Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
9 ส.ค. 2022 เวลา 01:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป!! ลดหย่อนภาษี 65
มีอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้างในปีนี้ มาอ่านกัน จะได้วางแผนภาษีกัน...
ในปีนี้มีการลดการส่งเงินเข้าประกันสังคม และมีช้อปดีมีคืนเพิ่มมานะ
การลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีนี้มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตาม เพื่อจะได้ไม่มีความยุ่งยากตามมา ดังนั้นจึงควรศึกษาเงื่อนไข และวางแผนการเงินให้พร้อมในการที่จะทำตามเงื่อนไขนะ
ถ้าใครจะใช้กองทุนประหยัดภาษี SSF RMF ไปลดหย่อนภาษี ให้คำนวณเรื่องของเพดานที่ซื้อได้ให้ดี เพราะจะมีความยุ่งยากตามมาได้ เพราะส่วนที่เกินจะลดหย่อนภาษีไม่ได้ และส่วนที่เกินนั้น ถ้ามีกำไรจากการขายคืนต้องถูกนำมารวมเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีอีก
ส่วนถ้าใครไม่ได้จะนำมาใช้ลดหย่อนภาษี แต่อยากลงทุนในกองทุนรวม แนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปที่ไม่ใช่กองประหยัดภาษีนะ เพราะจะได้ไม่ต้องมาติดเงื่อนไขของกองเหล่านี้ และส่วนต่างกำไรจากการขายคืนกองทนรวมนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ส่วนเงินปันผลยังไงก็เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีนะ
3 รูปแบบของประกันที่ลดหย่อนภาษีได้
หลายๆ คนที่ต้องเสียภาษี ก็มักจะมีการใช้เบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษี มาอ่านกันว่าประกันแบบไหน สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง ได้เท่าไหร่บ้าง และเราจะกรอกยังไงเวลายื่นภาษี สรุปจบครบในโพสเดียว มาอ่านกัน...
เบี้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะมี 3 แบบ คือ ประกันชีวิตทั่วไป ประกันสุขภาพ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งทั้ง 3 แบบนี้สามารถนำเบี้ยประกันที่เราจ่ายไป มาลดหย่อนภาษีได้ แบบนี้...
1. ประกันชีวิตทั่วไป
เราสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่เราทำของตัวเอง จากทุกกรมธรรม์มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บ.
ซึ่งประกันชีวิตทั่วไป จะมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ แบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ และแบบควบการลงทุน
และเบี้ยประกันชีวิตที่จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นแบบประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และถ้ามีเงินคืนทุกปีระหว่างสัญญา เงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี แต่ถ้าคืนเป็นช่วงระยะเวลา เช่น คืนทุก 3 ปี หรือ 5 ปี เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
2. ประกันสุขภาพ
สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของเรามาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง และไม่เกิน 25,000 บ. และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บ.
ประกันสุขภาพ ได้แก่ ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง หรือ ประกันภัยการดูแลระยะยาว
ประกัน COVID ที่หลายคนทำกัน สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ถ้าเข้าเงื่อนไขของประกันสุขภาพนะ
3. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง และไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บ.
แต่ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป อาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บ.
เช่น ถ้าเรามีรายได้ 1,000,000 บ. ซื้อประกันบำนาญไป 200,000 บ. และประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บ. เราจะสามารถนำมาลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญได้แค่ 150,000 บ. เท่านั้น เพราะคิดเป็น 15% ของรายได้
แต่ถ้าเราซื้อประกันชีวิตทั่วไปแค่ 50,000 บ. ยังเหลือส่วนสิทธิประกันชีวิตทั่วไปอีก 50,000 บ. เราสามารถนำส่วนของเบี้ยบำนาญอีก 50,000 บ. ไปหักลดหย่อนเป็นประกันชีวิตทั่วไปได้
และการลดหย่อนภาษีของประกันบำนาญนั้น เมื่อรวมกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD)/ RMF/ SSF/ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บ. ด้วยนะ
การกรอกเวลายื่นภาษี
1. กรอกเบี้ยประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บ.
2. กรอกเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ตามที่จ่ายจริง และเมื่อรวมกับประกันสุขภาพแล้วไม่เกิน 100,000 บ.
3. กรอกเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตรงนี้จะมีข้อสังเกตเล็กน้อย คือ ถ้าเราใช้สิทธิประกันชีวิตแบบทั่วไปไม่เต็มสิทธิ ให้กรอกประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บ. ก่อนที่เหลือจึงค่อยมากรอกประกันชีวิตแบบบำนาญ
การใช้สิทธิประกันเพื่อลดหย่อนภาษีนั้น ต้องแจ้งบริษัทประกันด้วยว่า เราต้องการนำเบี้ยมาใช้ลดหย่อนภาษี เพื่อให้บริษัทส่งข้อมูลเบี้ยของเราให้สรรพากร โดยเราสามารถแจ้งผ่านระบบออนไลน์ application หรือผ่านตัวแทนประกันได้นะคะ
การทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันบำนาญ คงไม่ได้พิจารณาแค่เพื่อลดหย่อนภาษีเท่านั้น ควรดูด้วยว่า แผนการเงินของเราเป็นยังไง การคุ้มครอง และผลประโยชน์ของประกันนั้นเป็นอย่างไร
#ลดหย่อนภาษี
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#ลดหย่อนปี65
#กองทุนรวม
#กองทุนเพื่อการออม
#กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
#RMF
#SSF
#ภาษี
#ประกันชีวิต
#ประกันสุขภาพ
#ประกันบำนาญ
ลดหย่อนภาษี
วางแผนลดหย่อนภาษี
คิดภาษี
2 บันทึก
1
2
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย