13 ส.ค. 2022 เวลา 01:54 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Goldfinger (1964) l จอมมฤตยู 007 : สาวบอนด์ชื่อล่อแหลมกับบรรทัดฐานที่ยิ่งใหญ่
บทนำภารกิจ : Mission introduction
ในครั้งนี้ สายลับ 007 เจมส์ บอนด์ (เซอร์ ฌอน คอนเนอรี) กลับมาพร้อมภารกิจใหม่ ที่เขาจะต้องไปสืบเรื่องราวของเจ้าพ่อทองคำ ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ (เกิร์ต เฟรอเบอ) ผู้ที่ทางธนาคารแห่งอังกฤษ และ MI6 สงสัยว่ากำลังลักลอบขนทองคำจำนวนมหาศาล บอนด์สืบจนรู้ว่า ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ มีแผนการที่ใช้โค้ดเนมว่า 'ปฏิบัติการแกรนด์สแลม' เพื่อล้มล้างเศรษฐกิจโลก (credit : MONOMAX)
ฉากที่บอนด์ถูกจับตัวที่ Auric enterprise
หลังจากภาคที่แล้วประสบความสำเร็จ ภาคต่อจึงถูกเตรียมการสร้างทันที (ซึ่งในอดีต การถ่ายทำภาคต่อมักจะเป็นการทำงานแบบปีต่อปี) โดย end credit ของภาค From Russia With Love ได้ทิ้งท้ายไว้ด้วยประโยคที่ว่า…
James Bond will return in the next Ian Fleming thriller “Goldfinger”
End credit จากเรื่อง From Russia With Love
End credit title จากเรื่อง From Russia With Love
ส่วนสาเหตุที่ภาคที่ 3 นั้นทำไมต้องเป็น Goldfinger นั้นผมจะมาอธิบายในบทความถัดไป ในด้านการถ่ายทำนั้น ตอนแรกทางทีมงานต้องการตัว Terence Young กลับมาคุมบังเหียนกำกับการแสดงเหมือนเดิม แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ Terence ได้โบกมือลาโปรเจคไป แต่ท้ายที่สุดก็ได้คนรู้จักของ Fleming อย่าง Guy Hamilton มากำกับแทน ซึ่งเขาผู้นี้คือผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ภาคนี้ให้กลายเป็น “เสน่ห์แม่แบบ James Bond” ที่ประสบความสำเร็จและทำให้ภาคที่คลอดออกมาตามหลังต้องเดินตาม
ในภาคนี้ เจมส์ บอนด์ (Sean Connery) ต้องเข้าต่อกรกับ ออริค โกลด์ฟิงเกอร์ (Gert Frobe) วายร้ายที่ลุ่มหลงในความเลอค่าของทองคำ ที่ต้องการสร้างเม็ดเงินมหาศาลจากความวายป่วงที่ตนเองสร้างขึ้น และมีมือขวาใบ้สายบู้สัญชาติเกาหลีอย่าง อ๊อดจ๊อบ (Harold Sakata) อยู่ข้างกายคอยป้องกันภัย ร้อนถึงรัฐบาลต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงมาปฏิบัติการดับแผนนี้ของเขา โดยตัวแปรที่สำคัญของเรื่องคือหัวหน้ากองบินสาวของโกลด์ฟิงเกอร์นาม พุซซี่ กาลอวร์ (Honor Blackman) (ชื่อล่อแหลมชมัด) ที่บอนด์ต้องเอาชนะ
ภาคนี้ถือได้ว่าเป็นการสร้างแม่พิมพ์ “สูตรสำเร็จ” ของภาพยนตร์ชุด 007 และภาพยนตร์อื่นๆ ในยุคนั้นได้เดินตามเป็นทิวแถว โดยสังเขปคือ
  • 1.
    พระเอกอัจฉริยะ ไหวพริบหน้างาน
  • 2.
    ตัวร้ายที่มาพร้อมแผนการระดับโลก
  • 3.
    มือขวาข้างกายที่เก่งกาจ กำจัดยาก
  • 4.
    นางเอกสาวแสนสวย สะกดสายตาผู้ชม
  • 5.
    ฉากบู๊เวอร์วังบัลลังก์เมฆ
  • 6.
    องค์สาม(ท้ายเรื่อง)ชวนลุ้นระทึก
  • 7.
