Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2022 เวลา 00:22 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“เงินปันผลระหว่างกาล” คืออะไร??
ช่วงนี้ บางบริษัทในตลาดหุ้น มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล มารู้จักกันว่า เหมือนหรือต่างจากการจ่ายปันผลประจำปีอย่างไร
เงินปันผลระหว่างกาล คือ เงินปันผลที่กรรมการบริษัทมีมติจ่ายในระหว่างรอบปีบัญชี เมื่อพิจารณาแล้วว่าบริษัทมีกำไรพอ สมควรที่จะจ่ายได้ ซึ่งจะเห็นว่าการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของบริษัทสามารถกระทำได้โดยมติของกรรมการบริษัท และมีมติให้จ่ายเมื่อไหร่ก็ได้ โดยเมื่อจ่ายแล้วต้องนำไปแจ้งในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีในครั้งถัดไปด้วย
ส่วนเงินปันผลประจำปีนั้น จะสามารถจ่ายได้ต้องผ่านมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
ซึ่งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด มาตรา 115 ได้กำหนดระยะเวลาการจ่ายปันผลดังนี้
1. การจ่ายปันผลประจำปี: มีกำหนดจ่ายภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ
2. การจ่ายปันผลระหว่างกาล: มีกำหนดจ่ายภายใน 1 เดือนนับจากวันที่คณะกรรมการบริษัท มีมติให้จ่ายปันผล ซึ่งต้องรายงานต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งต่อไป
โดยในการจ่ายปันผลระหว่างกาลนั้น ก็จะต้องเป็นการจ่ายจากกำไรหรือกำไรสะสม และถ้าบริษัทมีขาดทุนสะสมก็จะไม่สามารถจ่ายปันผลได้ตามกฎหมาย และมีการจัดสรรทุนสำรองตามกฎหมาย มีการกำหนดวัน record date และวัน XD เหมือนการจ่ายเงินปันผลประจำปี
ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี จะมีวาระเรื่อง การอนุมัติจ่ายเงินปันผล ซึ่งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น จะเห็นเนื้อความประมาณนี้
วาระการอนุมัติจ่ายเงินปันผล
จ่ายปันผลเป็นเงินสด โดยคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผล 1 บ. ต่อหุ้น คิดเป็น 50% ของกำไรสุทธิปี 2564 เนื่องจากบบริษัทได้มีการจ่ายปันผลระหว่างกาล ตามรอบผลกำไร 6 เดือนแรกของปี 2564 ไปแล้ว 0.4 บ. จึงยังคงต้องจ่ายให้สำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2564 อีก 0.6 บ. ต่อหุ้น”
จะเห็นว่า เงินปันผลระหว่างกาลนั้นถ้าไม่มีการจ่าย และบริษัททำกำไรได้ดี ก็สามารถไปจ่ายรวม หรือยกยอดไปจ่ายเป็นเงินปันผลประจำปีได้
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#หุ้น
#เงินปันผล
#เงินปันผลระหว่างกาล
#เงินปันผลประจำปี
เงินปันผล
เงินปันผลหุ้น
หุ้นปันผล
บันทึก
5
3
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย