11 ส.ค. 2022 เวลา 16:53 • ไลฟ์สไตล์
ผมขอมองจากหลายๆมุมดังนี้ครับ
i) Maslow’s hierarchy of needs
โดยทฤษฎีนี้จำแนกความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็น 5 ขั้น ตามข้อมูลจาก “TheWisdom.CO” ดังนี้
1) ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs)
เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ ความต้องการเพื่อตอบสนองความหิว ความกระหาย ความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เรียกง่ายๆ ก็คือ ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พักอาศัย รวมถึงสิ่งที่ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย นั่นเอง
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs)
เป็นความต้องการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว
ความต้องการขั้นนี้ถึงจะเกิดขึ้น ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัยมีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ปราศจากความกลัว การสูญเสียและภัยอันตราย เช่น สภาพสิ่งแวดล้อมบ้านปลอดภัย การมีงานที่มั่นคง การมีเงินเก็บออม ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล สุขภาพและความเป็นอยู่ ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย
3) ความต้องการความรักและสังคม (Belonging and Love Needs)
เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว คนเราจะต้องการความรัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความต้องการเป็นเจ้าของและมีเจ้าของ ความรักในรูปแบบต่างกัน เช่น ความรักระหว่าง คู่รัก พ่อ แม่ ลูก เพื่อน สามี ภรรยา ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
4) ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือในตนเอง (Esteem Needs)
เมื่อความต้องการความรักและการยอมรับได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สูงขึ้น เด่นขึ้น มีความภูมิใจและสร้างความนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตนเองและมีเกียรติ ความต้องการเหล่านี้ เช่น ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ ฯลฯ
5. ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน (Self-actualization)
เป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์และความต้องการนี้ยากต่อการบอกได้ว่าคืออะไร เราเพียงสามารถกล่าวได้ว่า ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเป็นความต้องการที่มนุษย์ต้องการจะเป็น ต้องการที่จะได้รับผลสำเร็จในเป้าหมายชีวิตของตนเอง และต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต
ii) เราจะเห็นได้ว่า ในกระบวนการซื้อนั้น ย่อมต้องตอบสนองต่อความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอย่างเป็นแน่!
เมื่อมองในมุมของสินค้าและบริการใน “ตลาด” เราอาจจำแนกประเภทได้เป็น
1) commodities คือสินค้าที่ไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นเจ้าไหน สินค้าแต่ละเจ้าแทบจะไม่แตกต่างกันในเชิงคุณภาพ เช่น นำ้ตาลทราย หรือ เกลือ เป็นต้น และแต่ละเจ้าจะแข่งขันกันเรื่องราคาเป็นหลัก
2) differentiated products คือสินค้าที่เน้นเรื่อง Styles หรือจะเรียกว่าใช้ brands ในเชิงการตลาด ซึ่งสินค้าประเภทนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นตัดราคาขายกันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เช่น สินค้า fashion เสื้อผ้ากระเป๋ารองเท้า, ไวน์ เป็นต้น จะเน้นความแตกต่างเชิงคุณภาพและ brand loyalty
ซึ่งก็ชัดเจนอีกว่า “อุปทาน” แต่ละประเภทก็มีไว้ตอบสนอง “อุปสงค์” ที่แตกต่างกัน
iii) โดยส่วนตัว ผมมีเทคนิคในการพิจารณาการซื้อของผมดังนี้ครับ
1) necessities คือ ต้องมีความจำเป็นในการใช้งานชัดเจนครับ
2) community คือ ผมจะหาข้อมูลดูว่ามีผู้ใช้งานท่านอื่นมากน้อยเพียงใด สินค้ารุ่นหรือ brands ที่ว่า ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดมากน้อยเพียงใด ซึ่งในกรณีที่สินค้ามีปัญหาหลังซื้อ เรามีเพื่อนๆให้สอบถามได้บ้างหรือไม่
3) Reliability & Serviceability & Durability คือ สินค้ามีความน่าเชื่อถือคงทนและหากต้องการบริการหลังการขาย เราจะได้รับความสะดวกสบายและจ่ายในราคาที่เรายอมรับได้มากน้อยเพียงใด
4) price to performance ratio คือ ความคุ้มค่า เราได้อะไรมาจากเงินที่เราจ่ายไป
iv) และถ้าหากมีใครถามผมว่าจะ “ซื้อ” ด้วย “เหตุผล” หรือ “อารมณ์”
ผมก็ขอตอบว่า
1) ถ้าคุณซื้อมาเพื่อที่จะขายต่อทำกำไร เช่น หน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือ อสังหาริมทรัพย์ คุณคงใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ใช่ไหมครับ
2) ถ้าคุณจะซื้อรถใน กลุ่ม mainstream คุณอาจใช้เหตุผลในการเลือก ราคา, โปรโมชั่น, สเปค, เงื่อนไขการประกัน, ความสะดวกของศูนย์บริการ ฯลฯ
แต่ถ้าคุณจะซื้อรถในกลุ่ม luxury คุณอาจใช้อารมณ์ล้วนๆในการเลือก เช่น เลือกรุ่นที่มีเพียง 1,000 คันในโลก หรือ เลือกรถที่เคยถูกใช้ในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง
3) ถ้าเป็นช่วงลดราคา หรือ on sales คุณอาจไม่ต้องการใช้ทั้งเหตุผลและอารมณ์!
v) ตัวอย่างหลักคิดในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าของผม
1) รถยนต์มือสอง (pre-owned)
2) รถยนต์ไฟฟ้า
3) แผง Solar rooftop
4) ปั๊มนำ้
5) หน่วยลงทุน
โฆษณา