    Score & Soundtrack สุดหรูหราทรงพลัง
องค์ประกอบเหล่านี้ที่ทำให้การผจญภัยโลดแล่นบนจอเงินของบอนด์ในครั้งนี้นั้นได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่ยิ่งใหญ่ กลายเป็นหนึ่ง pop culture ที่สำคัญของยุค 60’s เลยทีเดียว
ด้านนักแสดงนั้นถือว่า เข้าขั้น กลมกล่อม และยอดเยี่ยมอย่างมาก Sean Connery ได้กลายเป็นบอนด์ที่สมบูรณ์แบบ การแสดงสีหน้าท่าทาง การส่งผ่านอารมณ์ลูกล่อลูกชนที่ดูแล้วรู้สึกว่านี่แหละคือบอนด์ Honor Blackman ที่เป็นสาวบอนด์ที่ไม่ง่าย ไม่ยอม แข็งแกร่ง ฉลาด ไม่ได้เป็นดอกไม้ริมทางให้พยัคฆ์หนุ่มได้เด็ดง่ายๆ
ฉากการเจรจาของบอนด์กับพุซซี่
Gert Frobe แสดงบทตัวร้ายออกมาได้ดี ดูมีชั้นเชิง มีปัญญาในการวางแผน เป็นตัวบุ๋นที่คู่กับมือขวาที่เป็นตัวบู๊ โหด เงียบ ที่แสดงโดย Harold Sakata ได้อย่างดี โดยเฉพาะฉากที่เฉือนคมวาจา ต่อปากต่อคำกันระหว่าง บอนด์ และ โกลด์ฟิงเกอร์นั้น ไดอะล็อกเขียนออกมาได้ถึงอารมณ์อย่างมาก เป็นบทที่น่าจดจำ (ผมแนะนำให้ลองรับชมแบบซาวด์แทร็ก)
ฉากของโกลด์ฟิงเกอร์และอ๊อดจ๊อบที่สโมสรกอล์ฟ
ทางฝั่งตัวละครทางด้านองค์กรหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ หรือ MI6 นั้น ก็มีบทบาทสีสันมากขึ้นโดยเฉพาะหัวหน้าหน่วยพลาธิการอย่าง Q (Desmond Llewelyn) ที่ภาคนี้เราได้เห็นเขามากขึ้น เกิดประโยคติดปากของ Q อย่างมากมาย เช่น
We'd appreciate its return, along with all your other equipment.
(โปรดนำอุปกรณ์กลับมาหลังจากปฏิบัติการภาคสนามด้วย)
Q - Goldfinger (1964)
ปล. อารมณ์ประมาณคืนสภาพเดิมด้วย สุดท้ายกลายเป็นเศษซากทุกรอบ
Pay attention, 007.
(ตั้งใจฟังหน่อย 007)
Q - Goldfinger (1964)
I never joke about my work, 007.
(ผมไม่เคยล้อเล่นกับงานที่ทำนะ 007)
Q - Goldfinger (1964)
เห็นส่วนห้องทำงานของ อุปกรณ์(ขี้โม้)ต่างๆ โดยเฉพาะรถยนต์ประกอบมือสุดหรูอย่าง Aston Martin DB5 ที่ติดอุปกรณ์มากมาย ปืนกล ควันหลบหนี กระจกกันกระสุน ที่นั่งดีดตัว เป็นที่แปลกตาและน่าสนใจในยุคนั้น จนทำให้เจ้า DB5 ขายดีจนผลิตแทบไม่ทัน และชาวยานยนต์ก็ยังคงอยากที่จะได้ลองสัมผัสมันสักครั้งจนถึงปัจจุบัน
รถยนต์ Aston Martin DB5 ในฉากของแผนก Q
ส่วนตัวแล้วผมชอบภาค From Russia With Love มากกว่านิดหน่อย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีฉากต่อสู้ที่หวือหวาเหมือน Goldfinger แต่ในด้านบทมันมีความซับซ้อนเฉือนคมมากกว่าภาคนี้อยู่นิดหนึ่ง แต่โดยรวมแล้วภาคนี้ถือว่าเป็นภาคที่ยอดเยี่ยม เป็นผลงานชั้นครูในการสร้างสรรค์งานภาพยนตร์อีกชิ้นหนึ่งของโลก
ต้นทุนภาคนี้อยู่ที่ประมาณ 3M$ แต่ภาคนี้กลับทำเงินอย่างมหาศาลถึง 125M$ (เทียบกับอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะอยู่ที่ 1072M$) จนได้รับการบันทึกลง Guinness World Records ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้เร็วและสูงสุดในปี 1964
(หาเล่ม Guinness book of world records 1964 มาอ่านไม่ได้ เก่าไป)
หากท่านต้องการที่จะรับชมภาพยนตร์เรื่อง Goldfinger นี้ ท่านสามารถรับชมได้ผ่านช่องทาง MONOMAX มีทั้งเสียงพากย์ไทยและซาวด์แทร็ก สำหรับตอนหน้าผมจะมาอธิบายว่าทำภาค Goldfinger ถึงใช้ชื่อนี้ เหตุใดภาคนี้ไม่มีองค์กร SPECTRE รวมถึงวิบากกรรมในการสร้างภาคต่อที่ถึงแม้จะประสบความสำเร็จมากที่สุดในแฟรนไชส์ แต่ทำให้ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันไปอีกทศวรรษ ผมจะมาเขียนให้อ่านในบทความต่อไปครับ
เจอกันครับเหล่าสาวกพยัคฆ์ร้าย
James Bond article will return in THUNDERBALL
Poster ภาพยนตร์บ้านเราครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา