9 ส.ค. 2022 เวลา 05:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความละเอียดและแม่นยำถือเป็นหัวใจหลักของการทำอาหาร การใส่วัตถุดิบที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป อุณหภูมิและเวลาก็มีส่วนสำคัญ เฉกเช่นเดียวกับโลกของเคมี อะตอมคือองค์ประกอบพื้นฐานซึ่งประกอบเป็นสสารที่เราเห็นในปัจจุบัน การทำปฎิกิริยาเคมีก็ไม่ต่างจากการทำอาหาร การชั่ง ตวง วัด ปริมาณสารในปฎิกิริยาช่วยให้เราไม่ใส่สารมากเกินความจำเป็นหรือการใส่สารน้อยจนได้ผลิตภัณฑ์น้อยกว่าที่ต้องการ
แต่ทว่าอะตอมของธาตุแต่ละธาตุมีมวลที่ไม่เท่ากัน ส่งผลให้ธาตุ 1 กรัมมีจำนวนอะตอมไม่เท่ากันซึ่งยากต่อการแสดงในปฎิกิริยาเคมีดังนั้นเอง IUPAC จึงได้กำหนดปริมาณสารขึ้นเพื่อใช้โดยทั่วกันโดย ปริมาณสารข้างต้นให้เรียกว่า โมล และกำหนดให้ สารปริมาณ 1 โมล = อะตอมของธาตุนั้น ๆ จำนวน 6.02 x 10²³ อะตอม และเรียกเลขจำนวน 1 โมลว่าเลขอาโวกาโดร (ก็คล้ายเราเรียกไข่ 12 ฟอง ปากกา 12 แท่งว่า 1 โหล ดังนั้นเองโมลก็คือโหลของนักเคมี)
ซึ่งเลขนี้ได้ถูกตั้งชื่อตาม เคานต์ โลเรนโซ โรมาโน อาเมเดโอ การ์โล อาโวกาโดร ดี กวาเรญญา เอ แชร์เรโต นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีชาวอิตาลีซึ่งในวันนี้คือวันเกิดของชายผู้เป็นเจ้าของชื่อของเลขโหลของนักเคมีนี้ขึ้นมา
เรียบเรียงโดย พีรวุฒิ บุญสัตย์
โฆษณา