11 ส.ค. 2022 เวลา 02:27 • ครอบครัว & เด็ก
ทำไมเด็กๆถึงมีหมอนเน่า
จำได้ไหมคะว่า เราเคยมีผ้าเน่า หมอนเน่ากันหรือเปล่า
ผ้าผืนที่หวงมากเลย อาจจะเป็นผ้าห่มผืนโปรด ผ้าขนหนูผืนเก่านิ่มมือ ที่อมจนหลับ หรือจับจนเปื่อย ตุ๊กตาตัวเก่งที่อยู่ด้วยกันตั้งแต่วันที่ยังจำความไม่ได้ หรือตัวไหนก็ได้สักตัวขอมีไว้ให้ได้กอดพออุ่นใจ
ไม่รู้หละว่าทำไม จะนอนหนูต้องได้กอด ได้จับถึงจะหลับได้
ไม่รู้ละ แค่แม่แอบเอาไปซักหนูก็โกรธแม่แล้ว กลิ่นอะไรแม่บอกหอม หนูไม่ชอบ มันไม่ใช่กลิ่นฉี่กลิ่นน้ำลายหนู 😅 เคยมีบางเคสแม่เอาไปซัก ลูกโกรธ จนต้องเอาไปซับฉี่ลูกมาให้กอดใหม่... ติดกลิ่นด้วย 😅
ถ้าหายไปเรื่องนอนของหนูจะไม่ง่ายเลย...
และไม่ใช่แค่ตอนนอน เวลาหนูตื่นเต้น ไปที่แปลกๆ เจอคนแปลกหน้า ที่ๆหนูกลัว ขอให้มีผ้าเน่า หมอนเน่า หรือพี่หมานิ่มๆตัวเก่ามากอดไว้ หนูจะสบายใจ.... หนูพาพี่หมาเน่ามาหาหมอเป็นเพื่อนกัน หนูไม่ได้มาคนเดียว หนูมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ที่สุดที่จะอยู่เป็นเพื่อนหนูเวลาหนูสบายใจ เวลาหนูกลัว หนูเอาไปด้วยทุกที่....
นั่นสิคะ.... ทำไม เคยสงสัยกันไหมคะ ทำไมผ้าเน่าๆ หมอนเน่าๆ หมาเน่าๆหวงจัง แม่เก็บไม่ได้ ทิ้งไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้ บางคคนซักได้ ห้ามทิ้ง บางคนซักได้ เปลี่ยนได้ขอแค่มีให้กอดให้ถือ...
ทำไม....
ที่จริงในบทความก่อนที่เล่าเรื่องการสร้าง trust
เราจะเห็นว่า แม่ สายสัมพันธ์ ตัวตน จะพัฒนาพร้อมๆกันไปตั้งแต่แรกเกิด
จนกระทั่งเมื่อ 2 ขวบครึ่งหรือ 30 เดือน กระบวนการแยกตัวเป็นอิสระจากแม่จะเกิดไปด้วยพร้อมๆกับการสร้างแม่ สายสัมพันธ์ และตัวตน
จะว่าไปก็ เป็นวัยสับสนนะคะ 😅
ช่วงสองขวบครึ่งตัวตนของลูกจะเริ่มแยกเป็นอิสระออกจากแม่ เป็นตัวใครตัวมัน เป็นตัวของตัวเองแยกกกันชัดเจน (ที่แม่ชอบบอกว่าลูกดื้อ ไม่เชื่อฟังนี่นละคะ 😅)
แต่ก็ยังไม่อยากไป ยังอยากกลับมา มากอด มาอ้อน มาอยู่ในอ้อมอกเหมือนเดิม... ถ้านึกออกจะเห็นเด็กสองขวบกว่าที่อาละวาดดื้อมากมายไม่ยอมแม่เลย แล้วก็ร้องไห้กลับมาให้แม่โอ๋ๆ
เหมือนลูกวัยทอง 😅... แม่ต้องประคองใจค่ะ อดทนไว้ฮึบๆ สติค่ะ สติ เด็กสับสน กล้าๆกลัวๆ โตระดับอยากออกจากอ้อมอก อยากซน สำรวจ แต่โลกมันยังน่ากลัวมากกว่าอกแม่ แม่ก็ห้ามจัง ทำไม่ได้ตั้งหลายอย่าง หนูอยากทำแล้ว อยากไป อยากทดสอบพลังของตัวเอง.... เราเลยทะเลาะกัน
... เราออกจากประเด็นนี้ก่อนค่ะเดี๋ยวไม่จบเรื่องหมอนเน่า
ช่วง 2 ขวบครึ่ง (30 เดือน)​ ถึงสามขวบนี้ ถือเป็นช่วงวิกฤตินะคะ critical period เด็กกำลังจะแยกตัวออกจากแม่ เขาต้องการ แม่ที่
เป็นเสาหลัก
สงบนิ่ง
มั่นคง
ตั้งอยู่เพื่อเขาเสมอ
และ.... มีรักและเมตตา ต่อเขา
แม่เป็นเช่นนี้เสมอเพื่อให้หนูแข็งแรงพอที่จะแยกจากเป็นอีกหนึ่งตัวตนของตัวเอง...
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ละคะ
เด็กบางคนไม่สามารถแยกตัวออกจากแม่ได้ทันที ต้องมีการถ่ายโอน "แม่" ไปไว้ที่ตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม ขวดนม หรือวัตถุ (object) ใดๆ แล้วค่อยแยกตัวออกจากวัตถุนั้นๆอีกครั้งเมื่อเขาพร้อม
เราเรียกวัตถุแทนแม่ว่า...
แม่บุญธรรม... ม่ายช่ายยยยย
เราเรียก imaginary companion
ดังนั้น เวลาที่เด็กขอตุ๊กตาสักตัวไปกอดนอนที่โรงเรียน พาไปเที่ยว ถือมาหาหมอ เอามานอนด้วยที่โรงพยาบาล ถือขึ้นเครื่องบิน
ปล่อยเค้านะคะ ในนั้นมีแม่อยู่ เขาอยากเป็นตัวเอง เขาจะแยกจากแม่แล้ว แต่มันยังไม่สำเร็จ อยากโตกว่าเดิม อยากออกห่าง แต่เขายังอยากมีแม่อยู่ใกล้ๆ
..... ความเป็นแม่ลูก มันแนบแน่นมากนะคะ เสมือนหนึ่งชีวิตเดียวกันในเบื้องต้น แล้วค่อยแยกตัว....
และอย่าทำทารุณกรรม ด้วยการเอาไปทิ้ง เอาไปเผา เก็บไปให้คนอื่นก่อนที่เขาจะอนุญาต
อย่าโหดเหี้ยมกัยเขาแบบนั้น ในนั้นมีแม่อยู่
เมื่อเขาพร้อมเขาจะวางได้เอง
เพราะสิ่งนี้สำคัญ เมื่อเขาพามาหาหมอ
หมอจึงทักทายพี่หมี พี่หมาอะไรก็ช่าง ที่เด็กอุ้มเขามาด้วย พูดคุยกับพี่หมาเหมือนคุยกับเขา ขอตรวจพี่หมาก่อนถ้าเขากลัวมาก ตรวจให้ดูว่าไม่เจ็บเลย หมอไว้ใจได้ หมอไม่ทำร้ายพี่หมาคือไม่ทำร้ายเขา
บางเคสจะมีรายละเอียดที่ไม่ปกติ ต้อง explore แล้วแก้เป็นรายๆค่ะ
เมื่อพ้นสามปีไป เด็กจะแยกตัวเป็นอิสระจากแม่ได้ สร้างตัวตนที่สมบูรณ์ เค้าจะพร้อมเรียนรู้โลก ภายใต้กติกาที่เหมาะสม... ส่วนใหญ่จะที่ 3 ขวบ เด็กบางคนอาจใช้เวลามากกว่านี้ค่ะ
#หมอเด็กธรรมดาเล่าจิตวิทยาเด็ก
โฆษณา