:32 • หนังสือ
เราเป็นคนชอบอ่านการ์ตูนมากค่ะ สมัยตอนเรียนมัธยม จำได้ว่าอ่านและดูจนแทบหมดร้านจนสนิทกับเจ้าของร้านเช่าการ์ตูนเลยค่ะ ตอนนั้นจะมีคำพูดว่า “อ่านการ์ตูนเสียเวลา” แต่ลึกๆเรารู้สึกว่าการ์ตูนมันให้อะไรเราเยอะมากเลยนะ แต่เนื่องจากว่าเด็กเลยเรียบเรียงเป็นคำพูดไม่ได้ Theories of Manga คือสิ่งที่เราเชื่อมาตลอดแต่เรียบเรียงและให้ข้อมูลออกมาดีมากจนวันนี้เพจรีวิวทุกอย่างที่อ่านออกต้องยกมารีวิวกันค่ะ 🙂
1
เนื้อหาของเล่มนี้แบ่งเป็นบทๆ ตามการ์ตูนเรื่องต่างๆ มีทั้งเรื่องที่โด่งดังแบบใครๆก็ต้องรู้จักอย่าง One Piece / Naruto / ชินจังจอมแก่น หรือเรื่องที่อาจจะไม่ได้คุ้นนัก (สำหรับเรา) เช่น Yugo the Negotiator / (อี) ดอกปีศาจ / Claymore ผู้เขียน คุณกฤดิกร วงศ์สว่างพานิชได้นำเสนอแง่มุมที่เราเรียนรู้ได้จากการ์ตูนเหล่านั้น เป็นคำถามทางสังคม การเมือง ปรัชญาที่เราอาจจะไม่เคยสังเกตมาก่อนในการ์ตูนที่เราอ่านมาตั้งแต่เด็ก
จุดที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้มีเยอะมาก ทุกบทสนุก ตื่นตา และได้ความรู้เยอะมาก โดยที่จะมีเรื่องย่อของแต่ละเครื่องให้ตอนต้นบทด้วย คนไม่อ่านการ์ตูนก็อ่านรู้เรื่อง เราขอเอาบทที่ชอบมาพูดถึงเนื้อหาคร่าวๆเป็นพิเศษในโพสนี้แต่ขอบอกไว้ก่อนว่ามันสนุกทุกบทจริงๆ สรุปยังไงก็ไม่ดีเท่าอ่านเอง อยากให้ได้ลองซื้ออ่านเองมากๆเลยค่ะ
ก่อนจะเข้าไปที่เนื้อหาแต่ละบท จุดที่น่าสนใจอีกอย่างของหนังสือเล่มนี้คือผู้เขียนที่ได้จบปริญญาโทด้านการก่อการร้ายและการเมืองระหว่างประเทศจากประเทศอังกฤษ เรารู้สึกว่ามุมมองต่อการก่อการร้ายของคุณกฤดิกรน่าสนใจมาก เพราะไม่ได้นำเสนอเพียงด้านเดียว รวมทั้งความรู้ด้านการเมือง สังคม ประวัติศาสตร์ก็แน่นมาก แถมยังเรียบเรียงออกมาได้สนุก ตลกจนบางอันต้องหลุดขำเลยค่ะ
> One piece ความฝันอเมริกันดรีม
เมื่อมองดูดีๆแล้วโลกของวันพีซคล้ายกับโกในปัจจุบันของเราอยู้มาก รัฐบาลโลกก็เปรียบเหมือนรัฐบาลหรือ UN / 4 จักรพรรดิ (ที่ตอนนี้เป็น 5 จักรพรรดิแล้ว) เหมือนประเทศมหาอำนาจ 5 ประเทศที่คานอำนาจกัน มีอุดมการณ์ของตัวเอง อยากทำให้โลกเปลี่ยนไปในทิศทางที่แตกต่างกัน กลุ่มปฏิวัติก็เหมือนกับกลุ่มอำนาจที่อยากแก้ไขรัฐบาล โจรสลัดเหมือนคนธรรมดาที่ไม่มีต้นทุนอะไรและอยากเปลี่ยนชีวิต พอเราลองเอาตัวละครต่างๆ มาเทียบกับโลกความเป็นจริง
เราจะเห็นว่าโจรสลัดหมวกฟาง หรือ กลุ่มของลูฟี่นั้นคือตัวแทนของ American Dream หรือ ความฝันที่จะเปลี่ยนชีวิตในระบอบทุนนิยม การต่อสู้ตลกๆขำๆบางฉากสามารถเทียบเคียงกับการต่อสู้ทางการเมืองและสังคมในโลกความเป็นจริงได้เลย
> Naruto
ในเรื่องนารุโตะมีหมู่บ้านนินจาอยู่ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน แต่จากในเรื่องเราจะสังเกตว่า 5 หมู่บ้านนี้ไม่ได้ทะเลาะกันเท่าไหร่ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? สัตว์หางเหมือนอาวุธนิวเคลียร์ตรงไหน? สภาพการเมืองในเรื่องนารุโตะเป็นตัวแทนของสภาพสังคมปัจจุบันที่พวกเราอยู่กันทุกวันนี้ได้อย่างไร? ถ้าอยากรู้คำตอบต้องลองอ่านเองดูค่ะ 🙂
> Yugo the negotiator
การเจรจาและการเข้าใจฝั่งตรงข้าม ความกลัวและแรงจูงใจของคนที่แตกต่างจากเรา มนุษย์อย่างเราๆความกลัวสูงสุดคือกลัวตาย แต่ถ้าเราต้องเจรจากับคนที่ไม่กลัวตายล่ะ เราจะเอาอะไรมาจูงใจเขาได้บ้าง บทนี้ว่าด้วยเรื่องของการทำความเข้าใจความกลัวสูงสุดของกลุ่มคนที่ต่างกันค่ะ
> Vinland Saga
การ์ตูนเรื่องนี้พูดถึงการต่อสู้และสงคราม แต่จุดที่น่าสนใจของบทนี้คือการตีความความตายของมนุษย์ในแต่ละยุค ในบทนี้คุณกฤดิกรได้พูดถึงการตีความความตายในยุคต่างๆ ตั้งแต่ที่ประชาชนคือทรัพย์สินของแผ่นดิน จะตายหรือจะอยู่เป็นการตัดสินใจของผู้ปกครอง มาจนถึงยุคนี้ที่ใครๆก็อยากรักษาชีวิตตัวเองทั้งนั้น หลังจากฟังบทนี้แล้วเราต้องไปกด Watchlist การ์ตูนไว้ใน Netflix เลยค่ะ
> Kingdom
“ความเป็นอื่น” เป็นคำที่คุณกฤดิกรใช้หลายครั้งในหนังสือเล่มนี้ ความเป็นอื่นคือการที่เรามองคนที่มีความแตกต่างจากเราว่า “เป็นอื่น” ซึ่งคนที่ “เป็นอื่น” ในบางเรื่อง อาจจะ “เป็นเหมือน”ในอีกเรื่องนึงก็ได้ Kingdom ที่เป็นการ์ตูนอ้างอิงจากประวัติศาสตร์จีนทำให้เราเห็นธรรมชาติของมนุษย์ที่แบ่งพรรคแบ่งพวกและลักษณะของความเป็นอื่นได้ดีมาก
> การ์ตูนโป๊สอนอะไรเราได้บ้าง
ในเนื้อหานี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องใดเป็นพิเศษแต่พูดถึงชนิดของการ์ตูนที่เราเรียกรวมๆว่าการ์ตูนโป๊ว่า “อะไรคือโป๊” และ “เซนเซอร์ทำไม” ซึ่งพอเราคิดตามแล้วก็จริง เพราะว่าถ้าเราลองย้อนไปสมัยก่อนยุควิคตอเรีย รูปปั้นในโบสถ์ที่ถือว่าเป็นบ้านของพระเจ้าก็ไม่เคยใส่เสื้อผ้า รูปวาดในยุคก่อนโป๊หนักซะยิ่งกว่าการ์ตูนโป๊สมัยนี้ด้วยซ้ำ รูปปั้นเดวิดที่ใครๆก็รู้จักไม่ได้ใส่เสื้อผ้าเลยแม้แต่ชิ้นเดียว คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วเราจะเซนเซอร์ไปทำไมและการนิยามความโป๊ใครกำหนดและเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
> โดราเอมอน
อะไรคือมนุษย์? เมื่อเราอ่านบทนี้จบ สิ่งหนึ่งที่เข้ามาในหัวเราคือคำถามนี้ค่ะ ถ้าดูจากรูปลักษณ์โดราเอมอนไม่ใช่มนุษย์ แต่ถ้าจะบอกว่าเป็นหุ่นยนต์หรือสัตว์ก็ไม่ใช่ ถ้าโดราเอมอนตายเราก็เศร้าเหมือน (หรืออาจจะมากกว่า) ตัวละครคนในเรื่องตายด้วยซ้ำ แล้วอะไรกันที่นิยามความเป็นมนุษย์?
นี่เป็นเพียงตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้เท่านั้น เราชื่นชมผู้เขียนเล่มนี้มาก (เพราะน่าจะถูกจริตเราด้วย) เลยต้องมารีวิวขายของให้แบบฮาร์ดเซลโดยที่ไม่ได้สปอนเซอร์ 555 อ่านจบแล้วนอกจากสนุกยังได้ความรู้และคำศัพท์ใหม่ๆให้ไปค้นคว้าเพิ่ม แต่ที่สำคัญที่สุดคือมันทิ้งคำถามสำคัญๆหลายข้อไว้ให้เราคิดต่อได้ดีนักค่ะ 🙂
ซื้อที่
https://store.minimore.com/salmonbooks/items/manga
สำนักพิมพ์ Salmon Books
ปล. เล่มนี้เราไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนะคะ แต่เรากดฟังใน StoryTel ค่ะ ตอนนี้ติดใจฟังหนังสือเสียงมากค่ะเพราะไม่ปวดตา 555 และทำให้อ่านจบเร็วขึ้นหลายเท่าเลยเพราะทำอย่างอื่นไปได้ด้วย เปิดทิ้งไว้เหมือนเปิดเพลงรู้ตัวอีกทีก็จบเล่มแล้วค่ะ ขอขอบคุณทาง Storytel มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 😃 (อันนี้ก็ไม่ได้สปอนเซอร์เหมือนกันนะคะ ใช้แล้วชอบเลยมาบอกต่อค่ะ)
หนังสือ
5 บันทึก
6
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
One page book summary ฉบับรีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
5
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย