25 ส.ค. 2022 เวลา 03:44 • ปรัชญา
ให้รางวัลกับความพยายาม ไม่ใช่ผลงาน
Reward Efforts, Not Outcomes
คนที่เป็นพ่อแม่...ลองนึกภาพตามว่า ถ้าลูกของเรากำลังเตรียมตัวสอบของโรงเรียน เราจะรอให้ผลสอบออกมาดีก่อนที่เราจะพาเขาไปกินไอศกรีมไหม
คนที่เป็นผู้นำองค์กร...ลองนึกภาพตามว่าพนักงานที่ทำงานอย่างหนักหลายชั่วโมง เราจำเป็นจะต้องรอถึงผลงานสุดท้ายก่อนที่เราจะรับรู้ถึงความตั้งใจของเขาหรือเปล่า
EatUP - rewaard efforts not outcomes
ถ้าเราตอบว่า ใช่ ในตัวอย่างอย่างใดอย่างหนึ่งด้านบนนี้เราอาจจะต้องลอง คิดใหม่ดีๆอีกครั้ง
ในงานหนึ่งที่ Stanford Sundar Pichai , Google CEO พูด 4 คำ “Reward Efforts, Not Outcomes” หรือ “ให้รางวัลกับความพยายาม ไม่ใช่ผลงาน”
ซึ่งเป็นหลักหนึ่งทางจิตวิทยาที่อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติในหลายๆที่ Sundar พยายามจะสื่อว่า เราต้องสร้างแรงจูงใจ (motivate) โดยให้เขาชอบที่จะทำ รักในความท้าทายที่จะทำ และมีความสนใจที่จะทำมากกว่าที่จะต้องการของรางวัลหรือไม่ถูกลงโทษ
หรือพูดตามภาษาของจิตวิทยา คือ สร้างแรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) ซึ่งหมายถึง สภาวะของบุคคลที่มีความต้องการที่จะ เรียนรู้หรือแสวงหาบางสิ่งบางอย่างด้วย “ตนเอง” โดยมิต้องให้บุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน ตั้งใจทำงานด้วยความรู้สึกใฝ่ดีในตัวของเขาเองไม่ใช่เพราะกลัวโดนไล่ออกหรือจูงใจด้วยเงิน นักเรียนที่ตั้งใจเรียนด้วยตัวเองไม่ใช่ถูกพ่อแม่บังคับหรือกลัวถูกดุด่า
แน่นอนว่าการสร้างแรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation) เช่น การลงโทษ จูงใจด้วยเงินหรือของรางวัล ดูจะง่ายและได้ผลดี แต่มันไม่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกสมัยใหม่ที่คนมีทางเลือกมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แรงจูงใจภายนอกอาจกลับกลายมาเป็นแรงกดดันมากกว่าแรงจูงใจ และอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมตรงกันข้าม
โฆษณา