Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sal Forest - ป่าสาละ
•
ติดตาม
9 ส.ค. 2022 เวลา 02:47 • ข่าว
#ข่าวความยั่งยืน ทำไมการรีไซเคิล “เสื้อผ้ารีไซเคิล” ถึงเป็นเรื่องยาก
แม้คำว่า "เศรษฐกิจหมุนเวียน" จะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในพจนานุกรมของอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยหมายถึง การออกแบบเสื้อผ้าด้วยวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถใช้ซ้ำและรีไซเคิลได้ แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นก็ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการปรับโมเดลธุรกิจให้เป็นธุรกิจที่มี “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ได้อย่างแท้จริง
เพราะความจริงแล้ว เสื้อผ้าส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาให้รีไซเคิลได้ง่ายเหมือนกระดาษ แก้วหรือโลหะ เนื่องจากเสื้อผ้ามักจะ "ปนเปื้อน" ด้วยวัสดุอื่น ๆ เช่น กระดุม ซิป และการแยกสิ่งเหล่านี้ออกจากเสื้อผ้าเป็นงานหนักเกินไป
เสื้อผ้า 1 ชิ้นมักประกอบด้วยวัสดุหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น แจ็กเก็ตที่มีซับใน 1 ตัว จะประกอบด้วยวัสดุมากกว่า 5 ชนิด ยังไม่รวมพวกกระดุมและซิปต่าง ๆ การจะนำมารีไซเคิล จึงต้องมีการแยกชิ้นส่วนและเส้นใยในผ้าออกให้หมดเสียก่อน
การรีไซเคิลเส้นใยแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน เส้นใยธรรมชาติ เช่น ขนสัตว์หรือฝ้ายสามารถรีไซเคิลได้ด้วยเครื่องจักร โดยการฉีกผ้าเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและปั่นให้เป็นเส้นด้ายที่นำมาทอหรือถักได้ แต่การหั่นย่อยผ้าก็ทำให้เส้นใยสั้นลง ส่งผลให้เส้นด้ายและผ้าจากการรีไซเคิลมีคุณภาพต่ำลง ผ้าฝ้ายรีไซเคิลจึงถูกนำมาผสมกับฝ้ายบริสุทธิ์เพื่อให้เส้นด้ายมีคุณภาพดีขึ้น และหากผ้าที่นำมารีไซเคิลมีหลายสีผสมกัน ก็ต้องมีการฟอกสีฝ้ายใหม่ที่นำมาผสม เพื่อย้อมให้เป็นสีเดียวกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนทีใช้สารเคมีทีอาจก่อให้เกิดมลพิษ
ในปัจจุบัน หลาย ๆ บริษัท เช่น BlockTexx และ Evrnu ได้พัฒนากระบวนการรีไซเคิลเส้นใยจากผ้าผสม โดยใช้เส้นใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์และโพลีเอไมด์ (ไนลอน) ซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลได้ทั้งเชิงกลไกและทางเคมี การรีไซเคิลด้วยสารเคมีโดยการทำรีโพลิเมอไรเซชัน (โดยการละลายเส้นใยพลาสติก) ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถรักษาคุณภาพของเส้นใยดั้งเดิมได้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลเกือบทั้งหมดในเสื้อผ้ามาจากขวดพลาสติกรีไซเคิล และเมื่อโพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยที่มีการใช้มากกว่า 60% ของเส้นใยทั้งหมด การผลิตเสื้อผ้าด้วยวัสดุชนิดนี้โดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของเส้นใยจึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องไมโครพลาสติกซึ่งหลุดออกจากเส้นใยของเสื้อผ้า เมื่อมีการสวมใส่และซัก
อันที่จริงมีหลักฐานมากมายที่แสดงว่าการลดการบริโภคเสื้อผ้าด้วยการใช้เสื้อผ้าให้นานขึ้น และการซื้อเสื้อผ้ามือสองยังเป็นทางเลือกดีกว่าการซื้อเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยรีไซเคิล แต่ด้วยความเร็วและการผลิตเสื้อผ้าในปริมาณมาก ๆ ก็ก่อปัญหากับเสื้อผ้ามือสองเช่นกัน ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่อาจช่วยลดผลกระทบนี้ได้ คือ บริษัทผลิตเสื้อผ้าต่าง ๆ ต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตัวเองเมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยการ reuse ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น และนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขายให้กับผู้บริโภค
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่:
https://www.fastcompany.com/.../why-recycled-clothes-are
...
Photo by RODNAE Productions:
https://www.pexels.com/.../a-woman-sitting-in-front-of.../
ไลฟ์สไตล์
ข่าวรอบโลก
เรื่องเล่า
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย